หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสุขภาวะทางจิต (Psychological Wellness) ของผู้สูงวัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-QWHQ-465A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสุขภาวะทางจิต (Psychological Wellness) ของผู้สูงวัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย


1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดูแลสุขภาวะทางจิตของผู้สูงวัย โดย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงวัยเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา และปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของผู้สูงวัยเป็นสำคัญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10802.1

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงวัยเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา

1. อธิบายหลักการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย

10802.1.01 155059
10802.1

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงวัยเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา

2. ส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงวัยโดยใช้หลักการปรับพฤติกรรมตามแผนที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญ

10802.1.02 155060
10802.1

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงวัยเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา

3. ลดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ในผู้สูงวัยโดยใช้หลักการปรับพฤติกรรมตามแผนที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญ

10802.1.03 155061
10802.2

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของผู้สูงวัยเป็นสำคัญ

1. อธิบายข้อควรระวังในการปฏิบัติงานกับผู้สูงวัยและผู้ดูแล

10802.2.01 155062
10802.2

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของผู้สูงวัยเป็นสำคัญ

2. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

10802.2.02 155063
10802.2

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของผู้สูงวัยเป็นสำคัญ

3. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล หากการปฏิบัติงานขัดกับสิ่งที่ควรปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

10802.2.03 155064

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการสื่อสารทางบวกกับผู้สูงวัยและบุตรหลาน ผู้ดูแล

  • ทักษะการปรับพฤติกรรมผู้สูงวัยเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางพัฒนาการผู้สูงวัยทุกด้าน อันประกอบด้วย การเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึง ปัญหาพัฒนาการในผู้สูงวัย

  • ความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมผู้สูงวัยเบื้องต้น

  • ความรู้ด้านหลักการให้รางวัลและการลงโทษเบื้องต้นอย่างเหมาะสมต่อผู้สูงวัย

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะดูแลสุขภาวะทางจิตของผู้สูงวัย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์

  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการดูแลสุขภาวะทางจิตของผู้สูงวัยรวมไปถึง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงวัยเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา ตั้งแต่อธิบายหลักการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย ส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์และลดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ในผู้สูงวัยโดยใช้หลักการปรับพฤติกรรมตามแผน และการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของผู้สูงวัยเป็นสำคัญ     ตั้งแต่การอธิบายข้อควรระวังในการปฏิบัติงานกับผู้สูงวัยและผู้ดูแล บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย และหากพบเจอสิ่งที่ขัดสามารถดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องตรวจมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้ และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียน



คำอธิบายรายละเอียด

1. สุขภาวะทางจิต (Psychological wellness) ของผู้สูงวัย หมายถึง การใช้หลักทางจิตวิทยาในการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้กับผู้สูงวัย ที่สนับสนุนการมีความรู้สึกสบายใจ ผ่อนคลายจากภาวะความเครียด ความวิตกกังวล และความซึมเศร้า

2. จริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย หมายถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพนักจิตวิทยาอ้างอิงตาม ETHICAL PRINCIPLES OF PSYCHOLOGISTS AND CODE OF CONDUCT รับรองโดยสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2017 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานกับผู้สูงวัย



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์



 



ยินดีต้อนรับ