หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดโปรแกรมสร้างเสริม (Intervention) พัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-JIOO-443A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดโปรแกรมสร้างเสริม (Intervention) พัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก


1 2634 นักจิตวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดโปรแกรมสร้างเสริม (Intervention) พัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยสามารถออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการ การกำหนดวัตถุประสงค์ไปจนการวางแผนโปรแกรมทุกขั้นตอนโดยละเอียด และสามารถปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้าทางพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของเด็ก รวมถึงการปรับปรุงโปรแกรมตามความเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10204.1

ออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของโปรแกรม

10204.1.01 154869
10204.1

ออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

2. ค้นคว้าข้อมูลแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย

10204.1.02 154870
10204.1

ออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

3. เลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีสุด (Best practice) ของโปรแกรมที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ และผลการประเมินพัฒนาการของเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละคน

10204.1.03 154871
10204.1

ออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

4. วางแผนการดำเนินโปรแกรมเพื่อบูรณาการพัฒนาการครบทุกด้าน

10204.1.04 154872
10204.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในแผนและปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

10204.2.01 154873
10204.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ

2. สังเกตและคำนึงถึงสวัสดิภาพทางร่างกายและจิตใจของเด็กตลอดการดำเนินกิจกรรม

10204.2.02 154874
10204.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมและจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนา

10204.2.03 154875
10204.3

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10204.3.01 154876
10204.3

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

2. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติหากการปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10204.3.02 154877

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • ทักษะในการวิจัย โดยเฉพาะการวิจัยทางจิตวิทยาพัฒนาการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน ทั้งที่เกี่ยวกับเด็กปกติและเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยทางจิตวิทยา

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ทั้งในเด็กปกติและเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • หลักฐานประกอบที่แสดงถึงประสบการณ์ด้านการจัดโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการ และการประเมินทางจิตวิทยาพัฒนาการ



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • ประกาศนียบัตรจาก CITI Training



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการจัดโปรแกรมสร้างเสริม (Intervention) พัฒนาการเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มสะสมผลงาน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการจัดโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็กในเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 9 ปี ที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เริ่มจากออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้าทางพัฒนาการ ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ของโปรแกรม ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม เลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีสุด และวางแผนโปรแกรมเพื่อบูรณาการพัฒนาการครบทุกด้าน ปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการตั้งแต่การดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการตามคู่มือ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพทางร่างกายและจิตใจของเด็ก ปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานตามความเหมาะสม และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ มีการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาโปรแกรมต่อไป โดยในทุกขั้นตอนของการจัดโปรแกรมต้องปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก โดยสามารถบ่งชี้การปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และหากพบสิ่งไม่สอดคล้องสามารถดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตามความเหมาะสม



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็กโดยออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ ดำเนินการตามแผนโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของเด็กเป็นสำคัญ และประเมินผลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก



คำอธิบายรายละเอียด

N/A



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสัมภาษณ์    



 



ยินดีต้อนรับ