หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-MOAY-080A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว ระดับ 5

ISCO-08 รหัสอาชีพ 2631 นักเศรษฐศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติจัดทำแผนรองรับการประเมินผลโครงการจัดทำแนวทางการปรับปรุงโครงการ โดยมีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการและกำหนดนโยบายขององค์กรโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างอิสระสามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆได้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและสามารถอบรมและฝึกฝนบุคคลอื่นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01261 วางแผนการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ 1.1 ระบุขั้นตอน ระยะเวลาและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามกรอบการดำเนินโครงการ 155202
01261 วางแผนการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ 1.2 ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการที่หน่วยธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวกำหนดไว้ 155203
01262 จัดทำแผนรองรับการประเมินผลโครงการ 2.1 ระบุเครื่องมือในการติดตามการดำเนินงานตามเป้าหมายของโครงการที่จะเกิดผลการดำเนินงานในอนาคต 155204
01262 จัดทำแผนรองรับการประเมินผลโครงการ 2.2 อธิบายเครื่องมือที่จะนำมาใช้ประเมินติดตามผลการดำเนินงานของโครงการในอนาคตโดยใช้แผนภาพ Gantt chart และแผนภาพตามวิธี PERT 155205
01263 จัดทำแนวทางการปรับปรุงโครงการ 3.1 ระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการปรับปรุงโครงการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 155206
01263 จัดทำแนวทางการปรับปรุงโครงการ 3.2 อธิบายแนวทางการปรับปรุงโครงการให้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว 155207

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

2. ทักษะในการในใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การนำโครงการไปปฏิบัติ

โครงการที่ผ่านการประเมินและอนุมัติโครงการแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการนำโครงการไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเกี่ยวข้องกับการเตรียมแผนการปฏิบัติงานให้เหมาะสม มีการควบคุมและคิดตามความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา อยู่ภายใต้งบประมาณ และได้ผลงานตามที่ได้กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติขั้นตอนการนำโครงการไปปฏิบัติอาจจะเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงแม้ว่าจะมีการจัดเตรียมโครงการอย่างรอบคอบแล้ว ดังนั้น ความยืดหยุ่นจึงเป็น   สิ่งที่จำเป็นสำหรับขั้นตอนนี้เพื่อสามารถทำให้การดำเนินงานของโครงการประสบความสำเร็จลุล่วงได้



การประเมินผลโครงการ

หลังจากนำโครงการไปปฏิบัติแล้ว จะต้องมีการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและบ่งชี้ปัญหาระหว่างการดำเนินโครงการ รวมทั้งหลังจากจบโครงการ โดยการประเมินผลโครงการสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ และการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ

การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ เป็นการประเมินผลในระหว่างดำเนินโครงการ ซึ่งจะช่วยตรวจสอบได้ว่า โครงการได้ดำเนินไปตามแผนของโครงการหรือไม่อย่างไร มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ ซึ่งถ้าประเมินผลแล้วยังมีปัญหาจะได้เป็นการหาทางปรับปรุงและแก้ไขได้ทันท่วงที เพื่อให้ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น

การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นการประเมินผลรวมสรุปการดำเนินการของโครงการทั้งหมด โดยเน้นการประเมินไปยังการวิเคราะห์ในส่วนของประสิทธิผลหรือผลลัพธ์ของการจัดทำโครงการ ว่าการดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด มีคุณภาพอยู่ในระดับใดบ้าง

การปรับปรุงโครงการ (Program improvement) หมายถึง การตรวจสอบหาข้อบกพร่องของโครงการแล้วปรับปรุงแก้ไขโครงการนั้นใหดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง การประเมินโครงการประเภทนี้เป็นการประเมินเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว (End-of project evaluation) อย่างทันทีทันใด โดยเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของโครงการแล้วปรับปรุงแก้ไขตามข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อให้โครงการมีผลงานตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. แฟ้มสะสมผลงาน

3. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการวางแผนการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ จัดทำแผนรองรับการประเมินผลโครงการ และการจัดทำแนวทางการปรับปรุงโครงการ    

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

โครงการที่ผ่านการประเมินและอนุมัติโครงการแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการนำโครงการไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเกี่ยวข้องกับการเตรียมแผนการปฏิบัติงานให้เหมาะสม มีการควบคุมและคิดตามความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา อยู่ภายใต้งบประมาณ และได้ผลงานตามที่ได้กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติขั้นตอนการนำโครงการไปปฏิบัติอาจจะเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงแม้ว่าจะมีการจัดเตรียมโครงการอย่างรอบคอบแล้ว ดังนั้นความยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับขั้นตอนนี้เพื่อสามารถทำให้การดำเนินงานของโครงการประสบความสำเร็จลุล่วงได้ ดังคำอธิบายข้อ 13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)(ข) ความต้องการด้านความรู้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

18.2 แฟ้มสะสมผลงาน

18.3 การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ