หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความต้องการ/จำเป็นด้านพัฒนาการของผู้สูงวัยเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือหรือมาตรวัดที่มีมาตรฐาน

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-AJLA-466A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความต้องการ/จำเป็นด้านพัฒนาการของผู้สูงวัยเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือหรือมาตรวัดที่มีมาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย


1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการประเมินความต้องการ/จำเป็นด้านพัฒนาการของผู้สูงวัยเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือหรือมาตรวัดที่มีมาตรฐาน ซึ่งประกอบไปด้วยการคัดกรองพัฒนาการผู้สูงวัยเบื้องต้น การแปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้ และต้องปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10803.1

คัดกรองพัฒนาการผู้สูงวัยเบื้องต้น

1. คัดเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองพัฒนาการได้เหมาะสมกับช่วงวัย/สภาพแวดล้อมของผู้สูงวัยภายใต้การกำกับของผู้เชี่ยวชาญ

10803.1.01 155065
10803.1

คัดกรองพัฒนาการผู้สูงวัยเบื้องต้น

2. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการคัดกรองพัฒนาการตามที่คู่มือระบุได้อย่างแม่นยำ

10803.1.02 155066
10803.1

คัดกรองพัฒนาการผู้สูงวัยเบื้องต้น

3. ดำเนินการใช้เครื่องมือ/มาตรวัด ตามกระบวนการคัดกรองพัฒนาการที่ระบุไว้ในคู่มือ

10803.1.03 155067
10803.2

แปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้

1. บันทึกคะแนนการคัดกรองลงในแบบฟอร์มที่ถูกกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง

10803.2.01 155068
10803.2

แปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้

2. สรุปคะแนนการคัดกรองพัฒนาการโดยแยกออกเป็นมิติต่างๆตามที่ระบุไว้ลงในแบบฟอร์มที่ถูกกำหนดไว้ในคู่มือได้อย่างถูกต้อง

10803.2.02 155069
10803.2

แปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้

3. รายงานผลคะแนนการคัดกรองให้คณะทำงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัยอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

10803.2.03 155070
10803.3

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

1. อธิบายข้อควรระวังในการปฏิบัติงานกับตัวผู้สูงอายุ และผู้ดูแล

10803.3.01 155071
10803.3

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

2. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัยได้

10803.3.02 155072
10803.3

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

3. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล หากการปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

10803.3.03 155073

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการวัดและประเมินผลทางจิตวิทยาพัฒนาการในผู้สูงอายุเบื้องต้น

  • ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงวัยและครอบครัว

  • ทักษะในการสื่อสารข้อมูลเชิงวิชาการพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับผู้รับสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการผู้สูงวัยทุกด้าน อันประกอบด้วย การเสื่อมถอยของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึงปัญหาพัฒนาการในผู้สูงวัย

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินพัฒนาการผู้สูงวัยสำหรับบุคคลทั่วไปที่ได้มาตรฐาน

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะในการประเมินความต้องการ/จำเป็นด้านพัฒนาการของผู้สูงวัยเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือหรือมาตรวัดที่มีมาตรฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการประเมินความต้องการ/จำเป็นด้านพัฒนาการของผู้สูงวัยเบื้องต้น เริ่มจากการคัดกรองพัฒนาการผู้สูงวัยเบื้องต้น โดยคัดเลือกเครื่องมือโดยใช้ในการประเมินภายใต้การกำกับของผู้เชี่ยวชาญ จัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์ที่จำเป็น และดำเนินการใช้เครื่องมือดังกล่าวตามคู่มือ หลังจากนั้นสามารถแปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้ โดยบันทึกคะแนนคัดกรองลงในแบบฟอร์ม สรุปคะแนนตามคู่มือ และรายงานผลให้คณะทำงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัยอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย โดยการปฏิบัติงานคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้สูงวัย โดยต้องสื่อสารถึงผู้สูงวัยและผู้ดูแลถึงประเด็นดังกล่าว บ่งชี้ถึงการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ และดำเนินการแก้ไขสามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตามความเหมาะสมภายใต้การกำกับดูแล



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียน



คำอธิบายรายละเอียด

N/A



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ