หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับพื้นที่สีเขียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-QTNP-111A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับพื้นที่สีเขียว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

เจ้าหน้าที่จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรพื้นที่สีเขียว ระดับ 1

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย พืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียวทุกประเภท การอนุบาลต้นไม้ด้วยวิธีต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการจัดเตรียมพืชพรรณไม้ที่ต้องใช้ในการจัดพื้นที่สีเขียวประเภทต่าง ๆ และการจัดเตรียมวัสดุเพื่อใช้ในการอนุบาลต้นไม้ชนิดต่างๆ ตามที่กำหนด 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03121 จัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียว 1.1 จำแนกพืชพรรณไม้ตามวิธีการจำแนกแบบต่าง ๆ 155584
03121 จัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียว 1.2 เลือกใช้พืชพรรณไม้อย่างเหมาะสม 155585
03121 จัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียว 1.3 จัดพืชพรรณไม้ตามที่กำหนด (ใบงาน) 155586
03122 จัดเตรียมวัสดุอนุบาลต้นไม้ 2.1 อธิบายเกี่ยวกับวัสดุและทรัพยากรที่ใช้ในการอนุบาลต้นไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่างๆ 155587
03122 จัดเตรียมวัสดุอนุบาลต้นไม้ 2.2 เลือกใช้วัสดุอนุบาลต้นไม้ได้อย่างเหมาะสมตามหลักการอนุบาล 155588
03122 จัดเตรียมวัสดุอนุบาลต้นไม้ 2.3 จัดเตรียมวัสดุอนุบาลต้นไม้ตามที่กำหนด(ใบงาน) 155589

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสำมารถในการวางแผนการดำเนินงาน

2. ความสำมารถในการจำแนกพืชพรรณไม้ และการเลือกใช้

3. ความสำมารถในการเลือกใช้วัสดุอนุบาลต้นไม้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักความปลอดภัยในการทำงาน

2. ความรู้เกี่ยวกับพืชพรรณไม้ชนิดต่างๆ 

3. ความรู้เกี่ยวกับการอนุบาลต้นไม้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง                      

2. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลคะแนนสอบทั้งภาคความรู้และปฏิบัติ

2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวกับงานในอาชีพ จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรดังต่อไปนี้

1. ประเภทของพืชพรรณไม้และการเลือกพรรณไม้ให้เหมาะสมกับพื้นที่สีเขียวประเภทต่างๆ

2. วัสดุสำหรับอนุบาลต้นไม้ที่ขยายพันธ์ด้วยวิธีต่างๆ และการเลือกใช้อย่างเหมาะสม    

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การจัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียว คือ การจัดเตรียมพืชพรรณไม้ตามความต้องการ จำแนกประเภทของพืชพรรณไม้ได้อย่างถูกต้อง  พืชพรรณไม้สำหรับพื้นที่สีเขียวมีดังนี้

1)  ไม้แดดจัด เช่น ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้คลุมดิน

2)  ไม้พุ่มและไม้เลื้อยที่มีดอกตลอดปี

3)  ไม้ดอกล้มลุก

4)  ไม้กึ่งแดดกึ่งร่ม  

5)  ไม้ในร่ม

6)  ไม้ดอกในร่มรำไร

7)  ไม้น้ำและไม้ที่ปลูกริมน้ำ

8)  ไม้ทนเค็ม

9)  ไม้หอม

10) ไม้มีพิษ

11) ไม้วงศ์กล้วย

12) ไม้วงศ์ไผ่

13) ปรงต่างๆ

14) ปาล์ม

15) สน

2. การเลือกพรรณไม้ให้เหมาะสมกับพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ

1)  อุณหภูมิ 

2)  แสง

3)  ดิน

4)  ขนาดของต้นไม้  

5)  ระยะปลูกระหว่างต้นหรือทรงพุ่ม

6)  การเจริญเติบโต

7)  รูปทรงตามธรรมชาติ

8)  ลักษณะผิวสัมผัสของทรงพุ่ม

9)  สี

3. การจัดเตรียมวัสดุอนุบาลต้นไม้ คือการเตรียมวัสดุสำหรับการอนุบาลต้นไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่างๆ ตลอดจนถึงวัสดุอนุบาลต้นไม้ขุดล้อม หลังจากการปลูกต้นไม้ลงในพื้นที่ไปแล้ว เพื่อให้ต้นไม้สำมารถดำรงชีวิตอยู่ได้และเจริญเติบโตได้ต่อไป

4. หลักการในการค้ำยันต้นไม้

1)  พิจารณาจากขนาดลำต้นและทรงพุ่ม หากไม่ใหญ่มาก เช่นขนาด1-3 นิ้ว ให้ใช้วิธีการค้ำยันแบบสี่เหลี่ยมแบบเสาประตูฟุตบอลก็เพียงพอ

2)  หากต้นไม้ใหญ่ขึ้นประมาณหน้า 4 ขึ้นไป ควรใช้การค้ำยันแบบ "กระโจม" ตีค้ำยันแบบ 4 ขาและใช้ไม้ตีรัดรอบค้ำยัน

3)  ต้นไม้ตั้งแต่หน้า 10 ขึ้นไป ก็ให้พิจารณาความเหมาะสมว่าจะเพิ่มค้ำยันเป็นกี่ขา ปกติก็จะตีแบบ 5 หรือ 6 ขา 

4)  ต้นไม้ที่เป็นลักษณะเป็นแบบกอ ให้พิจารณาตีค้ำยันกับกิ่งหลักๆ ที่แข็งแรงรอบๆ ต้น ให้แบ่งการรับน้ำหนักที่ใกล้เคียงกัน

5)  ขนาดของไม้ค้ำยัน ให้พิจาณาให้เหมะสมกับขนาดต้นไม้ ไม่ควรมีขนาดที่ใหญ่หรือเล็กเกินไป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสอบปฏิบัติ

3. การสอบสัมภาษณ์

4. รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ