หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย (Behavioral and Cognitive Training)

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-IXKO-457A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย (Behavioral and Cognitive Training)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย


1 2634 นักจิตวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย โดยสามารถออกแบบโปรแกรมการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามพัฒนาการของผู้สูงวัย ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ไปจนการวางแผนโปรแกรมทุกขั้นตอนโดยละเอียด และสามารถปฏิบัติตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัยปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้สูงวัย รวมถึงการปรับปรุงโปรแกรมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ทุกการปฏิบัติงานยังปฏิบัติโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10603.1

ออกแบบโปรแกรมการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามพัฒนาการของผู้สูงวัย

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของโปรแกรม

10603.1.01 154994
10603.1

ออกแบบโปรแกรมการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามพัฒนาการของผู้สูงวัย

2. ค้นคว้าข้อมูลแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย

10603.1.02 154995
10603.1

ออกแบบโปรแกรมการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามพัฒนาการของผู้สูงวัย

3. เลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีสุด (Best practice) ของโปรแกรมที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ และผลการประเมินพัฒนาการของผู้สูงวัยแต่ละคน

10603.1.03 154996
10603.1

ออกแบบโปรแกรมการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามพัฒนาการของผู้สูงวัย

4. วางแผนการดำเนินโปรแกรมเพื่อบูรณาการพัฒนาการครบทุกด้าน

10603.1.04 154997
10603.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัยตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในแผนและปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

10603.2.01 154998
10603.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ

2. สังเกตและคำนึงถึงสวัสดิภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้สูงวัยตลอดการดำเนินกิจกรรม

10603.2.02 154999
10603.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมและจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนา

10603.2.03 155000
10603.3

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

1. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

10603.3.01 155001
10603.3

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

2. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติหากการปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย

10603.3.02 155002

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามพัฒนาการของผู้สูงวัย

  • ทักษะในการวิจัย โดยเฉพาะงานวิจัยทางจิตวิทยาพัฒนาการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการผู้สูงวัยทุกด้าน อันประกอบด้วย การเสื่อมถอยของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึงปัญหาพัฒนาการในผู้สูงวัย

  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย

  • ความรู้ด้านหลักการเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบ การให้รางวัล และการลงโทษอย่างเหมาะสมต่อผู้สูงวัย

  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยทางจิตวิทยา

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • หลักฐานประกอบที่แสดงถึงประสบการณ์ด้านการจัดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการประเมินทางจิตวิทยาพัฒนาการ



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • ประกาศนียบัตรจาก CITI Training (ถ้ามี)



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสาธิตการปฏิบัติงาน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย เริ่มจากออกแบบโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงวัยเพื่อการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามพัฒนาการของผู้สูงวัย ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ของโปรแกรม ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม เลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีสุด และวางแผนโปรแกรมเพื่อบูรณาการพัฒนาการครบทุกด้าน ปฏิบัติตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตั้งแต่การดำเนินกิจกรรมการปรับพฤติกรรมตามคู่มือ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้สูงวัย ปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานตามความเหมาะสม และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้วมีการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาโปรแกรมต่อไป โดยในทุกขั้นตอนของการจัดโปรแกรมต้องปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย โดยสามารถบ่งชี้การปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย และหากพบสิ่งไม่สอดคล้องสามารถดำเนินการแก้ไขสามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตามความเหมาะสม



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย โดยออกแบบโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ ดำเนินการตามแผนโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้สูงวัยเป็นสำคัญ และประเมินผลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงวัย



คำอธิบายรายละเอียด

N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ