หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนานวัตกรรมหรือนโยบายอันเกี่ยวกับพัฒนาการผู้สูงวัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-JEWY-463A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนานวัตกรรมหรือนโยบายอันเกี่ยวกับพัฒนาการผู้สูงวัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย


1 2634 นักจิตวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในพัฒนานวัตกรรมหรือนโยบายอันเกี่ยวกับพัฒนาการผู้สูงวัย ได้แก่ การบริหารโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย การบริหารจัดการเชิงนโยบาย ในระดับองค์การ ชุมชน หรือประเทศ จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม/องค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย และการบริหารโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10703.1

บริหารโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

1. บ่งชี้ความสำคัญขององค์ความรู้หรือนวัตกรรมจากโครงการวิจัยที่มีต่อจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัยได้

10703.1.01 155045
10703.1

บริหารโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

2. อธิบายวิธีดำเนินการวิจัยที่ถูกต้องสำหรับการพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

10703.1.02 155046
10703.1

บริหารโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

3. ดูแลการดำเนินการวิจัยให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ และจริยธรรมในการวิจัย

10703.1.03 155047
10703.2

บริหารจัดการเชิงนโยบาย ในระดับองค์การ ชุมชน หรือประเทศ จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม/องค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

1. คัดเลือกหน่วยงาน/ชุมชนเป้าหมายในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้/นวัตกรรม

10703.2.01 155048
10703.2

บริหารจัดการเชิงนโยบาย ในระดับองค์การ ชุมชน หรือประเทศ จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม/องค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

2. ศึกษาความต้องการจำเป็นของหน่วยงาน/ชุมชนเป้าหมายในเชิงลึก

10703.2.02 155049
10703.2

บริหารจัดการเชิงนโยบาย ในระดับองค์การ ชุมชน หรือประเทศ จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม/องค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

3.เลือกใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัยได้เหมาะสมกับความต้องการหรือความจำเป็น

10703.2.03 155050
10703.2

บริหารจัดการเชิงนโยบาย ในระดับองค์การ ชุมชน หรือประเทศ จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม/องค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

4. อธิบายวิธีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัยได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

10703.2.04 155051
10703.2

บริหารจัดการเชิงนโยบาย ในระดับองค์การ ชุมชน หรือประเทศ จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม/องค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

5. บ่งชี้ผลหรือประโยชน์ที่จะเกิดจากการใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัยได้

10703.2.05 155052

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการบริหารโครงการวิจัยจนสำเร็จลุล่วง

  • ทักษะการแก้ปัญหา การบริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรบุคคล

  • ทักษะการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับบุคคล/หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการผู้สูงวัยทุกด้าน

  • ความรู้เกี่ยวกับปัญหา/ความต้องการองค์ความรู้หรือนโยบายที่เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัยในประเทศไทยและอาเซียน

  • ความรู้เกี่ยวกับการบริหารโครงการวิจัย/หน่วยงาน

  • ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมในการสร้างองค์ความรู้/นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้สูงวัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แบบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน ที่มีรายละเอียดของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ ที่ผู้สมัครเป็นผู้จัดทำ/มีส่วนร่วมในการจัดทำ



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • ประกาศนียบัตรจาก CITI Training



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะพัฒนานวัตกรรมหรือนโยบายอันเกี่ยวกับพัฒนาการผู้สูงวัย โดยพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน และพิจารณาจากหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มสะสมผลงาน

  • พิจารณาจากหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของสมรรถนะการพัฒนาทฤษฎีหรือความรู้เชิงวิชาการทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัยรวมถึงการบริหารโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย ตั้งแต่การบ่งชี้ความสำคัญขององค์ความรู้หรือนวัตกรรมจากโครงการวิจัยที่มีต่อจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย อธิบายวิธีดำเนินการวิจัยที่ถูกต้องสำหรับการพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรม และดูแลการดำเนินการวิจัยให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการและจริยธรรมในการวิจัย การบริหารจัดการเชิงนโยบาย ในระดับองค์การ ชุมชน หรือประเทศ จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม/องค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย ตั้งแต่การคัดเลือกหน่วยงาน/ชุมชนเป้าหมายในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้/นวัตกรรม การศึกษาความต้องการจำเป็นของหน่วยงาน/ชุมชน เลือกใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัยได้เหมาะสมกับความต้องการ อธิบายวิธีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ และการบ่งชี้ผลหรือประโยชน์ที่จะเกิดจากการใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเคยมีผลงานการเผยแพร่ความรู้วิชาการทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย ทำการวิจัยเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ และสร้างเป็นนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย ได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการของหน่วยงาน/ชุมชน รวมถึงการอธิบายให้บุคคลอื่นเข้าใจถึงความรู้และนวัตกรรมใหม่ที่สร้างสรรค์ รวมถึงประเมินคุณค่าของผลงานวิจัยได้



คำอธิบายรายละเอียด

N/A



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ