หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZTZW-109A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพเจ้าหน้าที่ป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระดับ 5

ISCO-08 รหัสอาชีพ 2133 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นบุคคลที่สามารถประมวลผลสิ่งที่ได้จากการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม สรุปผลการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีรูปแบบของการสรุปการติดตามการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02361 จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1.1 กำหนดวัตถุประสงค์การตรวจสอบ 155565
02361 จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1.2 กำหนดขอบข่ายการตรวจสอบ 155566
02361 จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1.3 ระบุผู้ขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติ 155567
02361 จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1.4 ระบุหัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบการปฏิบัติและสมาชิกในคณะผู้ตรวจสอบ 155568
02361 จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1.5 ระบุวันและจุดที่ตรวจสอบการปฏิบัติที่สถานประกอบการ 155569
02361 จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1.6 กำหนดเกณฑ์การตรวจสอบการปฏิบัติ 155570
02361 จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1.7 อธิบายสิ่งที่พบจากการตรวจสอบการปฏิบัติ 155571
02362 จัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.1 จัดทำรายงานสรุปผลภาพรวมในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติภายหลังเสร็จสิ้นการติดตามตรวจสอบ ณ วันที่เข้าดำเนินการ และนำเสนอผลอย่างไม่เป็นทางการ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบผลการตรวจสอบเพื่อให้ข้อเสนอแนะ 155572
02362 จัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.2 จัดทำรายงานผลการติดตามตรวจสอบทำการรวบรวมผลการติดตามตรวจสอบทั้งหมดจากคณะผู้เข้าร่วมติดตามตรวจสอบเพื่อนำข้อสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาจัดทำรายงานผลการติดตามตรวจสอบ 155573
02362 จัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.3 นำเสนอรายงานผลการติดตามตรวจสอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 155574
02362 จัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.4 แจ้งเจ้าของโครงการเพื่อรับทราบผลการติดตามตรวจสอบและข้อเสนอแนะเพื่อให้เจ้าของโครงการนำไปปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติ 155575
02362 จัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.5 แจ้งหน่วยงานสนับสนุนที่เข้าร่วมติดตามตรวจสอบ 155576

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานดังนี้

1.    สามารถจัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2.    สามารถจัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีดังนี้

1.    กฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

1.1    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1.1.1    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2560) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

1.1.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 

1.1.3    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558   

1.2    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษ 

1.2.1    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง แบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2559

1.2.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558 

1.3    กฎหมายเกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

1.3.1    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 



1.3.2    ประกาศสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การนับระยะเวลาตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ 

1.3.3    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553 

2.    กฎหมายที่ใช้ในการอ้างอิงของการจัดการพื้นที่สีเขียว

2.1    คุณภาพอากาศ

2.1.1    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป (ยกเลิกประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555) 

2.1.2    ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของกรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560) 

2.1.3    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเคมีบางประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งสารเบนซีน และสาร1,3- บิวทาไดอีนออกสู่บรรยากาศ  

2.2    คุณภาพน้ำ

2.2.1    กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทําบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555

2.2.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดคุณลักษณะน้ำทิ้งที่ระบายออกนอก โรงงานให้มีค่าแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540

2.3    คุณภาพดิน 

2.3.1    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บตัวอย่างดินและน้ำใต้ดิน พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560    

2.3.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดเกณฑ์การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน การตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน การแจ้งข้อมูลรวมทั้งการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน และรายงานเสนอมาตรการควบคุมและมาตรการลดการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน  

2.3.3    กฎกระทรวง ควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน    พ.ศ. 2559 

2.3.4    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 20 ตุลาคม 2547

2.4    การจัดการของเสีย 

2.4.1    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560, ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

2.4.2    ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

2.4.3    กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

2.5    คุณภาพระดับเสียง 

2.5.1    ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษเรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน 28 กันยายน 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 28 กันยายน 2550

2.5.2    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่อง       ค่าระดับเสียงรบกวน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 16 สิงหาคม 2550

2.6    ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย       

2.6.1    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. 2554

2.6.2    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

2.6.3    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559

2.6.4    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการดำเนินตรวจวัดและวิเคราะห์ สภาวะ การทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ พ.ศ. 2550

2.6.5    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน(ฉบับที่4) พ.ศ. 2552  

2.6.6    กฎกระทรวงฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

2.    ปฏิบัติงานในฐานะความเชี่ยวชาญในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 1 ปี

3.    ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 1 ปี

4.    ผลรับรองการผ่านการประเมินการปฏิบัติงานระดับสมรรถนะเจ้าหน้าที่ป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 1 ปี

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    ผลคะแนนสอบทั้งภาคความรู้และปฏิบัติ

2.    หนังสือรับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1.    ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2.    ผู้เข้ารับการประเมินทราบวิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    การประเมินผลความรู้การประเมินผลความรู้จากการทดสอบความรู้

1.1    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 

1.2    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสรุปผลการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 

1.3    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของการสรุปการติดตามการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1.4    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

2.    การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน

การประเมินประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ    

3.    การประเมินผลโดยการสอบสัมภาษณ์

การประเมินประสบการณ์ และทัศนคติในการทำงานที่สอดคล้องกับหน่วยสมรรถนะนี้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยมีคำแนะนำสำหรับผู้เข้ารับการประเมินดังต่อไปนี้ 

(ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้างและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของหน่วยงาน ซึ่งใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อม

3.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลได้

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพประกอบด้วย

1.    รายงานฉบับย่อ ต้องประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้

1.1    รายละเอียดของโครงการหรือกิจการ พร้อมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

1.2    ที่ตั้งของโครงการหรือกิจการโดยมีภาพและแผนที่ที่ตั้งโครงการหรือกิจการ รวมทั้งแผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการตามมาตราส่วน 1 : 50,000หรือมาตราส่วนอื่นที่เหมาะสม

1.3    ทางเลือกที่ตั้งโครงการหรือกิจการและวิธีการดำเนินการโครงการหรือกิจการพร้อมเหตุผลและข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เสนอ

1.4    รายงานการแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแบบ สผร. 1

1.5    สรุปผลกระทบที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ พร้อมระบุเหตุผลหรือหลักเกณฑ์ประกอบข้อสรุปดังกล่าว

2.    รายงานหลัก ต้องประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้

2.1    บทนำ : กล่าวถึงที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการหรือกิจการ เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินโครงการหรือกิจการ วัตถุประสงค์การจัดทำรายงาน ขอบเขตการศึกษาและวิธีการศึกษา

2.2    ที่ตั้งของโครงการหรือกิจการ : โดยมีภาพและแผนที่ที่ตั้งโครงการหรือกิจการ รวมทั้งแผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการหรือกิจการมาตราส่วน 1 : 50,000หรือมาตราส่วนอื่นที่เหมาะสม

2.3    รายละเอียดของโครงการหรือกิจการ : ให้มีรายละเอียดที่สามารถแสดงภาพรวม ได้ชัดเจน ได้แก่ ประเภท ขนาด ที่ตั้งโครงการหรือกิจการ วิธีการดำเนินการโครงการหรือกิจการประกอบของโครงการหรือกิจการดังกล่าว ตลอดจนแผนผังการใช้ที่ดินของโครงการหรือกิจการโดยแสดงทิศและมาตราส่วนที่เหมาะสม

2.4    สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน : ให้แสดงรายละเอียดพร้อมภาพถ่ายทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ชีวภาพ โดยจำแนกเป็นชนิดที่ฟื้นฟูได้และฟื้นฟูไม่ได้ รายละเอียดคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ตลอดจนสภาพปัญหาปัจจุบันบริเวณพื้นที่โครงการหรือกิจการพร้อมแสดงแผนที่สภาพแวดล้อมบริเวณโครงการหรือกิจการ สภาพปัจจุบันด้านสังคมและสุขภาพของประชาชนบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการหรือกิจการ การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบโครงการหรือกิจการตลอดจนบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการหรือกิจการ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

2.5    การประเมินทางเลือกในการดำเนินการ และการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการหรือกิจการ

2.5.1    ทางเลือกในการดำเนินโครงการหรือกิจการ : ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะต้องเสนอทางเลือก โดยอาจเป็นทั้งทางเลือกเกี่ยวกับสถานที่ตั้งหรือวิธีดำเนินการของโครงการหรือกิจการ ทั้งนี้ ทางเลือกที่เสนอทุกทางเลือกจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีเหตุผลว่าบรรลุเป้าหมายและความจำเป็นในการมีหรือไม่มีโครงการหรือกิจการอย่างไร มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบในทุกทางเลือก และจะต้องระบุทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดที่จะดำเนินโครงการหรือกิจการ โดยจะต้องคำนึงถึงข้อมูลด้านสุขภาพและสังคมของประชาชนบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการหรือกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมแสดงเหตุผลและความจำเป็นประกอบ

2.5.2    การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม : ให้ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการหรือกิจการ ทั้งที่เป็นผลกระทบทางตรง และผลกระทบทางอ้อมต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ ตาม2.4 พร้อมทั้งแยกประเภททรัพยากรธรรมชาติเป็นชนิดที่สามารถฟื้นฟูได้และฟื้นฟูไม่ได้ รวมทั้งให้ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในทุกทางเลือกของโครงการหรือกิจการเปรียบเทียบกัน โดยมีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ให้ระบุผลกระทบที่อาจมีผลต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ พร้อมกับให้ระบุเหตุผลหรือหลักเกณฑ์ประกอบการประเมินดังกล่าวด้วย

2.6    มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชย : ให้อธิบายรายละเอียดในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นตาม2.5 และในกรณีที่ความเสียหายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าวด้วย โดยในมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชย ต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขด้านสุขภาพและสังคมด้วย

2.7    มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม : ให้เสนอมาตรการและแผนการดำเนินการในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทางวิชาการและการปฏิบัติการ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผลภายหลังการดำเนินโครงการหรือกิจการ โดยในมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องผนวกเรื่องมาตรการติดตามตรวจสอบด้านสุขภาพและสังคมด้วย

2.8    ตารางสรุปผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญพร้อมด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว





3.    การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.1    จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.1.1    กำหนดวัตถุประสงค์การตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว    

3.1.2    กำหนดขอบข่ายการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะการระบุการจัดการภายในองค์กร หน่วยงาน หรือกระบวนการที่ได้รับการตรวจสอบและเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

3.1.3    ระบุผู้ขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3.1.4    ระบุหัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสมาชิกในคณะผู้ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3.1.5    ระบุวันและจุดที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่สถานประกอบการ

3.1.6    กำหนดเกณฑ์การตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3.1.7    อธิบายสิ่งที่พบจากการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3.2    จัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

3.2.1    รายงานสรุปผลภาพรวมในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ภายหลังเสร็จสิ้นการติดตามตรวจสอบ ณ วันที่เข้าดำเนินการ และนำเสนอผลอย่างไม่เป็นทางการโดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อแจ้งให้เจ้าของโครงการและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบส่วนต่างๆของโครงการ รับทราบผลการตรวจสอบ รวมทั้งแจ้งคณะผู้เข้าร่วมติดตามตรวจสอบรับทราบผลการตรวจสอบ รวมทั้งแจ้งคณะผู้เข้าร่วมติดตามตรวจสอบรับทราบผลการตรวจสอบเพื่อให้ข้อเสนอแนะ 

3.2.2    จัดทำรายงานผลการติดตามตรวจสอบ ทำการรวบรวมผลการติดตามตรวจสอบทั้งหมดจากคณะผู้เข้าร่วมติดตามตรวจสอบ เพื่อนำข้อสรุป ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาจัดทำรายงานผลการติดตามตรวจสอบ 

3.2.3    เสนอรายงานผลการติดตามตรวจสอบ ต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เนื่องจากมีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทราบผลการติดตามตรวจสอบและข้อเสนอแนะให้เจ้าของโครงการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

3.2.4    เสนอรายงานผลการติดตามตรวจสอบ ต่อองค์กรปกครองท้องถิ่น เนื่องจากมีบทบาทเป็นหน่วยงานอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้รับทราบผลการติดตามตรวจสอบและข้อเสนอแนะให้เจ้าของโครงการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ที่ให้ข้อเสนอแนะไว้

3.2.5    แจ้งเจ้าของโครงการ เพื่อรับทราบผลการติดตามตรวจสอบและข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เจ้าของโครงการนำไปปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.2.6    แจ้งหน่วยงานสนับสนุนที่เข้าร่วมติดตามตรวจสอบ เนื่องจากเป็นหน่วยงานให้คำแนะนำช่วงติดตามตรวจสอบ เพื่อรับทราบผลการติดตามตรวจสอบและข้อเสนอแนะที่ได้จากการติดตามตรวจสอบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ