หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรเพื่อการจัดการของเสียบริเวณพื้นที่สีเขียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-HUFR-113A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรเพื่อการจัดการของเสียบริเวณพื้นที่สีเขียว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

เจ้าหน้าที่จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรพื้นที่สีเขียว ระดับ 2

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย การจัดเตรียมวัสดุและทรัพย์ากรทุกประเภทที่ต้องใช้ในการจัดการของเสียบริเวณพื้นที่สีเขียว รวมถึงการเตรียมของเสียที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้รอการนำเข้าสู่กระบวนการนำกลับไปใช้  ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพย์ากรที่ต้องใช้ในการจัดการของเสียบริเวณพื้นที่สีเขียวประเภทต่างๆ ตามที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ส่วนที่ 6 มลพิษอื่นและของเสียอันตราย2. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 8 เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดิน3. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 3 การกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03141 จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียทั่วไป 1.1 อธิบายชนิดและหน้าที่ของวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการจัดการของเสียทั่วไปบริเวณพื้นที่สีเขียว 155599
03141 จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียทั่วไป 1.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์เพื่อการจัดการของเสียทั่วไปได้อย่างเหมาะสม 155600
03141 จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียทั่วไป 1.3 จัดวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการจัดการของเสียทั่วไปตามที่กำหนด 155601
03142 จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียอันตราย 2.1 อธิบายชนิดและหน้าที่ของวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการจัดการของเสียอันตรายบริเวณพื้นที่สีเขียว 155602
03142 จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียอันตราย 2.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์เพื่อการจัดการของเสียอันตรายได้อย่างเหมาะสม 155603
03142 จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียอันตราย 2.3 จัดวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการจัดการของเสียอันตรายตามที่กำหนด 155604
03143 จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการนำของเสียกลับไปใช้ประโยชน์ 3.1 อธิบายวิธีการนำของเสียประเภทต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ 155605
03143 จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการนำของเสียกลับไปใช้ประโยชน์ 3.2 จัดเก็บของเสียที่สำมารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จากบริเวณพื้นที่สีเขียว 155606

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสำมารถในการวางแผนการดำเนินงาน

2. ความสำมารถในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรเพื่อจัดการมูลฝอย หรือของเสียให้เหมาะสมกับพื้นที่สีเขียวประเภทต่างๆ  รวมถึงการเตรียมของเสียเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุและทรัพยากรเพื่อการจัดการมูลฝอยหรือของเสียให้เหมาะสมกับพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท

2. ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกมูลฝอยหรือของเสียที่สำมารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง                      

2. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลคะแนนสอบทั้งภาคความรู้และปฏิบัติ

2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวกับงานในอาชีพ จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรดังต่อไปนี้

1. ประเภทของของเสีย และการจัดการของเสีย

2. การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆ และการจัดเตรียมเพื่อรอนำสู่กระบวนการนำกลับไปใช้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียทั่วไป คือ การจัดเตรียมถังขยะประเภทต่างๆ และวัสดุอื่นๆ เพื่อรองรับของเสียทั่วไปแต่ละประเภท 

2. จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียอันตราย คือ การจัดเตรียมถังขยะและวัสดุอื่นๆเพื่อรองรับของเสียอันตรายประเภทต่างๆ

3. จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการนำของเสียกลับไปใช้ประโยชน์ คือ การเตรียมของเสียที่สำมารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพื่อรอการนำเข้าสู่กระบวนการนำไปใช้

4. ความหมายต่างๆ ของของเสียมีดังนี้

1) ขยะหรือมูลฝอย (Solid waste) หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนหรือครัวเรือน



2) วัสดุเหลือใช้ (Waste residues) หมายถึง สิ่งของ เครื่องใช้หรือสินค้าที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือหมดอายุการใช้งานแล้ว หรือที่เหลือจากความต้องการและไม่เป็นที่ต้องการจะใช้อีกต่อไป

- วัสดุเหลือใช้ทั่วไป คือ สิ่งของหรือสินค้าที่ไม่ใช้แล้วแต่ไม่เป็นอันตรายต่อบุคคล ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ยางรถยนต์เศษผ้า เศษไม้

- วัสดุเหลือใช้ที่เป็นอันตราย คือ สิ่งของหรือสินค้าที่ไม่ใช้แล้วและปนเปื้อนหรือสัมผัสหรือมีส่วนประกอบของวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย น้ำมันเครื่องใช้แล้ว ตัวทำละลาย

3) ภาชนะรองรับขยะ (Storage Container) หมายถึงภาชนะสำหรับเก็บกักและรวบรวมขยะแต่ละประเภท ณ แหล่งกำเนิดต่างๆ เพื่อให้การจัดเก็บรวบรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปนเปื้อนของขยะที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งสามารถนำขยะไปกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) การคัดแยกขยะ (Waste Separation) หมายถึง กระบวนการหรือกิจกรรมจัดแบ่งหรือแยกขยะออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะองค์ประกอบ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อลูมิเนียม โดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรกล เพื่อการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ หรือใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์

5) การใช้ประโยชน์ขยะ (Waste Utilization) หมายถึงการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆ เช่น การแปรรูปใช้ใหม่ การใช้ซ้ำการใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน การหมักปุ๋ย และการนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงแข็ง เป็นต้น

6) การใช้ซ้ำ (Reuse) หมายถึง การนำขยะรีไซเคิล ของเสีย บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้อีกในรูปลักษณะเดิมโดยไม่ผ่านกระบวนการ แปรรูปหรือแปรสภาพ

7) การแปรรูปใช้ใหม่ (Recycling) หมายถึง การนำขยะรีไซเคิล ของเสียบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตหรือเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

8) การหมักทำปุ๋ย (Composting) หมายถึง การนำเอาขยะที่ย่อยสลายได้มาแปรสภาพโดยวิธีการหมัก โดยอาศัยกระบวนการทางชีววิทยาของจุลินทรีในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ

9) ธนาคารขยะ หมายถึง กิจกรรมการซื้อขายขยะรีไซเคิลในโรงเรียนหรือชุมชนโดยรายได้ที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกลงบนสมุดคู่ฝากของสมาชิก ซึ่งสามารถฝากหรือถอนได้ในลักษณะเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ ขยะรีไซเคิลจะถูกเก็บรวบรวมไว้และจำหน่ายให้กับซาเล้งหรือร้านรับซื้อของเก่าต่อไป

10) สถานที่รับซื้อของเก่า (Junk shop) หมายถึง สถานที่หรือบริเวณที่จัดไว้เพื่อการซื้อ-ขายขยะรีไซเคิล วัสดุเหลือใช้ หรือของเก่าที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น กระดาษ ขวด กระป๋อง แก้ว พลาสติก และวัสดุอื่นๆและมีการรวบรวมไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ไม่รวมถึงสถานที่ดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะ หรือสถานที่รับซื้อวัสดุรีไซเคิลชุมชน หรือศูนย์วัสดุรีไซเคิลชุมชนที่มีขนาดน้อยกว่า 1 ตันต่อวัน

11) สถานที่หมักทำปุ๋ย (Composting facility) หมายถึง สถานที่ที่มีการนำเอาขยะย่อยสลาย เศษวัสดุจากการเก็บเกี่ยว กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือของเสียอื่นๆ ที่สามารถย่อยสลายได้มาแปรสภาพ โดยวิธีการหมักโดยอาศัยกระบวนการทางชีววิทยาของ จุลินทรีในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ซึ่งจะได้ผงหรือก้อนเล็กๆ สีน้ำตาล เรียกว่า “คอมโพสต์” ที่สามารถใช้เป็นสารบำรุงดิน รวมถึงสถานที่หมักทำปุ๋ยเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ด้านพลังงานด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการหมักทำปุ๋ยของชุมชน ซึ่งได้คอมโพสต์ น้อยกว่า 1 ตันต่อวันหรือก๊าซชีวภาพ น้อยกว่า 1 ลบ.ม.ต่อวัน

5. การคัดแยกและเก็บกักขยะที่เกิดขึ้น มีวิธีการดังต่อไปนี้

1) คัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้หรือขยะรีไซเคิลออกจากขยะย่อยสลาย ขยะอันตรายและขยะทั่วไป

2) เก็บกักขยะที่ทำการคัดแยกแล้วในถุงหรือถังรองรับขยะแบบแยกประเภทที่หน่วยราชการกำหนด

3) เก็บกักขยะที่ทำการคัดแยกแล้วในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่กีดขวางทางเดิน อยู่ห่างจากสถานที่ประกอบอาหาร ที่รับประทานอาหาร และแหล่งน้ำดื่ม

4) ให้เก็บกักขยะอันตรายหรือภาชนะบรรจุสารที่ไม่ทราบแน่ชัด เป็นสัดส่วนแยกต่างหากจากขยะอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารพิษ หรือการระเบิดเพื่อแยกทิ้งตามรูปแบบการเก็บรวบรวม ได้แก่

- การเก็บจากหน้าบ้านพร้อมขยะทั่วไปโดยการเก็บขนมีช่องแยกขยะอันตราย

- การเก็บจากหน้าบ้านตามวันที่กำหนดโดยมีรถเก็บขยะอันตรายโดยเฉพาะ

- การนำไปทิ้งในภาชนะหรือสถานที่รวบรวมขยะอันตรายของชุมชนที่จัดไว้เฉพาะ

- ห้ามเก็บกักขยะอันตรายไว้รวมกัน โดยให้แยกเก็บเป็นประเภทๆ หากเป็นของเหลวให้ใส่ถังหรือภาชนะบรรจุที่มิดชิดและไม่รั่วไหล และห้ามเทของเหลวต่างชนิดปนกันเนื่องจากอาจเกิดการระเบิดหากเป็นของแข็งหรือกึ่งของแข็งให้เก็บใส่ถังหรือภาชนะที่แข็งแรง

- หลีกเลี่ยงการเก็บกักขยะที่ทำการคัดแยกแล้วและมีคุณสมบัติที่เหมาะแก่การเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค หรือที่อาจเกิดการรั่วไหลของสารพิษไว้เป็นเวลานาน

- หากมีการใช้น้ำทำความสะอาดวัสดุคัดแยกแล้วหรือวัสดุเหลือใช้ที่มีไขมันหรือตะกอนน้ำมันปนเปื้อน จะต้องระบายน้ำเสียนั้นผ่านตะแกรงและบ่อดักไขมันก่อนระบายสู่ท่อน้ำสาธารณะ

- ห้ามเผา หลอม สกัดหรือดำเนินกิจกรรมอื่นใด เพื่อการคัดแยก การสกัดโลหะมีค่าหรือการทำลายขยะในบริเวณที่พักอาศัย หรือพื้นที่ที่ไม่มีระบบป้องกันและควบคุมของเสียที่จะเกิดขึ้น

6. ขยะรีไซเคิลมีจำนวน 5 ประเภท ดังนี้

1) แก้ว

2) กระดาษ

3) พลาสติก

4) โลหะ

5) อลูมิเนียม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

18.1 การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

18.2 การสอบปฏิบัติ

18.3 การสอบสัมภาษณ์

18.4 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ