หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-LOCM-087A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักการตลาดพื้นที่สีเขียว ระดับ 5

ISCO-08 รหัสอาชีพ 2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวนำเสนอสถานการณ์ทางการตลาดประเมินโอกาสทางการตลาดกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดจัดทำแผนการดำเนินงานจัดทำแผนทางการเงิน จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงานรายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวโดยมีทักษะ      ทางเทคนิคในการปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการและกำหนดนโยบายขององค์กรโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างอิสระสามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆได้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและสามารถอบรมและฝึกฝนบุคคลอื่นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01371 กำหนดขอบเขตแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.1 ระบุความสำคัญของแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 155296
01371 กำหนดขอบเขตแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.2 อธิบายองค์ประกอบของแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 155297
01372 นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด 2.1 อธิบายประเด็นสำคัญของสถานการณ์การตลาดที่ต้องนำเสนอ 155298
01372 นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด 2.2 ระบุสาระสำคัญของสถานการณ์การตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 155299
01373 ประเมินโอกาสทางการตลาด 3.1 ระบุผลวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด 155300
01373 ประเมินโอกาสทางการตลาด 3.2 ประยุกต์ใช้ผลวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดทั้งภายนอกและภายในและสถานการณ์ทางการตลาดเพื่อนำมาประเมินโอกาสทางการตลาด 155301
01373 ประเมินโอกาสทางการตลาด 3.3 ระบุโอกาสทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 155302
01374 กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด 4.1 ระบุวัตถุประสงค์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ 155303
01374 กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด 4.2 ระบุเป้าหมายของวัตถุประสงค์ทางการตลาดทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 155304
01375 กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด 5.1 ระบุผลการวิเคราะห์กลยุทธ์ตลาดเป้าหมาย (STP Marketing) 155305
01375 กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด 5.2 ระบุผลการวิเคราะห์กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) 155306
01375 กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด 5.3 บ่งชี้กลยุทธ์ทางการตลาดที่นำมาใช้ซึ่งประยุกต์ใช้จากกลยุทธ์ตลาดเป้าหมายและกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 155307
01376 จัดทำแผนการดำเนินงาน 6.1 อธิบายขั้นตอนของการดำเนินงาน 155308
01376 จัดทำแผนการดำเนินงาน 6.2 ระบุความสอดคล้องของแต่ละขั้นตอนของแผนการดำเนินงานกับวัตถุประสงค์ 155309
01376 จัดทำแผนการดำเนินงาน 6.3 ระบุความสอดคล้องของแต่ละขั้นตอนของแผนการดำเนินงานกับกลยุทธ์ทางการตลาด 155310
01377 จัดทำแผนทางการเงิน 7.1 อธิบายที่มาของประมาณการรายรับ 155311
01377 จัดทำแผนทางการเงิน 7.2 อธิบายที่มาของประมาณการรายจ่าย 155312
01377 จัดทำแผนทางการเงิน 7.3 ระบุวิธีการจัดทำประมาณการกระแสเงินสด 155313
01377 จัดทำแผนทางการเงิน 7.4 ระบุวิธีการคำนวณประมาณการกำไรขาดทุน 155314
01378 จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน 8.1 อธิบายแนวทางการกำกับดูแลการดำเนินงาน 155315
01378 จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน 8.2 อธิบายแนวทางการตรวจสอบการดำเนินงาน 155316
01378 จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน 8.3 ระบุแนวทางการทบทวนการปฏิบัติงาน 155317
01378 จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน 8.4 ระบุแนวทางแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงาน 155318
01379 รายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 9.1 อธิบายเนื้อหาที่ต้องกำหนดในรายงานแผนการตลาด 155319
01379 รายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 9.2 อธิบายรูปแบบการนำเสนอในรายงานแผนการตลาด 155320
01379 รายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 9.3 จัดทำรายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 155321

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวางแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

2. ทักษะในการสื่อสาร 

3. ทักษะการใช้โปรแกรมเพื่อสนับสนุนงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ดำเนินกิจกรรมทางการตลาด    

1.1 ข้อมูลกิจกรรมทางการตลาดกิจกรรมทางการตลาดหมายถึงการกระทำใดๆ ในทางปฏิบัติเพื่อจะทำให้หน้าที่ทางการตลาดบรรลุสมบูรณ์มากขึ้นเช่นหน้าที่ในการซื้อและการขายจะประสบความสำเร็จต้องกระทำกิจกรรมทางการตลาดเช่น การโฆษณาการวิจัยตลาดเพื่อเป็นการค้นหาความต้องการเป็นต้น กิจกรรมทางการตลาดเป็นกลุ่มของการกระทำต่างๆ ในหลายด้านที่จะทำให้การทำหน้าที่ทางการตลาดสามารถบรรลุผล ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ใช้ในทางธุรกิจ สามารถโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ และสามารถเคลื่อนย้ายไปตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางธุรกิจที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายได้อย่างทั่วถึงซึ่งกิจกรรมการตลาดมีหลายลักษณะผู้มีหน้าที่การตลาดในแต่ละด้านจำเป็นต้องเลือกกิจกรรมการตลาดให้เหมาะสม กิจกรรมการตลาด จึงเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ซึ่ง ธุรกิจจะต้องปรับให้สอดคล้องกับภาพแวดล้อม สถานการณ์ เพื่อครองใจลูกค้าเกิดรายได้และทำให้องค์กรอยู่รอได้ การทำกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จจึงต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านด้วยกัน ทั้งเรื่องของคน, งบประมาณ, ลักษณะของกิจกรรม, สถานที่ และระยะเวลาที่เหมาะสม ได้แก่

1) คน เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการจัดทำกิจกรรมการตลาด ตั้งแต่ผู้บริหาร ลงมาถึงพนักงานระดับล่างที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรม การรวบรวมข้อมูล ระดมสมอง ประเมินผลงาน ปรับปรุงให้ดีขึ้น ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง รวมถึงหาโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจเสมอ

2) งบประมาณ การจัดกิจกรรมการตลาด ถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของกิจการบางธุรกิจ ใช้วิธีกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย อย่างไรก็ตามการใช้งบประมาณเพื่อจัดทำกิจกรรมการตลาดนั้น จะต้องมีการศึกษา เปรียบเทียบวิธีการเพื่อให้การใช้งบประมาณนั้นมีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

3) ลักษณะของกิจกรรม การคิดกิจกรรมที่ทำให้ลูกค้าจดจำได้แม่นยำ คือกิจกรรมที่เขาไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ต้องเห็นแล้วทึ่ง ประทับใจจนอยากรู้ว่าเป็นสินค้าของใคร 

4) สถานที่ และระยะเวลาที่เหมาะสม ส่วนสำคัญอีกประการในการจัดกิจกรรม การตลาดให้ประสบความสำเร็จ ก็คือการคัดเลือกและบริหารจัดการสถานที่ไม่เพียงแต่ต้องเลือกสถานที่ที่กลุ่มเป้าหมายเดินทางสะดวกแล้ว ยังต้องมีวิธีการดำเนินงานหรือมีสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมต้อนรับอย่างพอเพียง 

1.2 กิจกรรมทางส่วนประสมทางการตลาด ต้องใช้ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) 7 อย่าง หรือ 7P's ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านผลิตภัณฑ์(Product) เป็นสิ่งซึ่งสนองความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ได้คือ สิ่งที่ผู้ขายต้องมอบให้แก่ลูกค้าและลูกค้าจะได้รับผลประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว ผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ผลิตภัณฑ์ที่อาจจับต้องได้(Tangible Products) และ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Products)

2) ด้านราคา (Price) หมายถึง คุณค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ลูกค้าจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่า (Value) ของบริการกับราคา (Price) ของบริการนั้น ถ้าคุณค่าสูงกว่าราคาลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ ดังนั้น การกำหนดราคาการ ให้บริการควรมีความเหมาะสมกับระดับการให้บริการชัดเจน และง่ายต่อการจำแนกระดับบริการที่ต่างกัน 

3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) เป็น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในการนำเสนอ บริการให้แก่ลูกค้า ซึ่งมีผลต่อการรับรู้ของลูกค้าในคุณค่าและคุณประโยชน์ของบริการที่นำเสนอ ซึ่งจะต้องพิจารณาในด้านทำเลที่ตั้ง (Location) และช่องทางในการนำเสนอบริการ (Channels)

4) ด้านการส่งเสริม (Promotions) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญในการติดต่อสื่อสารให้ผู้ใช้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่แจ้งข่าวสารหรือชักจูงให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรม การใช้บริการและเป็นกุญแจสำคัญของการตลาดสายสัมพันธ์

5) ด้านบุคคล (People) หรือพนักงาน (Employee) ซึ่งต้องอาศัยการคัดเลือก การฝึกอบรม การจูงใจ เพื่อให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้แต่กต่างเหนือคู่แข่งขันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการต่างๆ ขององค์การ เจ้าหน้าที่ต้องมีความสามารถ มีทัศนคติที่สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ มีความคิดริเริ่ม มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา สามารถสร้างค่านิยมให้กับองค์กร

6) ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) เป็นแสดงให้เห็นถึงลักษณะทางกายภาพและการนำเสนอให้กับลูกค้าให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยพยายามสร้างคุณภาพโดยรวมทั้งทางด้ายกายภาพและรูปแบบการให้บริการเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นด้านการแต่งกายสะอาดเรียบร้อย การเจรจาต้องสุภาพอ่อนโยน และการให้บริการที่รวดเร็ว หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกค้าควรได้รับ

7) ด้านกระบวนการ (Process) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีการและงานปฏิบัติในด้านการบริการ ที่นำเสนอให้กับผู้ใช้บริการเพื่อมอบการให้บริการอย่างถูกต้องรวดเร็ว และทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจ



2. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับกำหนดวิธีดำเนินกิจกรรมทางการตลาด

2.1 กิจกรรมทางการตลาดหมายถึงการกระทำใดๆ ในทางปฏิบัติเพื่อจะทำให้หน้าที่ทางการตลาดบรรลุสมบูรณ์มากขึ้น เช่น หน้าที่ในการซื้อและการขายจะประสบความสำเร็จต้องกระทำกิจกรรมทางการตลาด เช่น การโฆษณาการวิจัยตลาดเพื่อเป็นการค้นหาความต้องการเป็นต้นกิจกรรมทางการตลาดเป็นกลุ่มของการกระทำต่างๆ ในหลายด้านที่จะทำให้การทำหน้าที่ทางการ ตลาดสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ในทางธุรกิจสามารถโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ และสามารถเคลื่อนย้ายไป ตอบสนอง ความต้องการ ของผู้บริโภคหรือผู้ใช้ทางธุรกิจที่อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งกิจกรรมการตลาด มีหลายลักษณะผู้มีหน้าที่การตลาดในแต่ละด้านจำเป็นต้องเลือกกิจกรรมการตลาดให้เหมาะสม

2.2 การตลาดโดยการจัดกิจกรรมทางการตลาดหรือการจัดกิจกรรมพิเศษ (Event Marketing) การตลาดโดยการจัดกิจกรรมพิเศษ การจัดกิจกรรมพิเศษสามารถดึงคนเข้าไปร่วมกิจกรรมได้สามารถสร้างสรรค์ได้ดีกิจกรรมที่ทำนั้นมีค่าขึ้นอยู่กับกิจกรรมการสร้างสรรค์ (Creativity) การจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อ

1) สร้างภาพลักษณ์ (Image) โดยการใช้กิจกรรมเป็นตัวนําไปสู่การได้รับการลงข่าว(Media Coverage) เพราะถ้าธุรกิจไม่มีกิจกรรม ไม่มีเหตุการณ์ธุรกิจก็จะเงียบเหงา การจัดกิจกรรมพิเศษขึ้น เช่น จัดการแข่งขันจะมีคนมาถาม มาทำข่าว การสร้างกิจกรรมเหล่านี้จึงถือว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ 2) การใช้กิจกรรมพิเศษ (Event) เป็นพยานของจุดขาย (Testimonial) เป็นการติดต่อสื่อสารจุดขายของบริษัท กิจกรรมทางการตลาด (Event Marketing) เป็นกลยุทธ์ส่วนหนึ่งจากกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร หรือ IMC (Intergrated Marketing Communication) การจัดกิจกรรมทางการตลาด คือ การกำหนดวาระพิเศษขึ้นมา เพื่อช่วยในการส่งเสริมสินค้า และชื่อเสียงของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งเป็นการสร้างความเคลื่อนไหว และการรับรู้ข่าวสารในกลุ่มผู้บริโภค ด้วยการนําเสนอเหตุการณ์ต่างๆ ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์และการหยิบยกเอาสถานการณ์ขึ้นมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับฐานการตลาดของสินค้า โดยรูปแบบของกิจกรรมพิเศษนั้น ไม่มีกำหนดตายตัว แต่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ (เสรี วงษ์มณฑา, 2540) รูปแบบของการจัดกิจกรรมทางการตลาด

2.1) การจัดการประกวด (Contest) เป็นกิจกรรมการประกวดต่าง ๆ 

2.2) การจัดแข่งขัน (Competition) เป็นการจัดกิจกรรมในการแข่งขันรูปแบบต่างๆ 

2.3) การจัดงานฉลอง (Celebration)การจัดกิจกรรมในลักษณะงานฉลองเนื่องในโอกาสต่างๆ 

2.4) การจัดงานเปิดตัวสินค้า (Product Launching Presentation) การจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดตัวสินค้าใหม่ 

2.5) การจัดงานมอบรางวัล (Award Day) การจัดงานเพื่อให้รางวัลพนักงานที่มีผลงานดีเด่น ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้เห็นว่าสินค้าขายดี มีนักการขายได้รับประกาศเกียรติคุณ หรือ บางครั้งครบรอบปี ก็แจกรางวัลพนักงานที่ทำงานกับบริษัทเป็นเวลานาน กรณีนี้เป็นกิจกรรมพิเศษที่ทำให้เกิดผลกระทบที่ดี เพราะก่อนที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้ดีในสายตาของผู้บริโภค จะต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของพนักงานภายในบริษัทเสียก่อน เพื่อให้พนักงานเกิดความภักดีต่อบริษัทในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้บริโภครู้ข่าวเกี่ยวกับการแจกรางวัลอีกด้วย

2.6) การจัดงานขอบคุณ  (Thank Party) การจัดงานเพื่อขอบคุณลูกค้าหรือสื่อมวลชน

การจัดงานเพื่อขอบคุณลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมีหน้าที่ขายสินค้าของเราเพื่อส่งไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย สื่อมวลชนก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพราะการจะทำการเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับตัวสินค้า ย่อมที่จะอาศัยสื่อ หากผู้ขายและสื่อมวลชนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสินค้าบริการ ย่อมที่จะถ่ายทอดแต่สิ่งที่ดีๆ ไปยังผู้บริโภค ถือเป็นกระบอกเสียงและเป็นกำลังในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและบริการ

2.7) การจัดงานสัมมนา (Seminar or Conference) การจัดงานสัมมนาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมทำกันมาก เพราะเป็นการให้ความรู้และสอดแทรกความสามารถของธุรกิจที่จัดสัมมนาลงไปด้วย ซึ่งจะดูน่าเชื่อถือและสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน

2.8) การจัดนิทรรศการหรือแสดงสินค้า (Exhibition and Trade Show) งานแสดงสินค้าหลายชนิดรวมกัน เป็นเครื่องมือที่สามารถดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มคนกลาง แหล่งจัดแสดงสินค้าและแหล่งจัดนิทรรศการภายในประเทศ

2.9) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Sales Promotion Activity) เครื่องมืออย่างหนึ่งของการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อให้เร็วและเข้มขึ้น

2.10) การจัดการแสดงพิเศษ  (Entertainment) การจัดรายการบันเทิงต่างๆ ขององค์การ



3. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับเขียนเนื้อหารายงานกิจกรรมทางการตลาด

เขียนเนื้อหารายงานประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดเป็นสิ่งที่กำหนดการดำเนินการด้านการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวอาจกล่าวได้ว่าการเขียนเนื้อหารายงานมีความสำคัญในการดำเนินการทางการตลาด ในการเขียนที่สำคัญควรเขียนจากความเป็นจริง ขั้นตอนการเขียนเนื้อหารายงาน

3.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานของธุรกิจ 

เป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของธุรกิจ ขอบเขตของเจริญเติบโตทางธุรกิจ แสดงขีดความสามารถในการบริหารจัดการที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ประกอบการจะต้องรู้สถานะของธุรกิจ กล่าวคือ ธุรกิจเราทำอะไร      มีจุดมุ่งหมายอย่างไร  มีการกำหนดระยะเวลาสู่ความสำเร็จ  ชัดเจน  

3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดของธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาด หรือเรียกว่า  การทำวิจัยตลาดเป็นขั้นตอนสำหรับการหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวโดยการสำรวจสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า โดยคิดออกมาก่อนเขียนรายงาน เพราะขั้นตอนแต่ละขั้นนั้นมีความสำคัญและสลับซับซ้อนมีความละเอียดอ่อน จะต้องเขียนอย่างตรงไปตรงมา  วิธีง่ายๆ เขียนสรุปไว้ก่อนที่จะเรียบเรียงร้อยถ้อยคำก่อนจัดพิมพ์

3.3 ประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดของธุรกิจ สภาวะการแข่งขันในสภาพปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต

3.3.1 สำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของตลาด

3.3.1.1 สภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจ เป็นต้นว่ามีการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านกฎระเบียบกฎหมายที่เอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดอุปสรรคกับธุรกิจ ค่านิยม พฤติกรรม ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความสนใจสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจกำลังจะทำหรือไม่ หรือมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว การผลิตเพื่อขาย การบริการมีผลอย่างมากเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ

3.3.1.2 ขนาดตลาด  สำรวจธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกับธุรกิจ ของเรา สังเกตการเจริญเติบโตของตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่ก่อน เป็นการสะท้อนจำนวน    คู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรของคู่แข่งขัน เพราะถ้าหากมีการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรสูงแสดงว่าผู้ประกอบการ จะอยู่ในธุรกิจนั้นเป็นเวลานาน

3.3.1.3 พิจารณาปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key  Success  Factor)พิจารณาและวินิจฉัยว่าอะไรคือส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ธุรกิจเราประสบความสำเร็จ  

3.3.2 สำรวจและค้นหาความต้องการของตลาดอาจกล่าวได้คือเป็นการทำวิจัยตลาดหรือการเขียนรายงานนั่นเอง การวิจัยนั้นเป็นการสำรวจและค้นหาความต้องการ รสนิยม ทัศนคติ  ค่านิยม ของลูกค้าปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของลูกค้า ตลอดจนเป็นการหาแนวทางของธุรกิจจะสามารถเจาะตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้าได้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตแผนการตลาดนำเสนอสถานการณ์ทางการตลาดประเมินโอกาสทางการตลาดกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดจัดทำแผนการดำเนินงานจัดทำแผนทางการเงินจัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงานรายงานแผนการตลาด หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการกำหนดขอบเขตแผนการตลาด นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด ประเมินโอกาสทางการตลาด กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด จัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนทางการเงิน จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน รายงานแผนการตลาด หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตแผนการตลาด นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด ประเมินโอกาสทางการตลาด กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด จัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนทางการเงิน จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน รายงานแผนการตลาด และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผนการตลาด

2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัยและข้อสอบอัตนัย

2. แฟ้มสะสมผลงาน

3. การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนการตลาด

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการกำหนดขอบเขตแผนการตลาด นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด ประเมินโอกาสทางการตลาด กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด จัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนทางการเงิน จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน รายงานแผนการตลาด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การวางแผนทางการตลาด คือ แผนเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจฉะนั้นแล้วจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนงานทางการตลาดจะช่วยให้สามารถมองเห็นแนวทางที่ถูกต้องและขั้นตอนการลงมือทำงาน   ต่างๆได้ ซึ่งแผนการตลาดสามารถช่วยแยกแยะว่าลูกค้ากลุ่มใดคือกลุ่มเป้าหมายที่ดีที่สุดมีการเปรียบเทียบข้อมูลของบริษัทกับข้อมูลของอุตสาหกรรมและตลาด มีการติดตามผลลัพธ์เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าอะไรที่ใช้ได้ ผลบ้าง เพราะถ้าหากไม่มีแผนก็อาจเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่อาจไปไม่ถูกทิศทางก็ได้ ดังคำอธิบายข้อ 13ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ข) ความต้องการด้านความรู้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

18.2 แฟ้มสะสมผลงาน

18.3 การสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ