หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-PCIL-439A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก


1 2634 นักจิตวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยสามารถรวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กด้วยการสังเกตและการใช้เครื่องมือ และรายงานผลการประเมินพร้อมข้อเสนอแนะต่อผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10102.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. ประเมินปัญหาเบื้องต้นโดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก

10102.1.01 154831
10102.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

2. รวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของเด็ก โดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก

10102.1.02 154832
10102.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

3. คัดเลือกเครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

10102.1.03 154833
10102.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

4. จัดเตรียมอุปกรณ์/บุคลากรให้พร้อมต่อการประเมิน

10102.1.04 154834
10102.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

5. ดำเนินการตามขั้นตอนในการประเมินพัฒนาการเด็กดังที่ระบุไว้ในคู่มือและปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

10102.1.05 154835
10102.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

6. ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญหากเด็กมีปัญหาเกินขอบเขตความชำนาญ

10102.1.06 154836
10102.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. บันทึกข้อมูลการประเมินลงในแบบฟอร์มมาตรฐานหรือที่ออกแบบไว้อย่างเหมาะสม

10102.2.01 154837
10102.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

2. ตีความผลการประเมินตามคู่มือการใช้มาตรวัด/เครื่องมือ

10102.2.02 154838
10102.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

3. แจ้งผลการประเมินทางวาจาให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

10102.2.03 154839
10102.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

4. เขียนรายงานผลการประเมินพร้อมข้อเสนอแนะต่อผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรม

10102.2.04 154840
10102.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

5. เลือกใช้หรือออกแบบรายงานการประเมินให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

10102.2.05 154841

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการวัดและประเมินผลทางจิตวิทยาพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้เครื่องมือและรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมตามวัย

  • ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับเด็กและครอบครัว

  • ทักษะในการสื่อสารข้อมูลเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับผู้รับสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้านทั้งที่เกี่ยวกับเด็กปกติและเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • ความรู้ในการวัดและการประเมินพัฒนาการเด็กในกรณีที่เด็กมีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กในกรณีที่เด็กมีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ใช้อย่างแพร่หลายในวงการวิชาการ เช่น Thai Early Developmental Assessment for Intervention (TEDA4I), Hawaii Early Learning Profile (HELP), Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM)



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แบบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการในเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสาธิตการปฏิบัติงาน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการในเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 9 ขวบ ทั้งในเด็กปกติและเด็กที่มีอาการหรือสัญญาณของความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรม การรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินในเบื้องต้น และการประเมินด้วยเครื่องมือ การคัดเลือกเครื่องมือ จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรในการประเมิน และดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อประเมิน และปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสม สามารถตีความผลจากการประเมิน และรายงานผลทั้งทางวาจาและเขียนรายงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็กจากการสังเกตพฤติกรรม รู้จักและสามารถใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานที่ใช้ในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็กโดยทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทยทั้งในเด็กที่มีพัฒนาการปกติและเด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม

 



คำอธิบายรายละเอียด

เด็กที่มีความล่าช้า/มีปัญหาทางพัฒนาการหรือปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการไม่เหมาะสมกับช่วงวัย ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลมาจากพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาการที่เหมาะสม เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม ภาวะออทิสติก (ASD) ภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ปัญหาการพูดล่าช้า ปัญหาการเรียนรู้ (LD) ปัญหาการควบคุมอารมณ์ (Emotional dysregulation)



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • สาธิตการปฏิบัติงาน โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

  • การสัมภาษณ์



 



ยินดีต้อนรับ