หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เจรจาต่อรองในงานด้านกฎหมายพื้นที่สีเขียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-WPKP-072A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เจรจาต่อรองในงานด้านกฎหมายพื้นที่สีเขียว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านกฎหมายการจัดการพื้นที่สีเขียว ระดับ 4

ISCO-08 รหัสอาชีพ 2619 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นบุคคลผู้ที่มีสามารถในการจัดการเจรจาต่อรองงานด้านกฎหมายพื้นที่สีเขียวได้ มีทักษะในการเจรจาต่อรอง มีความเข้าใจและมีความรู้จักคู่เจรจาอีกสองฝ่ายหรือมากกว่าสองฝ่าย สามารถจูงใจคู่เจรจา เสนอทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา หาข้อสรุปและแนวทางในการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยจัดการได้เป็นไปตามความประสงค์และประโยชน์ของทุกฝ่าย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01151 วางแผนงานเจรจาต่อรอง 1.1 อธิบายคุณลักษณะของผู้เจรจาต่อรอง 155135
01151 วางแผนงานเจรจาต่อรอง 1.2 ระบุขั้นตอนการเจรจาต่อรอง 155136
01151 วางแผนงานเจรจาต่อรอง 1.3 ประยุกต์ใช้ขั้นตอนของกระบวนการเจรจาต่อรอง นำมาวางแผนงานเจรจาต่อรอง 155137
01152 เจรจาต่อรองกับคู่สัญญา 2.1 ระบุแนวปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนการเจรจาต่อรอง 155138
01152 เจรจาต่อรองกับคู่สัญญา 2.2 ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะแก่คู่สัญญา 155139
01152 เจรจาต่อรองกับคู่สัญญา 2.3 เสนอแนะข้อแนะนำแก่คู่สัญญา 155140
01153 จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน 3.1 จำแนกเนื้อหาสาระที่จำเป็นต้องรายงานในรายงานผลการปฏิบัติงานเจรจาต่อรองได้ 155141
01153 จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน 3.2 ประยุกต์ใช้รายงานการปฏิบัติงานนำมาจัดทำรายงานผลการเจรจาต่อรอง 155142

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางกฎหมาย

2. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมาย

3. ความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร และการเจรจาต่อรอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คุณลักษณะของการเป็นคนกลางเพื่อเป็นผู้เจรจาต่อรอง

2. ขั้นตอนของกระบวนการเจรจาต่อรอง

3. ความหมายของการเจรจาต่อรอง 

4. การปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการเจรจาต่อรอง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน โดยมีประสบการณการทำงานในด้านกฎหมายพื้นที่สีเขียว กฎหมายสิ่งแวดล้อมหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี หรือ

2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับกฎหมายพื้นที่สีเขียว กฎหมายสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้และทักษะ และขอบเขตสาระสำคัญของกฎหมายพื้นที่สีเขียว กฎหมายสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ

2. ผู้เข้ารับการประเมินรู้วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง    

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบประเมินความรู้    

2. การประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เจรจาต่อรอง เจรจาไกล่เกลี่ยควรมีทักษะด้านการเจรจา และมีความรู้เกี่ยวกับคู่เจรจา หรือรู้จักคู่เจรจาอีกสองฝ่าย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. คุณลักษณะของการเป็นคนกลางเพื่อเป็นผู้เจรจาต่อรอง

1) เป็นที่ยอมรับของคู่กรณีหรือคู่เจรจา

2) รู้จักและเข้าใจกระบวนการการดำเนินไปของความขัดแย้ง

3) สามารถกำกับกระบวนการให้ดำเนินไปโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ในเรื่องที่ขัดแย้งกัน

4)  มีความชำนาญในทักษะการสื่อสาร ทั้งการพูด การฟัง และการซักถาม

5)  มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง

6)  มีความเป็นกลางและมีความยุติธรรม

7)  มีความอดทน อดกลั้น

2.  ขั้นตอนของกระบวนการเจรจาต่อรอง

1) ขั้นเตรียมการและวางแผน

2) ขั้นกำหนดกฎกติกาพื้นฐาน

3) ขั้นทำความชัดเจนและหาเหตุผลสนับสนุน

4) ขั้นการต่อรองและแก้ปัญหา

5) ขั้นจบการเจรจาและนำสู่การปฏิบัติ

(Robbins, 2001)

3. ความหมายของการเจรจาต่อรอง หมายถึง กระบวนการที่บุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อเสนอในเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างมีประโยชน์ได้เสีย แล้วต่างฝ่ายต่างพยายามลดหย่อนผ่อนปรนเงื่อนไขข้อเรียกร้องระหว่างกัน เพื่อแสวงหาข้อยุติ ที่ทุกฝ่ายตกลงยอมรับกันได้โดยใช้การโน้มน้าว ประนีประนอม ในลักษณะต่างตอบแทนกัน เป็นวิถีทางไปสู่ความตกลง โดยไม่ใช้พละกำลังรุนแรงเข้าบังคับกัน (สันทัด ศะศิวณิช, 2551)

4. การปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการเจรจาต่อรอง

1) ขั้นเตรียมการและวางแผน

1.1) ศึกษาถึงลักษณะของข้อขัดแย้งที่จะเข้าเจรจา ที่มา ผู้เกี่ยวข้อง การรับรู้       ข้อขัดแย้งนี้ของผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร 

1.2) ศึกษาว่าใครเป็นผู้ต้องการผลการเจรจาในครั้งนี้ และต้องการอะไร 

1.3) ศึกษาถึงเป้าหมายของการเจรจา โดยต้องระบุเป้าหมายผลลัพธ์ไว้ เริ่มแต่ระดับสูงสุดที่ต้องการ และระดับต่ำสุดที่สามารถรับได้ 

1.4) กำหนดกลยุทธ์ในการเจรจาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเจรจา โดยคำนึงถึง ทางเลือกที่ดีที่สุดที่เป็นข้อตกลงของการเจรจาต่อรอง

2) ขั้นกำหนดกฎกติกาพื้นฐาน

หารือกับคู่เจรจาทั้งสองฝ่าย เพื่อร่วมกำหนดกติกาพื้นฐานและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา ได้แก่ ใครเป็นผู้เจรจา เจรจาที่ไหน ข้อจำกัดเรื่องเวลา และข้อจำกัดอื่นที่เกี่ยวข้อง     

3) ขั้นทำความชัดเจนและหาเหตุผลสนับสนุน

3.1) ให้ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนข้อเสนอเบื้องต้น

3.2) เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่าย อธิบาย ขยายความ หาเหตุผลสนับสนุนข้อเสนอของตน เพื่อหาความชัดเจนให้ได้มากที่สุด ในขั้นตอนนี้ อาจไม่จำเป็นต้องให้คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน

3.3) นำข้อเสนอที่มีความชัดเจน ส่งให้แต่ละฝ่ายพิจารณาซึ่งกันและกัน

4) ขั้นการต่อรองและแก้ปัญหาขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่ผู้เจรจาต่อรองควรโน้มน้าวให้คู่เจรจาคำนึงถึงการให้และการรับของทั้งสองฝ่ายและโอนอ่อนผ่อนปรนซึ่งกันและกัน

5) ขั้นจบการเจรจาและนำสู่การปฏิบัติซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของการเจรจาต่อรอง และได้ข้อตกลงอย่างเป็นทางการ นำไปสู่การจัดทำรายละเอียดตามข้อตกลงนั้น

5. รูปแบบการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน และองค์ประกอบของรูปแบบรายงานการปฏิบัติงาน

รูปแบบการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน แบ่งได้เป็น

1) รายงานขนาดสั้น 

2) รายงานขนาดยาวแบบเป็นทางการ

6. องค์ประกอบของรูปแบบรายงานการปฏิบัติงาน

1) องค์ประกอบของรูปแบบรายงานขนาดสั้นไม่เป็นทางการ ประกอบด้วย

1.1) ตอนต้นหรือส่วนหน้า  :  กล่าวถึงวัตถุประสงค์หรือสาเหตุที่ต้องทำ

1.2) ส่วนเนื้อหา  :  กล่าวถึงงานที่ได้ทำโดยสรุปเป็นประเด็นให้ถูกต้อง

1.3) ตอนท้ายหรือตอนสรุป  : กล่าวสรุปผลของการรายงาน  อาจมีข้อเสนอแนะข้อคิด หรือแนวทางการแก้ปัญหา

2) องค์ประกอบของรูปแบบรายงานขนาดยาวแบบเป็นทางการ

2.1) หนังสือนำส่งรายงาน:  แต่ละหน่วยงานจะกำหนดรูปแบบของหนังสือนำส่งรายงานเอง โดยมีเนื้อหาสรุปย่อรายงาน  และหรือให้ข้อเสนอแนะ

2.2) ส่วนต้นของรายงาน: ประกอบด้วย

ปกนอกและปกใน จะแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน จากบนลงล่าง ข้อความบนหน้าปกจะประกอบด้วยชื่อเรื่อง จัดไว้กึ่งกลางชื่อ - สกุล และตำแหน่งผู้รายงาน ระบุว่าเป็นรายงานที่ใครนำเสนอหน่วยงาน และวัน เดือน ปี ที่รายงานคำนำ สารบัญ 

2.3) ส่วนเนื้อหา:  ประกอบด้วย

ส่วนนำ : เป็นการบอกให้ทราบถึงสาเหตุการทำรายงาน ตลอดจนความเป็นมา วัตถุประสงค์ รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เนื้อเรื่อง : มีหลายบทตามประเด็นที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง บทวิเคราะห์ ภาพประกอบ ตาราง

บทสรุปและข้อเสนอแนะ:  เป็นการสรุปประเด็นของรายงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา

2.4) ส่วนท้าย: ประกอบด้วยบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง และภาคผนวก

การเจรจาต่อรอง (Negotiation) หมายถึง กระบวนการของบุคคลที่ต้องการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีเพื่อให้เกิดการประนีประนอม พยายามหาข้อตกลงที่ยอมรับได้ของคู่สนทนาทั้ง2 ฝ่าย โดยมีการเสนอข้อแลกเปลี่ยน ซึ่งนำผลประโยชน์มาให้ทั้ง2 ฝ่าย (win-win) และรู้สึกดีเห็นพ้องกันทั้ง 2 ฝ่าย  

คุณลักษณะของผู้ประนีประนอมเชิงพุทธบูรณาการ 

แนวคิดคุณลักษณะของผู้ประนีประนอมในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 

1) เป็นผู้ฟังที่ดี  2) มีศิลปะในการพูด 3) ใฝ่ศึกษาพัฒนาตนเอง 4) จดจำแม่นยำ 5) ทำความเห็นได้ถูกต้อง 6) อธิบายชัดแจ้ง 7) ฉลาดในสถานการณ์ และ 8) ประสานสัมพันธ์สามัคคี คุณลักษณะเด่นเหล่านี้ประกอบด้วยหลักธรรมที่เกื้อหนุน ซึ่งครอบคลุมแนวคิดคุณลักษณะของนักสันติวิธีต่างๆ รวมทั้งในแง่ของกฎหมายด้วย

ขั้นตอนก่อนการเจรจา การเจรจาเป็นกิจกรรมทางความคิด และเป็นการแข่งขัน ความสามารถทางปัญญา จุดมุ่งหมายสำคัญของการเจรจาคือการ เกลี้ยกล่อมให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความเข้าใจ อนุญาต และยอมรับ ความคิดเห็นของตน และปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายตนไว้การ ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีเงื่อนไข ดังนี้ ต้องใช้ข้อมูลมาก ชัดเจน และถูกต้องเพียงพอ ใน อุตสาหกรรมระดับตลาดโลก และระดับประเทศ เป็นการสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรอง แสดงถึงความใส่ใจในการเจรจา และ การเข้าใจข้อมูล การสรุปข้อมูล เพื่อนำไปประกอบการนำเสนอ เพื่อการเจรจาต่อรองต่อไป ต้องศึกษาคู่เจรจา คู่แข่งของคู่เจรจา คู่แข่งของคู่แข่ง และต้องวิเคราะห์ว่าเราจะพูดกับใคร สื่อสารกับใคร เจรจากับใคร ประเมินคู่เจรจาว่าเป็นคนอย่างไร และพยายามคาดเดาข้อเสนอ

ขั้นตอนการเจรจา แบ่งได้ 3 ช่วง คือ 1 ช่วงก่อนการเจรจา คือ ศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลให้มาก ซึ่งต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานเอกสารข้อมูลประกอบ อ้างอิงความถูกต้อง เพื่อทำความเข้าทั้งตัวผู้เจรจาและคู่เจรจา ศึกษาคู่เจรจาและเลือกผู้เจรจาที่เหมาะสม การกำหนดหน้าที่ และบทบาทของทีมเจรจาเพื่อให้เกิดความเหมาะสม การทำความเข้าใจวัฒนธรรมของคู่เจรจา 2 ช่วงระหว่างการเจรจา คือ พูดให้ถูกกาลเทศะ และสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมแก่การเจรจา ถ้าเป็นครั้งแรกที่เจรจา ควรสร้างความประทับใจ ตรงต่อเวลา เพราะสื่อถึงเจตนาและ ความน่าเชื่อถือของการเจรจาได้เป็นอย่างดี ในขั้นตอนนี้การเสนอข้อมูลต้องชัดเจน แม่นยำ และตรงประเด็น และควรสื่อสารกันไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เอนเอียงเข้าข้างตนเองเพียงฝ่ายเดียว และในขั้นตอนของการเจรจาผู้เจรจาควรจะมีทักษะในการโน้มน้าว หรือจูงใจ มีเทคนิคในการตอบ คำถาม ควรคิดให้รอบคอบก่อนตอบคำถามทุกครั้ง และวิธีที่ดีที่สุดคือ พยายามคาดเดา สถานการณ์ล่วงหน้าและหาวิธีรับมือไว้ก่อน เพื่อช่วยในการตอบคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและตั้งคำถามเกิดจากการมีเทคนิคในการฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี จุดมุ่งหมายของการถามคือ เป็น คำถามที่เป็นการคาดโน้มน้าวการเคลื่อนไหวของคู่เจรจา ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับผู้เจรจา 3 ช่วงการปิดการเจรจา เป็นช่วงของการสรุปข้อตกลง กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามข้อตกลงกัน เพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงอันเป็นการรักษาคำพูดหรือข้อตกลงกัน และสร้างความน่าเชื่อถือได้ในการเจรจาเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ทั้ง 2 ฝ่าย มีการติดตามผลประเมินผลหรือแก้ไขข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกัน

ข้อพิจารณาเบื้องต้นในการเข้าทำสัญญาทางธุรกิจ 1.จัดเตรียมคณะเจรจาและร่างสัญญา 2.ตรวจสอบสถานภาพของคู่สัญญา 3.ความสามารถในการเข้าทำสัญญา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21-34 ส่วนที่ 2 ความสามารถ

มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจาก ความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น 

มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่ อันใดอันหนึ่ง 

มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว 

มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร 

มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์ 

มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่าย ทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สิน นั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่งถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร 

มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญา เป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล ให้สั่งอนุญาตได้

ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจ หรือการจ้างแรงงานตาม วรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว

ถ้าการประกอบธุรกิจ หรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือ ที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือ เสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอม ที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรม อาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้

ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุ อันสมควรผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล ให้เพิกถอนการบอกเลิกความ ยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้

การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรม หรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต 

มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดีผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้น อยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริต ผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคน ไร้ความสามารถก็ได้

บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลและการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้

คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

มาตรา 29 การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลงไป การนั้นเป็นโมฆียะ 

มาตรา 30 การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถได้กระทำลงไปการนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้ กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้ว ด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต 

มาตรา 31 ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว และเมื่อบุคคลผู้นั้นเองหรือบุคคล ใดๆ ดังกล่าวมาใน มาตรา 28 ร้องขอต่อศาลก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น

คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 32 บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมี เหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดย ตนเองได้หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของ ตนเองหรือครอบครัว เมื่อบุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 28 ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้

บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ การแต่งตั้งผู้พิทักษ์ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายนี้

ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสิ้นสุดของความเป็นผู้ปกครองใน บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของการ เป็นผู้พิทักษ์โดยอนุโลม

คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

มาตรา 33 ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ ความสามารถเพราะวิกลจริต ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้น ไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือ เมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 28 ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ หรือในคดีที่มี การร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถเพราะ มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้น วิกลจริต เมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 28 ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ 

มาตรา 34 คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอม ของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(1) นำทรัพย์สินไปลงทุน

(2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น

(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า

(4) รับประกันโดยประการใด ๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับ ชำระหนี้

(5) เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า หกเดือนหรืออสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าสามปี

(6) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อ การกุศลการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

(7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือ ไม่รับการให้โดยเสน่หา

(8) ทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิ ในอสังหาริมทรัพย์หรือในสังหาริมทรัพย์อันมีค่า

(9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือ ซ่อมแซมอย่างใหญ่

(10) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ เว้นแต่ การร้องขอตาม มาตรา 35 หรือการร้องขอถอนผู้พิทักษ์

(11) ประนีประนอมยอมความ หรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ถ้ามีกรณีอื่นใดนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่งซึ่งคนเสมือนไร้ความสามารถอาจจัดการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือ ครอบครัวในการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือ เมื่อผู้พิทักษ์ร้องขอในภายหลังศาลมีอำนาจสั่งให้คนเสมือนไร้ความ สามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะทำการนั้นได้

ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่ง อย่างใดที่กล่าวมาในวรรค 1 หรือวรรค 2 ได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุ มีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม

คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การใดกระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักทั่วไปในการทำนิติกรรมไว้ว่านิติกรรมใดที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลเป็นโมฆะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 "การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ" มาตรา 151 "การใดเป็นการแต่กต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ"

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรค 1 บัญญัติไว้ว่า การแสดงเจตนาลวง โดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้กระทำโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ การถูกกลฉ้อฉลที่เป็นโมฆียะ ตามวรรค หนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะ นั้นคงจะมิได้ กระทำขึ้น

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้ให้อำนาจคณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้มีบริการใด ๆ เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและให้ผู้ประกอบธุรกิจทำสัญญาตามแบบดังกล่าว ธุรกิจบัตรเครดิต เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2543  ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา มีผลบังคับใช้ 1 กันยายน 2543ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา มีผลบังคับใช้ 15 กันยายน 2543 

ลักษณะสำคัญของการเจรจา 1. เป็นวิธีระงับข้อพิพาทที่ดีที่สุด 2. เป็นความสมัครใจของผู้พิพาท 3. คู่พิพาทเป็นผู้กำหนดวิธีระงับข้อพิพาท 4. เป็นการต่อรองผลประโยชน์ 

สาเหตุที่ทำให้การเจรจาต่อรองจึงไม่ประสบผลสำเร็จ 1. ไม่มีการศึกษาคู่เจรจาต่อรองทำให้เกิดข้อขัดแย้งได้ง่าย 2. ข้อตกลงระหว่างสองฝ่ายไม่เป็นที่น่าพอใจ 3. ผลประโยชน์ที่ได้รับไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง สองฝ่าย

การจัดการเพื่อให้เกิดความร่วมมือจัดการกับอารมณ์ของตนอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของ การเจรจานั้น อยู่ที่อารมณ์ของผู้เจรจาเอง ดังนั้น ผู้เจรจาจึงควร จัดการกับอารมณ์ของตนเองให้เรียบร้อย คือทำใจให้สงบทั้งก่อนการเจรจาและระหว่างการเจรจาต่อรอง จัดการกับอารมณ์ของคู่เจรจา อุปสรรคหลักอีก ประการคือ อารมณ์ของคู่กรณีซึ่งอาจกำลังโมโห หรือมีกำแพง ความรู้สึก ขวางกั้น เช่น มีความระแวง ไม่ไว้ใจ กลัว หรืออคติ ทั้งนี้ผู้เจรจาจำเป็นต้องใช้ความเป็นมิตร เพื่อทำลายกำแพงความ รู้สึกอคติ จัดการกับการถกเถียง ยืนกราน หรือเผชิญหน้ามา เป็นการร่วมมือ เมื่อความรู้สึกทั้งของเราและของคู่เจรจาสงบลง ก็ มีโอกาสที่จะเปิดรับกันหรือโน้มเข้าหากันได้มากขึ้นซึ่งเป็นโอกาส ที่ทำให้เราสามารถเปลี่ยนบรรยากาศในการเจรจาให้มาเป็นการร่วมมือ และแสวงหาทางออกที่ทุกฝ่ายพึงพอใจโดยใช้วิธีการต่างๆ ทักษะการเจรจามีความสัมพันธ์กับทัศนคติในใจเรา ถึงจะมีทักษะดีพูดจาคล่องแคล่ว โน้มน้าวใจคนเก่ง แต่ถ้ามี ทัศนคติที่เอาตัวเป็นใหญ่ หรือคิดจะเอาชนะย่อมยากที่จะทำให้การเจรจาประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน โดยอาจจะชักจูงคนให้ยินยอมได้เป็นครั้งคราว แต่ก็ไม่สามารถทำได้ตลอดไป ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการเจรจาต่อรอง ประกอบด้วย การโน้มน้าวใจ หรือการจูงใจ การฟัง อวัจนภาษา เทคนิคการตอบ เทคนิคการถาม

อวัจนภาษา เนื้อหาจากการพูดมีอิทธิพลกับผู้ฟังเพียง 7% เท่านั้น ทว่าการสื่อสารด้วยอวัจนภาษากลับมีผลต่อการพูดถึง 93%โดยเฉพาะ การแสดงออกทางสีหน้าที่มีผลมากกว่า 55% ที่เหลือเป็นอากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง ท่วงท่าทำนองในการพูด จากการที่นักนิเทศศาสตร์ได้ยอมรับในความสำคัญของ ภาษาในการสื่อสารแล้ว ต่อมาเมื่อการสื่อสารพัฒนามากขึ้น จึงมี ผู้วิเคราะห์สารหรือตัวภาษาว่าควรจะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ เรียกว่า วัจนภาษา (Verbal Language) หมายถึงภาษาพูด ภาษาเขียน คำพูด หรือตัวอักษรที่กำหนดตกลงใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียงและลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำจึงเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมี ระบบมีหลักเกณฑ์ทางภาษาหรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคมนั้นต้อง เรียนรู้ที่จะเข้าใจและใช้ภาษาในการสื่อสาร ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำเรียกว่า อวัจนภาษา (Nonverbal Language) หมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด การอ่าน การ เขียน แต่ใช้สิ่งอื่นในการสื่อสารแทน เช่น สัญลักษณ์รหัสแต่เป็นที่เข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เป็นการแสดงออกทาง สีหน้าหรือท่าทางน้ำเสียงบุคลิกภาพการแต่งตัว สัญลักษณ์หรือ รหัสที่มิใช่ตัวอักษรหรือคำพูด แต่เป็นที่เข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่ง สารและผู้รับสารที่เรียกว่า ภาษาเงียบ ภาษาท่าทาง หรือกายภาษา เป็นต้น

เทคนิคการตอบคำถามที่ดีต้องคิดอย่างรอบคอบก่อน หากไม่เข้าใจคำถามอย่างถ่องแท้ไม่ควรตอบตามใจชอบโดยเด็ดขาด มี วิธีหลีกเลี่ยงการตอบคำถามที่ไม่อยากตอบ คือ “ตอบในสิ่งที่ไม่ ได้ถาม” บางครั้งอาจใช้ข้ออ้างว่า “จำไม่ได้” หรือ “มีข้อมูลไม่ เพียงพอ” เพื่อถ่วงเวลาในการตอบ อย่าปล่อยให้คู่เจรจาเป็นฝ่ายหาคำตอบที่ต้องการเอง วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหานี้คือ พยายามคาดเดา สถานการณ์ต่างๆ ล่วงหน้าและหาวิธีรับมือไว้ก่อนนอกจากนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถตอบคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กล้าปฏิเสธ และเรียกร้องบ้าง ถ้าคุณไม่กล้าปฏิเสธ คุณจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที ดังนั้นคุณต้องกล้าปฏิเสธ กล้าบอกว่าขอคิดดูก่อน และกล้าเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการด้วย เมื่อคุณยังไม่พึงพอใจในการเจรจาก็ยังไม่จำเป็น ต้องรีบตกลง หากเจรจาไม่สำเร็จ ต้องกล้าที่จะถอย หากรู้แน่ชัดว่า เขาไม่ตกลงกับคุณแน่แล้ว ต้องกล้าพอที่จะยกเลิก การเจรจานั้นทันที ให้โอกาสอีกฝ่ายได้พักหายใจสักระยะ แล้วค่อยติดต่อเข้าไปใหม่ โดยไม่กระชั้นเกินไป และไม่ห่างหายนานเกินไปจนอีกฝ่ายจำข้อมูลที่คุยกันไม่ได้ 

รูปแบบการเจรจาต่อรอง แบบหารสอง แบบเสริมประโยชน์ และแบบผสมผสาน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ สำหรับการเจรจาไกล่เกลี่ยในประเทศไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี เช่น การไกล่เกลี่ยในชุมชนหรืออำเภอ และการเจรจาไกล่เกลี่ยเมื่อฟ้องคดีในศาลแล้ว ก็ตาม โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด กระบวนการ ข้อดีและ ข้อเสียของแต่ละรูปแบบอย่างถ่องแท้ เพื่อนำไปปรับใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมตาม สถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบแบบอัตนัย

18.2 แฟ้มสะสมผลงาน

18.3 การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ