หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-KKSP-467A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย


1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมพัฒนาการในผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดโปรแกรมชะลอความเสื่อมถอยของพัฒนาการผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแล การรายงานผลการจัดโปรแกรมแก่ผู้กำกับดูแล/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง การออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมในผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยา และการปฏิบัติงานด้านการจัดโปรแกรมโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10804.1

จัดโปรแกรมชะลอความเสื่อมถอยของพัฒนาการผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแล

1. เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่ได้รับมอบหมายอย่างแม่นยำ

10804.1.01 155074
10804.1

จัดโปรแกรมชะลอความเสื่อมถอยของพัฒนาการผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแล

2. ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

10804.1.02 155075
10804.2

รายงานผลการจัดโปรแกรมแก่ผู้กำกับดูแล/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

1. บันทึกผลการดำเนินกิจกรรมลงในแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง

10804.2.01 155076
10804.2

รายงานผลการจัดโปรแกรมแก่ผู้กำกับดูแล/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

2. จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโปรแกรมที่จัดขึ้นแก่นักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

10804.2.02 155077
10804.3

ออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมในผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยา

1. เขียนแผนการปรับพฤติกรรมในผู้สูงวัยตามที่ได้รับมอบหมาย

10804.3.01 155078
10804.3

ออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมในผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยา

2. เลือกใช้การให้รางวัลและการลงโทษได้ถูกต้องและเหมาะสมกับพัฒนาการและเป้าหมายของการปรับพฤติกรรม

10804.3.02 155079
10804.3

ออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมในผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยา

3. อธิบายแผนการปรับพฤติกรรมที่ออกแบบไว้ให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

10804.3.03 155080
10804.4

ปฏิบัติงานด้านการจัดโปรแกรมโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

1. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

10804.4.01 155081
10804.4

ปฏิบัติงานด้านการจัดโปรแกรมโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

2. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล หากการปฏิบัติงานขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้สูงวัย

10804.4.02 155082

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการดำเนินกิจกรรมชะลอความเสื่อมถอยในผู้สูงวัยเบื้องต้น

  • ทักษะการปรับพฤติกรรมผู้สูงวัยเบื้องต้น

  • ทักษะในการสื่อสารผลการปฏิบัติงานให้กับนักจิตวิทยา ผู้ดูแล และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

  • ทักษะการปรับพฤติกรรมผู้สูงวัยเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเบื้องต้นในทุกด้าน อันประกอบด้วย การเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึง ปัญหาพัฒนาการในเด็ก

  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อชะลอความเสื่อมถอยในผู้สูงวัยเบื้องต้น

  • ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรับพฤติกรรมผู้สูงวัยเบื้องต้น

  • ความรู้ด้านหลักการให้รางวัลและการลงโทษเบื้องต้นอย่างเหมาะสมต่อผู้สูงวัย

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการผู้สูงวัย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มสะสมผลงาน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการส่งเสริมพัฒนาการในผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากการจัดโปรแกรมชะลอความเสื่อมถอยของพัฒนาการผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแล    การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็น และดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง การรายงานผลการจัดโปรแกรมแก่ผู้กำกับดูแล/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมลงในแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโปรแกรมแก่นักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง การออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมในผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยา ตั้งแต่การเขียนแผนการปรับพฤติกรรมในผู้สูงวัย เลือกใช้การให้รางวัลและการลงโทษได้ถูกต้องและเหมาะสมกับพัฒนาการและเป้าหมายของการปรับพฤติกรรม และอธิบายแผนการปรับพฤติกรรมที่ออกแบบไว้ให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการปฏิบัติงานด้านการจัดโปรแกรมโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย ตั้งแต่การบ่งชี้การปฏิบัติงานที่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย และหากพบเจอสิ่งที่ขัดสามารถดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้ และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียน และแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานผ่านแฟ้มสะสมผลงาน

 



คำอธิบายรายละเอียด

N/A



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์

  • แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ