หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาความรู้เชิงวิชาการทางจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-SDAB-447A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาความรู้เชิงวิชาการทางจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก


1 2634 นักจิตวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาความรู้เชิงวิชาการทางจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก โดยสามารถวิเคราะห์ทฤษฎีและงานวิจัยใหม่ ๆ ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก เพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้งานในการปฏิบัติงานโดยสอดคล้องกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ สามารถเผยแพร่งานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กในวงการวิชาการหรือแวดวงผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง รวมถึงถ่ายทอดข้อค้นพบของงานวิจัยเชิงวิชาการด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กให้เข้าใจง่ายและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10302.1

วิเคราะห์ทฤษฎี/งานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

1. สืบค้นองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

10302.1.01 154903
10302.1

วิเคราะห์ทฤษฎี/งานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

2. สรุปผลจากงานวิจัยเชิงวิชาการทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

10302.1.02 154904
10302.1

วิเคราะห์ทฤษฎี/งานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

3. ออกแบบการทำงานโดยอิงจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ความรู้

10302.1.03 154905
10302.2

ดำเนินโครงการวิจัยภายใต้กรอบจริยธรรมอย่างเคร่งครัด

1. วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการจัดทำโครงการวิจัยและกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย

10302.2.01 154906
10302.2

ดำเนินโครงการวิจัยภายใต้กรอบจริยธรรมอย่างเคร่งครัด

2. ออกแบบโครงการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และไม่ขัดต่อประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10302.2.02 154907
10302.2

ดำเนินโครงการวิจัยภายใต้กรอบจริยธรรมอย่างเคร่งครัด

3. เก็บข้อมูลและสรุปผลการวิจัยตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้

10302.2.03 154908
10302.3

เผยแพร่ผลจากงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กในวงการวิชาการ หรือแวดวงผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องได้

1. นำเสนอผลจากการวิจัยในการประชุมวิชาการ/งานสัมมนาเชิงวิชาการด้านจิตวิทยาพัฒนาการ หรือการประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้อง

10302.3.01 154909
10302.3

เผยแพร่ผลจากงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กในวงการวิชาการ หรือแวดวงผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องได้

2. เขียนรายงานผลการวิจัยฉบับเต็ม เพื่อเผยแพร่ในวงการวิชาการหรือสาธารณะ

10302.3.02 154910

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

 N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการค้นคว้าข้อมูลด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

  • ทักษะในเรียบเรียงองค์ความรู้ให้เป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้

  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ และเชื่อมโยงความรู้ที่ศึกษาได้กับการปฏิบัติงาน

  • ทักษะการใช้เครื่องมือในการสื่อสารและถ่ายทอด เช่น โปรแกรม/ซอฟต์แวร์เพื่อการนำเสนอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน

  • ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนโครงการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยเพื่อเผยแพร่

  • ความรู้ด้านการสื่อสารทั้งการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย และการถ่ายทอดสารที่มีเนื้อหาเชิงวิชาการ

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน ที่มีรายละเอียดของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ ที่ผู้สมัครเป็นผู้จัดทำ/มีส่วนร่วมในการจัดทำ



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • ประกาศนียบัตรจาก CITI Training



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะพัฒนาทฤษฎีหรือความรู้เชิงวิชาการทางจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก โดยพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน และพิจารณาจากหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มสะสมผลงาน  

  • พิจารณาจากหลักฐานความรู้ได้แก่ การสอบข้อเขียน แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของสมรรถนะการพัฒนาทฤษฎีหรือความรู้เชิงวิชาการทางจิตวิทยาพัฒนาการเด็กรวมถึงการวิเคราะห์ทฤษฎีและงานวิจัยใหม่ ๆ ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กด้วยการสืบค้นข้อมูล และนำมาสรุปผล และนำมาเผยแพร่เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ จากนั้นออกแบบการทำงานโดยอิงจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้ ซึ่งทุกขั้นตอนของการสรุปผลเป็นการวิจัยและการออกแบบการทำงานต้องสอดคล้องกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และสามารถเผยแพร่งานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กในวงการวิชาการ หรือแวดวงผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องได้ ด้วยการนำเสนอการประชุม หรือการนำความรู้มาเขียนเป็นงานวิจัยเผยแพร่



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเคยมีผลงานการเผยแพร่ความรู้วิชาการทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก เพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กให้ทันสมัยอยู่เสมอ นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับงานที่ทำภายใต้กรอบจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และสามารถสรุปและบอกเล่าให้บุคคลทั่วไป และคนในวงการวิชาการเข้าใจได้อย่างถูกต้อง



คำอธิบายรายละเอียด

งานวิจัยเชิงวิชาการ หมายรวมถึง รายงานการวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานวิจัยเชิงกรณีศึกษา งานวิจัยด้านการพัฒนามาตรวัด งานวิจัยเชิงสำรวจ บทความวิชาการ หรือ บทคัดย่อที่เผยแพร่บนฐานข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้ หรือโดยการนำเสนอในการประชุมวิชาการ หรือวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในวงการวิชาชีพ



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน



 



ยินดีต้อนรับ