หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ACTB-075A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนการจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต คัดเลือกปัจจัยการผลิตจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ประเมินผลิตภาพจากการใช้ปัจจัยการผลิต ประเมินประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการผลิต และการส่งมอบปัจจัยการผลิต โดยมีกระบวนการคิดและปฏิบัติงานที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ    

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01211 วางแผนการจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต 1.1 ระบุวัตถุประสงค์การใช้ปัจจัยการผลิต 01211.01 155153
01211 วางแผนการจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต 1.2 กำหนดปัจจัยการผลิต 01211.02 155154
01211 วางแผนการจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต 1.3 ตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต 01211.03 155155
01212 คัดเลือกปัจจัยการผลิตจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ 2.1 อธิบายแนวทางการคัดเลือกปัจจัยการผลิต 01212.01 155156
01212 คัดเลือกปัจจัยการผลิตจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ 2.2 เลือกปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตตามปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ได้แก่ ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร 01212.02 155157
01213 ประเมินผลิตภาพจากการใช้ปัจจัยการผลิต 3.1 ระบุวิธีการประเมินตามหลักการวัดผลิตภาพจากผลผลิต 01213.01 155158
01213 ประเมินผลิตภาพจากการใช้ปัจจัยการผลิต 3.2 วิเคราะห์ผลของการใช้ปัจจัยการผลิตในด้านผลผลิตรวม (TP) ผลผลิตเฉลี่ย (AP) และผลผลิตส่วนเพิ่ม (MP) 01213.02 155159
01213 ประเมินผลิตภาพจากการใช้ปัจจัยการผลิต 3.3 รายงานผลการใช้ปัจจัยการผลิตจากการนำมาผลิตเป็นสินค้าและบริการในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว 01213.03 155160
01214 ประเมินประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการผลิต 4.1 ระบุแนวทางการวัดประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์จากการลดต้นทุนของการใช้ปัจจัยการผลิต 01214.01 155161
01214 ประเมินประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการผลิต 4.2 อธิบายวิธีการวัดประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์จากการลดต้นทุนในการใช้ปัจจัยการผลิต 01214.02 155162
01214 ประเมินประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการผลิต 4.3 วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในระยะสั้น (ShortRun) และระยะยาว (Long Run) จากการใช้ปัจจัยการผลิต 01214.03 155163
01215 ส่งมอบปัจจัยการผลิต 5.1 ระบุปัจจัยการผลิตที่ต้องการส่งมอบให้ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว 01215.01 155164
01215 ส่งมอบปัจจัยการผลิต 5.2 อธิบายวิธีการส่งมอบปัจจัยการผลิตเพื่อได้ผลการตอบแทนของการใช้ปัจจัยการผลิต 01215.02 155165
01215 ส่งมอบปัจจัยการผลิต 5.3 ประเมินผลตอบแทนการใช้ปัจจัยการผลิตจากค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร ที่เกิดจากการส่งมอบปัจจัยการผลิตให้กับธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว 01215.03 155166

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวางแผน คัดเลือก ประเมิน การจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต

2. ทักษะในการในใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยการผลิต

1.1 ความหมายของเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการจัดสรรทรัพย์ากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความพอใจมากที่สุดทั้งนี้เนื่องจากทรัพย์ากรธรรมชาติมีจำกัดขณะที่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด วิชาเศรษฐศาสตร์จึงต้องจัดสรรทรัพย์ากรที่มีอย่างจำกัดไปผลิตสินค้าต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จำกัดให้ได้รับความพอใจสูงสุด มีความหมายและลักษณะทั่วไปของเศรษฐศาสตร์ ดังนี้

1) สถานการณ์และบริบทต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ความหมาย ขอบเขตและเนื้อหาของความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ได้มีบทบาทเชื่อมโยงและครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ ในสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการทรัพย์ากรกายภาพ การขนส่ง การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เป็นต้น หากจะกล่าวถึงขอบเขตและความหมายของเศรษฐศาสตร์ในลักษณะเฉพาะประเด็นอาจจะไม่ครอบคลุมมากนัก โดยที่ผ่านมามีนักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการ หลายยุคหลายสมัยได้ให้คำนิยามและมุมมองในกระบวนวิชาทางเศรษฐศาสตร์อยู่มากมาย อีกทั้งที่มีความพยายามจะนำเสนอว่าเศรษฐศาสตร์นั้นคืออะไร ซึ่งหากยุคสมัยมีการเปลี่ยนผ่านไปก็ย่อมมีอิทธิพลต่อการกล่าวถึงบทบาทและมิติขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์แต่กต่างกันด้วย และในที่นี้หากจะต้องกล่าวถึงบทบาทและความหมายของเศรษฐศาสตร์ ก็ต้องนำเสนอถึงแนวคิดที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายาม ให้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น (วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน: 2549) นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการได้พยายามเสนอคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับความหมายของเศรษฐศาสตร์ โดยทั่วไปมักมีการพิจารณาออกเป็น 2 แนวทาง แนวหนึ่ง คือ การให้คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการทางเศรษฐกิจของมนุษย์ (Materialistic definition of economics) อีกแนวหนึ่งคือการให้คำนิยามที่เน้นถึงความจำกัดของทรัพย์ากรที่มีอยู่ (Scarcity definition of economics) โดยอาจให้คำนิยามความหมายของเศรษฐศาสตร์

2) เศรษฐศาสตร์ ศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ (ประชาชน + สังคม) เลือกใช้ประโยชน์จากทรัพย์ากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (หาหนทางเลือกที่ดีที่สุด) เพื่อผลิตสินค้าและบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ (อย่างไม่สิ้นสุด)

3) ความต้องการของมนุษย์ความต้องการสินค้า บริการและความสะดวกสบาย ความต้องการนี้จะแต่กต่างกันตามแต่ละบุคคล ระยะทางและสถานที่ ความต้องการของมนุษย์เพื่อให้เกิดความพอใจมักจะมีมากกว่าสินค้าและบริการที่มีอยู่ 

4) ทรัพย์ากรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ที่ดินจะรวมไปถึงปุ๋ยในดิน สภาพภูมิอากาศ ป่าไม้ แร่ธาตุ ตลอดจนทรัพย์ากรธรรมชาติต่าง ๆ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รับผลตอบแทนในรูป ค่าเช่า แรงงาน จะรวมไปถึงความสามารถของมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการผลิตสินค้าและบริการ แรงงานแบ่งอาจออกเป็น 3 ประเภท คือ แรงงานมีทักษะแรงงานถึงทักษะ และแรงงานไร้ทักษะ แรงงานที่ทางานจะได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทน ทุนหมายถึง เครื่องมือ เครื่องจักร โรงงาน สิ่งประดิษฐ์ เส้นทางคมนาคมขนส่ง ชลประทาน ตลอดจนเครือข่ายการสื่อสารต่าง ๆ ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ เงินมิใช่ทุน เนื่องจากเงินไม่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดได้เลย เงินเป็นเพียงสื่อกลางที่จะก่อให้เกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเท่านั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย ผู้ประกอบการ หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดหาทุน รับการเสี่ยงภัย ทำหน้าที่ตัดสินใจและรับผลตอบแทนในรูปของกำไรหรือขาดทุนจากการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

5) ปกติทรัพย์ากรหรือปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดสามารถเลือกนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่นที่ดินแปลงหนึ่งอาจใช้สำหรับสร้างโรงงานอุตสาหกรรม บ้าน ถนน สวนสาธารณะ หรือ สวนผลไม้ แรงงานคนหนึ่งอาจจะทำงานเป็นคนทำความสะอาด ทำงานก่อสร้าง กรรมกรขนสินค้าที่ท่าเรือหรือทำงานบริการอื่น ๆ นักศึกษาคนหนึ่งอาจได้รับการอบรมให้เป็นนักบัญชี นักเศรษฐศาสตร์ หรือทนายความ เนื่องจากทรัพย์ากรมีปริมาณจำกัด (Scarcity of resources) จึงก่อให้เกิดราคาขึ้น 

6) การที่ทรัพย์ากรโดยทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้ปริมาณสินค้าและบริการ       ที่ผลิตได้ในแต่ละสังคมมีจำนวนจำกัดไปด้วยขณะเดียวกันทรัพย์ากรแต่ละชนิดยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง ดังนั้นสังคมจึงต้องตัดสินใจเลือกว่าควรจะผลิตสินค้าชนิดใดและไม่ควรผลิตสินค้าใด ในระยะสั้นสังคมสามารถทำได้เพียงพอใจในสิ่งที่เขาต้องการ ถ้าความต้องการของมนุษย์มีจำกัดขณะที่ทรัพย์ากร มีไม่จำกัดก็จะไม่เกิดการขาดแคลน วิชาเศรษฐศาสตร์จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

7) เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนแรงงานและความชำนาญของแรงงานเพิ่มสูงขึ้น มีการค้นพบทรัพย์ากรธรรมชาติและมีการคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ขึ้นมีผลทำให้ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่ความต้องการของมนุษย์ก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้ความขาดแคลนยังคงมีอยู่ ความขาดแคลนดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหาพื้นฐานของทุกระบบเศรษฐกิจ

1.2 ข้อมูลปัจจัยนำเข้าวัสดุอุปกรณ์วัตถุดิบแรงงานเงินทุนทรัพย์ากรต่างๆรวมไปถึงเวลาและสถานที่พื้นที่สีเขียว คำว่า “ทรัพย์ากรการผลิต” หมายถึง ปัจจัยการผลิต (factors of production or input) แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดิน (land) แรงงาน (labor) ทุน (capital) และผู้ประกอบการ (entrepreneur) มีรายละเอียดดังนี้

1) ที่ดิน (land) ได้แก่ ที่ดินรวมทั้งทรัพย์ากรธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีอยู่ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้นมาไม่ได้ ผลตอบแทนจากการใช้ที่ดินเรียกว่า ค่าเช่า (rent) โดยที่ดินเป็นการพิจารณาในฐานะที่อุตสาหกรรมต้องใช้ที่ดินให้เป็นแหล่งทำเลที่ตั้งทางอุตสาหกรรมที่เหมาะสม หรือการตั้งสถานประกอบการที่เหมาะสมในการจัดการต้นทุน ค่าขนส่งในการผลิตให้ต่ำที่สุด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

2) แรงงาน (labor) เป็นทรัพย์ากรมนุษย์ (human resource) ที่อยู่ในวัยทำงาน พิจารณาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งได้แก่ระดับการศึกษาและความรู้ในการประกอบอาชีพ สติปัญญา สุขภาพอนามัย ศีลธรรมและจริยธรรม ผลตอบแทนของการใช้แรงงานคือ ค่าจ้าง (wage) หรือค่าแรง โดยอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการจ้างแรงงานให้ตรงกับความต้องการ ซึ่งแรงงานในอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น     3 ลักษณะ คือ แรงงานที่มีฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ

3) ทุน (capital)  หรือสินค้าทุน (capital goods) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง (construction) และอุปกรณ์การผลิต (equipment) การลงทุน (investment) หมายถึงการจัดหาสินค้าทุน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การผลิตสินค้าและบริการในอนาคตเพิ่มขึ้น นักเศรษฐศาสตร์มองว่า เงินทุน (money capital) เป็นเพียงสื่อกลางในการจัดหาสินค้าทุนสินค้าทุนหรือสินทรัพย์ประเภททุนที่สะท้อนถึงกำลังการผลิตที่มีอยู่ในหน่วยผลิตหรือในระบบเศรษฐกิจที่เป็นจริงได้ดีกว่าจำนวนเงินทุน ดังนั้นสินค้าทุนจึงมีความสำคัญ    ในเชิงเศรษฐกิจมากกว่าเงินทุน แต่เนื่องจากไม่สามารถคำนวณยอดรวมสินค้าทุน เพราะสินค้าทุนแต่ละอย่าง   มีหน่วยนับไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงเลี่ยงไปใช้จำนวนเงินลงทุนแทน และใช้ผลตอบแทนของเงินทุน อันได้แก่ ดอกเบี้ย (interest) ในการวัดผลตอบแทนของปัจจัยทุน ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องอาศัยทุนในการผลิตอยู่ 2 ลักษณะ คือ เงินทุน (จำนวนเงินที่นำมาลงทุนในการทำกิจการ) และสินค้าทุน (เป็นสินค้าที่ต้องใช้เงินทุนในการจัดหามา เช่น เครื่องจักร เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เป็นต้น)

4) ผู้ประกอบการ (entrepreneur)  คือผู้ทำหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิต            3 ประเภท ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนของผู้ประกอบการเรียกว่า กำไร (profit) ปัจจัยการผลิตซึ่งเป็นผู้ประกอบการนี้มีความสำคัญที่สุดเนื่องจาก หากปราศจากผู้ประกอบการก็จะไม่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มหรือผลตอบแทนของทรัพย์ากรต่างๆ ที่มีได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามนิยามของหลักวิชาเศรษฐศาสตร์นั่นเอง ทั้งนี้ผู้ประกอบการทางอุตสาหกรรมคือผู้ที่ครองครองปัจจัยการผลิตที่จัดหามาได้แล้วนำมาผลิตตามเทคนิคการผลิตที่คิดค้นขึ้นหรือได้รับการถ่ายทอดกันมาอย่างเป็นระบบ การรักษาความลับทางการผลิต เพื่อสร้างอำนาจทางการแข่งขันหรือสร้างอุปสรรคทางการแข่งขัน โดยในมุมทางการจัดการผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่สร้างอุปสรรคทางการแข่งขันได้ต้องการผลิตสินค้าในสังคมนวสมัย     แต่เนื่องด้วยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตในระยะยาวนั้นผู้ประกอบการจะเผชิญกับการแข่งขันและ    มีกำไรปกติ ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องรักษามาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพและการรักษาเทคนิคการผลิตให้ได้ระยะเวลายาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับแก้ไขปัญหาพื้นฐานข้อมูลปัจจัยนำเข้า

2.1 ระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) หมายถึง กลุ่มชนที่รวมกันเป็นกลุ่มสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic System) ที่มีแนวปฏิบัติคล้ายๆ กัน มาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activity) เพื่อบำบัดความต้องการของผู้บริโภค แนวปฏิบัติที่คล้ายคลึง กันนี้จะเป็นกฎเกณฑ์และนโยบาย      ที่หน่วยเศรษฐกิจในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เราสามารถจำแนกระบบเศรษฐกิจออกได้เป็น 3 ระบบ คือ

2.1.1 ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน (Unplanned Economy) หรือบางแห่งเรียกว่าระบบเศรษฐกิจเอกชน (Private enterprise economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีอิสระในการดาเนินการผลิตและการบริโภค ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้ามาวางแผนกำหนดว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร กลไก-ราคาจะเป็นตัวกำหนดทั้งสิ้น ระบบเศรษฐกิจแบบนี้นิยมเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (capitalism) หรือระบบเศรษฐกิจแบบเสรี 

2.1.2 ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่ (Planned Economy) หรือบางแห่งเรียกระบบสังคมนิยมภาคบังคับ (Authoritarian socialism) เป็นระบบที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และเป็นผู้กาหนดว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 

2.1.3 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Semi-Planned Economy) หรือบางแห่งเรียกว่า Mixed Economy เป็นระบบที่รัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และแบ่งปันผลผลิตกันอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้าดาเนินการวางแผนในกิจกรรมเศรษฐกิจบางประการเท่านั้น โดยทั่วๆ ไปจะปล่อยให้เอกชนดาเนินการโดยการทางานของอาศัยกลไกราคา หรือกลไกตลาด

2.2 อธิบายการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

2.2.1 ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economic Problems)

เนื่องจากทรัพย์ากรมีอย่างจำนวนจำกัด ไม่พอที่จะบำบัดความต้องการทุกอย่างของทุกคนในสังคมได้ ดังนั้นทุกสังคมจึงต้องประสบกับปัญหาอย่างเดียวกัน คือ ผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร ซึ่งรวมเรียกว่าปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อนึ่ง คำว่า ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic economic problems) มักใช้เฉพาะกับปัญหา 3 ประการ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เพื่อให้แต่กต่างจากปัญหาเศรษฐกิจทั่วไป

1)  ปัญหาผลิตอะไร (what) เป็นปัญหาการตัดสินใจว่าอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการควรจะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร และควรจะผลิตเป็นจำนวนเท่าไร ปัญหานี้เกิดจากทรัพย์ากรการผลิตมีอย่างจำกัด จึงต้องเลือกผลิตเฉพาะที่จำเป็นระบบเศรษฐกิจจะไม่ต้องประสบกับปัญหานี้เลย หากปัจจัยการผลิตมีจำนวนมากเพียงพอที่จะนำไปผลิตสินค้าทุกชนิดและเป็นจำนวนมากตามความต้องการ    ที่ไม่จำกัดของคน

2) ปัญหาผลิตอย่างไร (how) เป็นการพิจารณาว่าสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการจะผลิตด้วยเทคนิคการผลิตแบบไหน และใช้ปัจจัยการผลิตอะไรบ้าง แต่ละชนิดใช้เป็นสัดส่วนเท่าไรจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหรือเสียต้นทุนต่ำที่สุด ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากในการผลิตแต่ละชนิดมีวิธีการผลิตหลายวิธี จึงต้องพิจารณาเลือกวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

3) ปัญหาผลิตเพื่อใคร (for whom) เป็นการพิจารณาว่าสินค้าและบริการที่อุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการผลิตได้จะจัดสรรให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดในสังคมด้วยวิธีการอย่างไร ระบบเศรษฐกิจแต่ละแบบจะมีวิธีการจัดสรรสินค้าและบริการแต่กต่างกัน ถ้าเป็นระบบเสรีนิยม ผู้มีรายได้และทรัพย์สินมากก็ได้รับ

2.2.2 ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กับการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Systems and Solutions)

การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มชนโดยทั่วไปถือเป็นระบบสังคมเศรษฐกิจ (Social economy) ในสังคมเศรษฐกิจมีการแบ่งงานตามความถนัดของแต่ละหน่วยการผลิตตามแนวคิดของ อดัม สมิท ที่ทุกหน่วยการผลิตจะต้องประสานงานกัน สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานเรียกว่าสถาบันทางเศรษฐกิจ (institutions) ซึ่งแสดงคุณลักษณะของสังคมเศรษฐกิจทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน โดยทั่วไป   การจำแนกระบบเศรษฐกิจอาจพิจารณาจากเกณฑ์สำคัญต่อไปนี้คือ (1) กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เป็นของส่วนบุคคลหรือส่วนรวม (2) การตัดสินใจในปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นของส่วนบุคคลหรือส่วนรวม และ (3) การจัดสรรทรัพย์ากรและผลผลิตผ่านกลไกตลาดหรือโดยการบังคับ ซึ่งระบบเศรษฐกิจเป็นมุมมอง ในด้านมหภาคของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ต้องพิจารณาร่วมกันกับการตัดสินในลงทุนในกิจการ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสถานการทางเศรษฐกิจที่เป็นไปได้ โดยปกติระบบเศรษฐกิจตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ มีดังนี้

2.2.2.1 ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)

ระบบเศรษฐกิจแบบนี้มีเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ระบบการประกอบการเสรี (Free Enterprise System) และระบบตลาด (Market System) ลักษณะสำคัญของระบบนี้มีดังนี้

1) มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ากร (ownership of resources) ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้ ครัวเรือนและอุตสาหกรรมเป็นหน่วยเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ผู้ที่เป็นเจ้าของมีเสรีภาพเต็มที่ในการจัดการกับปัจจัยการผลิตตามที่เห็นว่าเหมาะสม

2) เสรีภาพในธุรกิจ (freedom for enterprise) อุตสาหกรรมผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตมีเสรีภาพในการเลือกประกอบธุรกิจตามต้องการ ส่วนครัวเรือนก็มีเสรีภาพในการขายปัจจัยการผลิตที่เขาเป็นเจ้าของให้แก่อุตสาหกรรม 

3) กำไรเป็นเครื่องจูงใจ (profit motive) ผลตอบแทนจากการขายปัจจัยผลิตก็คือรายได้ การที่อุตสาหกรรมมีการนำปัจจัยผลิตมาใช้ประโยชน์ในการผลิตและพยายามหาเทคนิคการผลิตใหม่ ๆ มาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มกำไร ส่วนผู้บริโภคก็พยายามเปรียบเทียบราคาของสินค้ากับความพอใจของตนเองที่จะได้รับจากการบริโภคสินค้านั้นเปรียบเทียบราคาสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย และเลือกซื้อสินค้าที่จะนำความพอใจมาให้มากที่สุดด้วยการจ่ายในราคาต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

4) ระบบราคา (price system) ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีใช้ราคาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ราคากำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของสิ่งนั้นในตลาด ถ้าจำนวนซื้อและจำนวนขายเท่ากันพอดี ราคาก็จะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากจำนวนซื้อและจำนวนขายไม่เท่ากัน ราคาจะเคลื่อนไหวทันที ราคาจะสูงขึ้นถ้าจำนวนซื้อมีมากกว่าจำนวนขาย และราคาจะลดลงถ้าจำนวนซื้อมีน้อยกว่าจำนวนขาย ซึ่งอุตสาหกรรมต้องพิจารณาเรื่องการกำหนดราคานี้เป็นเรื่องที่สำคัญในโครงสร้างราคาในระบบเศรษฐกิจ

2.2.2.2 ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง (Centralized Planning Economy)

ลักษณะสำคัญของระบบนี้คือส่วนร่วม หรืออีกนัยหนึ่งรัฐเป็นเจ้าของทรัพย์ากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยผลิตเกือบทุกอย่างแม้กระทั่งแรงงาน กล่าวคือบุคคลไม่มีสิทธิแม้แต่การใช้แรงงานของตนในการเลือกประกอบอาชีพและถิ่นที่อยู่ตามความพอใจ กลไกราคาไม่มีบทบาทแต่อย่างใด การตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจดำเนินไปตามแผนที่วางไว้  แผนคือข้อกำหนดที่ระบุถึงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ นับตั้งแต่การจัดสรรทรัพย์ากร การลงทุนการผลิต จนถึงการแจกแจงผลผลิตไปสู่มือผู้บริโภค  แผนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจแทนหน่วยเศรษฐกิจทั้งหลาย

2.2.2.3 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบนี้มีลักษณะทุนนิยมผสมกับแบบวางแผน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและเอกชน กลไกราคามีบทบาทในการจัดสรรทรัพย์ากรและการแจกแจงผลผลิต แต่ถ้าเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแข่งขันสมบูรณ์แล้ว กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมีบทบาทน้อยกว่า เนื่องจากในระบบเศรษฐกิจแบบผสมมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของหลายฝ่าย เช่น สหภาพแรงงาน สมาคมการค้าและธุรกิจ กลุ่มเหล่านี้สามารถสร้างอิทธิพลและอำนาจการผู้กขาดบางส่วน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจต่างๆ เช่น การกำหนดสินค้าที่ผลิต การลงทุน การจัดสรรทรัพย์ากร ค่าตอบแทนหรือรายได้

3. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับเขียนเนื้อหารายงานข้อมูลปัจจัยนำเข้า

เขียนเนื้อหารายงานประเมินบริบทข้อมูลปัจจัยนำเข้าและจัดทำรายงานข้อมูลปัจจัยนำเข้าเป็นสิ่งที่กำหนดการดำเนินการด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวอาจกล่าวได้ว่าการเขียนเนื้อหารายงานมีความสำคัญในการดำเนินการทางเศรษฐศาสตร์ในการเขียนที่สำคัญควรเขียนจากความเป็นจริง ขั้นตอนการเขียนเนื้อหารายงาน

3.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานของธุรกิจ 

เป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของธุรกิจ ทางเศรษฐศาสตร์ ขอบเขตของเจริญเติบโตทางธุรกิจ  แสดงขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ประกอบการจะต้องรู้สถานะของธุรกิจ  กล่าวคือธุรกิจเราทำอะไร  มีจุดมุ่งหมายอย่างไร  มีการกำหนดระยะเวลาสู่ความสำเร็จ  ชัดเจน  

3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลประเมินสถานการณ์ของธุรกิจ 

การเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินบริบทข้อมูลปัจจัยนำเข้าและจัดทำรายงานข้อมูลปัจจัยนำเข้าหรือเรียกว่าการทำวิจัยตลาดเป็นขั้นตอนสำหรับการหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวโดยการสำรวจสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า โดยคิดออกมาก่อนเขียนรายงาน เพราะขั้นตอนแต่ละขั้นนั้นมีความสำคัญและสลับซับซ้อนมีความละเอียดอ่อน จะต้องเขียนอย่างตรงไปตรงมา วิธีง่ายๆ เขียนสรุปไว้ก่อนที่จะเรียบเรียงร้อยถ้อยคำก่อนจัดพิมพ์

3.3 ประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ของธุรกิจ สภาวะการแข่งขันในสภาพปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต

3.3.1 สำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของบริบทข้อมูลปัจจัยนำเข้าและจัดทำรายงานข้อมูลปัจจัยนำเข้า

3.3.1.1 สภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจเป็นต้นว่ามีการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านกฎระเบียบกฎหมาย  ที่เอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดอุปสรรคกับธุรกิจ ค่านิยม พฤติกรรม ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความสนใจสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจกำลังจะทำหรือไม่ หรือมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว การผลิตเพื่อขาย การบริการมีผลอย่างมากเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ                                              

3.3.1.2 ขนาดตลาด สำรวจธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว สังเกตการเจริญเติบโตของตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่ก่อน เป็นการสะท้อนจำนวนคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน  อีกทั้งการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรของคู่แข่งขัน เพราะถ้าหากมีการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรสูงแสดงว่าผู้ประกอบการ จะอยู่ในธุรกิจนั้นเป็นเวลานาน     

3.3.1.3 พิจารณาปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key  Success  Factor) พิจารณาและวินิจฉัยว่าอะไรคือส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวประสบความสำเร็จ  

3.3.2 สำรวจและค้นหาความต้องการของตลาดอาจกล่าวได้คือเป็นการทำวิจัยตลาดหรือการเขียนรายงานนั่นเอง การวิจัยนั้นเป็นการสำรวจและค้นหาความต้องการ รสนิยม ทัศนคติ  ค่านิยม ของลูกค้าปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตของลูกค้า ตลอดจนเป็นการหาแนวทางของเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวจะสามารถเจาะตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้าได้ ดังนั้น จึงต้องมีหลักการเขียนที่ดีและสิ่งสำคัญควรมีเทคนิคการเขียนเนื้อหารายงานอย่างมีหลักการ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจัดการปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ 

2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. แฟ้มสะสมผลงาน

3. การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ 

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการวางแผนการจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต การคัดเลือกปัจจัยการผลิตจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ การประเมินผลิตภาพจากการใช้ปัจจัย การผลิต การประเมินประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการผลิต และการส่งมอบปัจจัยการผลิต

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ทรัพย์ากรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ที่ดินจะรวมไปถึงปุ๋ยในดิน สภาพภูมิอากาศ ป่าไม้ แร่ธาตุ ตลอดจนทรัพย์ากรธรรมชาติต่างๆ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รับผลตอบแทนในรูป ค่าเช่า แรงงาน จะรวมไปถึงความสามารถของมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการผลิตสินค้าและบริการ แรงงานแบ่งอาจออกเป็น 3 ประเภท คือ แรงงานมีทักษะ แรงงานกึ่งทักษะ และแรงงานไร้ทักษะ แรงงานที่ทำงานจะได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทน ทุนหมายถึง เครื่องมือ เครื่องจักร โรงงาน สิ่งประดิษฐ์ เส้นทางคมนาคมขนส่ง ชลประทาน ตลอดจนเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ เงินมิใช่ทุน เนื่องจากเงิน    ไม่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดได้เลย เงินเป็นเพียงสื่อกลางที่จะก่อให้เกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเท่านั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย ผู้ประกอบการ หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดหาทุน รับการเสี่ยงภัย ทำหน้าที่ตัดสินใจและรับผลตอบแทนในรูปของกำไรหรือขาดทุนจากการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังคำอธิบายในหัวข้อทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ข) ความต้องการด้านความรู้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

18.2 แฟ้มสะสมผลงาน

18.3 การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ