หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการให้บริการทางจิตวิทยาให้ตรงกับความต้องการ/ปัญหาของผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MFGR-468A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการให้บริการทางจิตวิทยาให้ตรงกับความต้องการ/ปัญหาของผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ประสานงานการให้บริการเชิงจิตวิทยา


1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการการให้บริการทางจิตวิทยาให้ตรงกับความต้องการ/ปัญหาของผู้รับบริการ ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดทำทะเบียนประวัติ จัดระบบการนัดหมาย นัดหมายนักจิตวิทยาและผู้เกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้รับบริการ และต้องปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ รวมถึงการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10901.1

รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้บริการ

1. สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินชีวิต ความสนใจ และประเด็นปัญหาของผู้มารับบริการ

10901.1.01 155083
10901.1

รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้บริการ

2. บันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติในแบบฟอร์มที่กำหนดไว้

10901.1.02 155084
10901.2

วิเคราะห์ปัญหาของผู้มารับบริการ

1. สังเกตอากัปกิริยาที่เบี่ยงเบนไปจากปกติ (เช่น พูดวนไปวนมา ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้)

10901.2.01 155085
10901.2

วิเคราะห์ปัญหาของผู้มารับบริการ

2. สังเกตพฤติกรรมเบื้องต้นโดยใช้การสัมภาษณ์ผู้รับบริการ

10901.2.02 155086
10901.2

วิเคราะห์ปัญหาของผู้มารับบริการ

3. ประเมินระดับของปัญหา/ ความจำเป็นเร่งด่วนในการเข้ารับบริการของผู้มารับบริการ

10901.2.03 155087
10901.3

จัดระบบการนัดหมายของนักจิตวิทยาและผู้เกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้รับบริการ

1. ตรวจสอบข้อมูลจากทะเบียนประวัติและประวัติการเข้ารับบริการทางจิตวิทยาอื่น ๆ ในอดีต 10901.3.01 155860
10901.3

จัดระบบการนัดหมายของนักจิตวิทยาและผู้เกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้รับบริการ

2. รายงานข้อมูลทะเบียนประวัติและประเด็นปัญหาของผู้มารับบริการได้อย่างชัดเจน

10901.3.02 155861
10901.3

จัดระบบการนัดหมายของนักจิตวิทยาและผู้เกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้รับบริการ

3. จัดตารางนัดหมายการให้บริการ

10901.3.03 155862
10901.3

จัดระบบการนัดหมายของนักจิตวิทยาและผู้เกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้รับบริการ

4. ประสานงานการเปลี่ยนแปลงตารางนัดหมาย

10901.3.04 155863

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาเบื้องต้น

  • ทักษะในการประเมินสภาพจิตใจของผู้รับบริการเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้ด้านการปฐมพยาบาลทางจิตวิทยา (Psychological First Aid) เบื้องต้น

  • ความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงทางจิตวิทยา และการดูแลเบื้องต้น

  • ความรู้ด้านการสัมภาษณ์และการให้คำปรึกษาเบื้องต้น

  • ความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกการอบรม การปฐมพยาบาลทางจิตวิทยา (Psychological First Aid) เบื้องต้น

  • แบบบันทึกการอบรม การประเมินความเสี่ยงทางจิตวิทยา และการดูแลเบื้องต้น (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกการอบรม การสัมภาษณ์และการให้คำปรึกษาเบื้องต้น (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกการอบรม หลักสูตรคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะต่างๆ โดยพิจารณาจากหลักฐานความรู้ รวมทั้งมีประกาศนียบัตรรับรองการอบรมด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรัฐ



วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการจัดการให้บริการทางจิตวิทยาให้ตรงกับความต้องการ/ปัญหาของผู้รับบริการครอบคลุมถึงการจัดทำทะเบียนประวัติ รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของผู้มาใช้บริการ สามารถซักถามความต้องการหรือปัญหาเบื้องต้น และบันทึกข้อมูลได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง จัดระบบการนัดหมาย รวมทั้งทำหน้าที่นัดหมายนักจิตวิทยาและผู้เกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้รับบริการ ปรับเปลี่ยน แจ้งเตือนและยืนยันตารางนัดหมายได้อย่างถูกต้อง โดยต้องปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้ และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรายงานข้อมูลทะเบียนประวัติและประเด็นปัญหาของผู้มารับบริการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน



คำอธิบายรายละเอียด

N/A



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ