หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-BUYK-452A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก


1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วย การช่วยเหลือการจัดโปรแกรมด้านพัฒนาการเด็กภายใต้การกำกับดูแล ออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยา การรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก การรายงานผลการจัดโปรแกรมแก่ผู้กำกับดูแล/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10404.1

ช่วยเหลือการจัดโปรแกรมด้านพัฒนาการเด็กภายใต้การกำกับดูแล

1. เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่ได้รับมอบหมายอย่างแม่นยำ

10404.1.01 154942
10404.1

ช่วยเหลือการจัดโปรแกรมด้านพัฒนาการเด็กภายใต้การกำกับดูแล

2. ดำเนินโปรแกรมด้านพัฒนาการที่สอดคล้องกับวัยของเด็กภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

10404.1.02 154943
10404.2

ออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมภายใต้การกำกับดูแล

1. เขียนแผนการปรับพฤติกรรมในเด็กตามที่ได้รับมอบหมาย

10404.2.01 154944
10404.2

ออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมภายใต้การกำกับดูแล

2. เลือกใช้การให้รางวัลและการลงโทษได้ถูกต้องและเหมาะสมกับพัฒนาการและเป้าหมายของการปรับพฤติกรรม

10404.2.02 154945
10404.2

ออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมภายใต้การกำกับดูแล

3. อธิบายแผนการปรับพฤติกรรมที่ออกแบบไว้ให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

10404.2.03 154946
10404.3

รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิผลของโปรแกร

1. บันทึกข้อมูลพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวันลงในแบบฟอร์มที่กำหนด

10404.3.01 154947
10404.3

รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิผลของโปรแกร

2. สอบถามผู้ปกครองเพื่อติดตามพฤติกรรมของเด็กที่บ้าน

10404.3.02 154948
10404.3

รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิผลของโปรแกร

3. รายงานข้อมูลพฤติกรรมของเด็กให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแลอย่างสม่ำเสมอ

10404.3.03 154949
10404.4

รายงานผลการจัดโปรแกรมแก่ผู้กำกับดูแล/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

1. บันทึกผลการดำเนินโปรแกรม ลงในแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง

10404.4.01 154950
10404.4

รายงานผลการจัดโปรแกรมแก่ผู้กำกับดูแล/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

2. จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโปรแกรมที่จัดขึ้นแก่นักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

10404.4.02 154951
10404.5

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

1. อธิบายข้อควรระวังในการปฏิบัติงานกับเด็กและผู้ปกครอง

10404.5.01 154952
10404.5

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

2. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10404.5.02 154953
10404.5

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

3. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล หากการปฏิบัติงานขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10404.5.03 154954

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการดำเนินกิจกรรมกับเด็กและผู้ปกครอง

  • ทักษะในการสื่อสารผลการปฏิบัติงานให้กับนักจิตวิทยา ผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

  • ทักษะการปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเบื้องต้นในทุกด้าน อันประกอบด้วย การเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึง ปัญหาพัฒนาการในเด็ก

  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

  • ความรู้ด้านการปรับพฤติกรรมเด็ก

  • ความรู้ด้านหลักการเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบ การให้รางวัล และการลงโทษอย่างเหมาะสมต่อเด็กในแต่ละช่วงพัฒนาการ

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มสะสมผลงาน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากการช่วยเหลือการจัดโปรแกรมด้านพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็น ดำเนินโปรแกรมด้านพัฒนาการภายใต้การกำกับดูแลของนักจิตวิทยา การออกแบบแผนการปรับพฤติกรรม ตั้งแต่เขียนแผนการปรับพฤติกรรมในเด็ก เลือกใช้การให้รางวัลและการลงโทษเหมาะสมกับพัฒนาการและเป้าหมายของการปรับพฤติกรรม และอธิบายแผนการปรับพฤติกรรมที่ออกแบบไว้ให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญ การรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิผลโปรแกรม ตั้งแต่บันทึกข้อมูลพฤติกรรมในแบบฟอร์ม สอบถามผู้ปกครองเพื่อติดตามพฤติกรรมของเด็ก และรายงานข้อมูลพฤติกรรมของเด็กให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแล การรายงานผลการจัดโปรแกรมแก่ผู้กำกับดูแล/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การบันทึกผลการดำเนินโปรแกรมลงในแบบฟอร์ม จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโปรแกรมที่จัดขึ้นแก่นักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายคือปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก    ตั้งแต่การอธิบายข้อควรระวังในการปฏิบัติงานกับเด็กและผู้ปกครอง บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และหากพบเจอสิ่งที่ขัดสามารถดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียน และแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานผ่านแฟ้มสะสมผลงาน



คำอธิบายรายละเอียด

โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (Enhancement Program) หมายถึง โปรแกรมกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับเด็ก/พ่อแม่และผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยมีเป้าหมายที่เด็ก อายุ 0-9 ปี เพื่อสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการที่เต็มศักยภาพ



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์

  • แฟ้มสะสมผลงาน



 



ยินดีต้อนรับ