หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินพัฒนาการของเด็กเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือหรือมาตรวัดที่มีมาตรฐาน

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-UDSX-451A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินพัฒนาการของเด็กเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือหรือมาตรวัดที่มีมาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก


1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการประเมินความต้องการ/จำเป็นด้านพัฒนาการของเด็กเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือหรือมาตรวัดที่มีมาตรฐาน ซึ่งประกอบไปด้วยการคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น การแปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10403.1

คัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น

1. คัดเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองพัฒนาการได้เหมาะสมกับช่วงวัย/สภาพแวดล้อมของเด็กภายใต้การกำกับของผู้เชี่ยวชาญ

10403.1.01 154932
10403.1

คัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น

2. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ให้เหมาะสมและปลอดภัยที่จะใช้กับเด็ก

10403.1.02 154933
10403.1

คัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น

3. ประเมินความพร้อมของเด็กก่อนทำการคัดกรอง

10403.1.03 154934
10403.1

คัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น

4. ดำเนินการใช้เครื่องมือคัดกรองพัฒนาการตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในคู่มือ

10403.1.04 154935
10403.2

แปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้

1. บันทึกคะแนนการคัดกรองลงในแบบฟอร์มที่ถูกกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง

10403.2.01 154936
10403.2

แปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้

2. สรุปคะแนนการคัดกรองพัฒนาการโดยแยกออกเป็นมิติต่างๆตามที่ระบุไว้ลงในแบบฟอร์มที่ถูกกำหนดไว้ในคู่มือได้อย่างถูกต้อง

10403.2.02 154937
10403.2

แปลผลการคัดกรองตามคู่มือของเครื่องมือคัดกรองที่ใช้

3. รายงานผลคะแนนการคัดกรองให้คณะทำงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

10403.2.03 154938
10403.3

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

1. อธิบายข้อควรระวังในการปฏิบัติงานกับเด็กและผู้ปกครอง

10403.3.01 154939
10403.3

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

2. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กได้

10403.3.02 154940
10403.3

ปฏิบัติงานด้านการประเมินโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

3. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล หากการปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10403.3.03 154941

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการคัดกรองพัฒนาการในเด็กเบื้องต้น

  • ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับเด็กและครอบครัว

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเบื้องต้นทุกด้าน อันประกอบด้วย การเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึง ปัญหาพัฒนาการในเด็ก

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กสำหรับบุคคลทั่วไปที่ได้มาตรฐานหรือได้รับการยอมรับในประเทศ เช่น Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM)

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็ก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการประเมินความต้องการ/จำเป็นด้านพัฒนาการของเด็กเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือหรือมาตรวัดที่มีมาตรฐาน เริ่มจากการคัดเลือกเครื่องมือเพื่อคัดกรองพัฒนาการได้เหมาะสมกับช่วงวัย/สภาพแวดล้อมของเด็กภายใต้การกำกับของผู้เชี่ยวชาญ จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็น และดำเนินการใช้เครื่องมือ/มาตรวัด ตามกระบวนการคัดกรองพัฒนาการที่ระบุไว้ในคู่มือ สามารถบันทึก และสรุปคะแนนการคัดกรองลงในแบบฟอร์มที่ถูกกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนรายงานผลคะแนนการคัดกรองให้คณะทำงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างชัดเจนและถูกต้องครบถ้วน โดยต้องปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก โดยต้องสื่อสารถึงเด็กและผู้ปกครอง ถึงประเด็นดังกล่าว บ่งชี้ถึงการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ และดำเนินการแก้ไขสามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตามความเหมาะสมภายใต้การกำกับดูแล



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้ และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียน



คำอธิบายรายละเอียด

1. พฤติกรรมเด็ก หมายถึง การตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งเร้าภายในหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมที่สังเกตได้ภายนอก เช่น การเดิน การพูด และพฤติกรรมภายใน เช่น กระบวนการคิด และอารมณ์

2. การประเมินพัฒนาการเด็ก หมายถึง การใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ เพื่อตรวจวัดระดับพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวข้างต้น อันมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัญหาทางพัฒนาการที่อาจเกิดขึ้น และกำหนดแนวทางการจัดโปรแกรมเพื่อสร้างเสริม/ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นลำดับต่อไป

3. เครื่องมือ/มาตรวัดที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการเด็ก หมายถึง เครื่องมือที่ได้มาตรฐานที่ใช้ในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็กโดยทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทย เช่น Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM), Denver Developmental Screening Test II (Denver II), Bayley Scales Of Infant and Toddler Development (Bayley)



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์



 



ยินดีต้อนรับ