หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดโปรแกรมสร้างเสริม (Intervention) พัฒนาการเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-IDEH-440A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดโปรแกรมสร้างเสริม (Intervention) พัฒนาการเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก


1 2634 นักจิตวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดโปรแกรมสร้างเสริม (Intervention) พัฒนาการเด็ก โดยสามารถออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ไปจนการวางแผนโปรแกรมทุกขั้นตอนโดยละเอียด และสามารถปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็กอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของเด็ก รวมถึงการปรับปรุงโปรแกรมตามความเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201.1

ออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของโปรแกรม

10201.1.01 154842
10201.1

ออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก

2. ค้นคว้าข้อมูลแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย

10201.1.02 154843
10201.1

ออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก

3. เลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีสุด (Best practice) ของโปรแกรมที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ และผลการประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละคน

10201.1.03 154844
10201.1

ออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก

4. วางแผนการดำเนินโปรแกรมเพื่อบูรณาการพัฒนาการครบทุกด้าน

10201.1.04 154845
10201.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก

1. ดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในแผนและปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

10201.2.01 154846
10201.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก

2. สังเกตและคำนึงถึงสวัสดิภาพทางร่างกายและจิตใจของเด็กตลอดการดำเนินกิจกรรม

10201.2.02 154847
10201.2

ปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก

3. ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมและจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนา

10201.2.03 154848
10201.3

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

1. บ่งชี้การปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10201.3.01 154849
10201.3

ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

2. ดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติหากการปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

10201.3.02 154850

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก

  • ทักษะในการวิจัย โดยเฉพาะการวิจัยทางจิตวิทยาพัฒนาการ



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน อันประกอบด้วย การเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึงปัญหาพัฒนาการในเด็ก

  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก

  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยทางจิตวิทยา

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • หลักฐานประกอบที่แสดงถึงประสบการณ์ด้านการจัดโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการ และการประเมินการจัดโปรแกรมทางจิตวิทยาพัฒนาการ



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

  • ประกาศนียบัตรจาก CITI Training (ถ้ามี)

     



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการจัดโปรแกรมสร้างเสริม (Intervention) พัฒนาการเด็ก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

 



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มสะสมผลงาน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง  



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการจัดโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็กในเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 9 เริ่มจากออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ของโปรแกรม ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม เลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีสุด และวางแผนโปรแกรมเพื่อบูรณาการพัฒนาการครบทุกด้าน ปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการตั้งแต่การดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการตามคู่มือ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพทางร่างกายและจิตใจของเด็ก ปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานตามความเหมาะสม และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ มีการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาโปรแกรมต่อไป โดยในทุกขั้นตอนของการจัดโปรแกรมต้องปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก โดยสามารถบ่งชี้การปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และหากพบสิ่งไม่สอดคล้องสามารถดำเนินการแก้ไขสามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตามความเหมาะสม    

 



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก โดยออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ ดำเนินการตามแผนโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของเด็กเป็นสำคัญ และประเมินผลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยคำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก



คำอธิบายรายละเอียด

1. โปรแกรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก (Intervention Program) หมายถึง โปรแกรมกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับเด็ก/พ่อแม่และผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุ 0-9 ปี เพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการที่ผิดปกติ

2. ปัจจัยเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการที่ผิดปกติ คือ เด็กที่ได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น การใช้สารเสพติด การดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะแท้งคุกคาม ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ระหว่างการคลอดบุตร เช่น ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมของพ่อแม่ผู้เลี้ยงดู เช่น การละเลยเด็ก (child neglect) การใช้ความรุนแรงกับเด็ก (child abuse) การให้เด็กดูหน้าจอเกินความเหมาะสม

3. การประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม คือ การระบุตัวชี้วัดทางพฤติกรรมและการออกแบบการประเมินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโปรแกรม เพื่อประเมิน วัดผล หรือติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมได้ โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดกิจกรรมเพื่อให้ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของโปรแกรมมากขึ้น

4. จริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก หมายถึง จรรยาบรรณในวิชาชีพนักจิตวิทยาอ้างอิงตาม ETHICAL PRINCIPLES OF PSYCHOLOGISTS AND CODE OF CONDUCT รับรองโดยสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2017 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานกับเด็ก



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสัมภาษณ์



 



ยินดีต้อนรับ