หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-BBCM-449A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก


1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดูแลสุขภาวะของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยส่งเสริมกิจกรรมตามพัฒนาการในเด็ก และรวบรวมข้อมูลด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กเพื่อรายงานข้อมูลพฤติกรรมของเด็กให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10401.1

ส่งเสริมกิจกรรมตามพัฒนาการ (Developmental tasks) ในเด็ก

1. อธิบายพัฒนาการที่เหมาะสมของเด็กในแต่ละช่วงอายุ

10401.1.01 154919
10401.1

ส่งเสริมกิจกรรมตามพัฒนาการ (Developmental tasks) ในเด็ก

2. ให้ความช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของเด็กอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการในช่วงวัย

10401.1.02 154920
10401.1

ส่งเสริมกิจกรรมตามพัฒนาการ (Developmental tasks) ในเด็ก

3. สอนให้เด็กทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง

10401.1.03 154921
10401.2

รวบรวมข้อมูลด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

1. บันทึกข้อมูลพฤติกรรมเด็กในแต่ละวันลงในแบบฟอร์มที่กำหนด

10401.2.01 154922
10401.2

รวบรวมข้อมูลด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

2. สอบถามผู้ดูแลเพื่อซักถามข้อมูลพฤติกรรมของเด็กที่บ้าน

10401.2.02 154923
10401.2

รวบรวมข้อมูลด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

3. รายงานข้อมูลพฤติกรรมของเด็กให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแล

10401.2.03 154924

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการสื่อสารทางบวกกับเด็กและผู้ปกครอง

  • ทักษะการปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย

  • ความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะดูแลพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง

  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานดูแลพัฒนาการและสุขภาวะของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยเริ่มจากส่งเสริมกิจกรรมตามพัฒนาการในเด็ก ตั้งแต่การอธิบายพัฒนาการที่เหมาะสมของเด็กในแต่ละช่วงอายุ ให้ความช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของเด็ก และสอนให้เด็กทำกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นได้ด้วยตนเอง และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยบันทึกข้อมูลพฤติกรรมเด็กในแต่ละวัน สอบถามข้อมูลพฤติกรรมของเด็กนอกพื้นที่ปฏิบัติงานจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น พฤติกรรมของเด็กเมื่ออยู่กับครอบครัว และรายงานข้อมูลพฤติกรรมของเด็กให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแลทราบ

คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้ และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์



คำอธิบายรายละเอียด

1. พัฒนาการเด็ก หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมทั้งในด้านโครงสร้าง หน้าที่ และพฤติกรรมของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 9 ปี อันเกิดจากอิทธิพลของพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู โดยอาจเป็นผลจากที่เด็กได้รับมาตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ โดยพัฒนาการเด็ก สามารถแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ดังนี้

1.1 พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง ความสามารถในการควบคุมและประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การเคลื่อนไหวร่างกายที่ประสานกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการเจริญเติบโตที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย

1.2 พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัวผ่านประสาทสัมผัส การมีประสบการณ์กับสิ่งต่าง ๆ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความสามารถในการสร้างภาพในสมอง (mental representation) มีความสามารถในการให้ความสนใจและเปลี่ยนความสนใจ จดจำข้อมูลและยับยั้งพฤติกรรมของตนเอง สามารถเรียนรู้ภาษาและวิธีการสื่อสาร ทั้งในรูปแบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา รู้จักการใช้เหตุผลอย่างง่าย โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นรูปธรรมของสิ่งรอบตัว

1.3 พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ เข้าใจอารมณ์พื้นฐานต่าง ๆ และอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมทั้งของตนเองและผู้อื่น และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม สามารถกำกับ ควบคุมและจัดการพฤติกรรมทางอารมณ์และพฤติกรรมทางสังคมของตนเอง มีความสามารถในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนรอบข้าง



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ