หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสุขภาวะ (Psychological wellness) ของเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-LCRP-450A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสุขภาวะ (Psychological wellness) ของเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก


1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดูแลสุขภาวะของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยสามารถปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้นภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา และปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10402.1

ปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา

1. อธิบายหลักการปรับพฤติกรรมในเด็กได้

10402.1.01 154925
10402.1

ปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา

2. บ่งชี้การให้รางวัลและการลงโทษที่ผิดหลักพัฒนาการเด็ก

10402.1.02 154926
10402.1

ปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา

3. ส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเด็กโดยใช้หลักการปรับพฤติกรรมตามแผนที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญ

10402.1.03 154927
10402.1

ปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น ภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา

4. ลดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ในเด็กโดยใช้หลักการปรับพฤติกรรมตามแผนที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญ

10402.1.04 154928
10402.2

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ

1. อธิบายข้อควรระวังในการปฏิบัติงานกับเด็กและผู้ปกครอง

10402.2.01 154929
10402.2

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ

2. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10402.2.02 154930
10402.2

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ

3. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล หากการปฏิบัติงานขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10402.2.03 154931

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการสื่อสารทางบวกกับเด็กและผู้ปกครอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น

  • ความรู้ด้านหลักการให้รางวัลและการลงโทษเบื้องต้นอย่างเหมาะสมต่อเด็กในแต่ละช่วงพัฒนาการ

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะดูแลสุขภาวะของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง

  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานดูแลสุขภาวะของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยเริ่มจากปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้นภายใต้แผนการปรับพฤติกรรมที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา ตั้งแต่อธิบายหลักการปรับพฤติกรรมในเด็ก บ่งชี้การให้รางวัลและการลงโทษที่ผิดหลักพัฒนาการเด็ก รวมถึงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเด็กโดยใช้หลักการปรับพฤติกรรมตามแผนที่กำหนดโดยนักจิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญ สุดท้ายคือปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงสุขภาวะและความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ ตั้งแต่การอธิบายข้อควรระวังในการปฏิบัติงานกับเด็กและผู้ปกครอง บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และหากพบเจอสิ่งที่ขัดสามารถดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแล



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องตรวจมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้ และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียน



คำอธิบายรายละเอียด

1. พฤติกรรมเด็ก หมายถึง การตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งเร้าภายในหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมที่สังเกตได้ภายนอก เช่น การเดิน การพูด และพฤติกรรมภายใน เช่น กระบวนการคิด และอารมณ์

2. การปรับพฤติกรรมเด็ก (Behavioral Modification Program) หมายถึง การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างให้เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการและแนวคิดการปรับพฤติกรรมและทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยา โดยใช้หลักการเสริมแรง และหลักการลงโทษที่เหมาะสม

3. จริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก หมายถึง ข้อควรระวังเบื้องต้นในการปฏิบัติงานกับเด็ก อ้างอิงตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเด็ก ปีพุทธศักราช 2546



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ