หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-XAOA-438A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก


1 2634 นักจิตวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็ก โดยสามารถรวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กด้วยการสังเกตและการใช้เครื่องมือ และรายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็กในแง่ทั้งการประเมินและการถ่ายทอดถึงคนทั่วไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก และรายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10101.1 รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

1. ประเมินปัญหาเบื้องต้นโดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก

10101.1.01 154820
10101.1 รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

2. รวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของเด็ก โดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก

10101.1.02 154821
10101.1 รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

3. คัดเลือกเครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

10101.1.03 154822
10101.1 รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

4. จัดเตรียมอุปกรณ์/บุคลากรให้พร้อมต่อการประเมิน

10101.1.04 154823
10101.1 รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

5. ดำเนินการตามขั้นตอนในการประเมินพัฒนาการเด็กดังที่ระบุไว้ในคู่มือและปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสม

10101.1.05 154824
10101.1 รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

6. ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญหากเด็กมีปัญหาเกินขอบเขตความชำนาญ

10101.1.06 154825
10101.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก

1. บันทึกข้อมูลการประเมินลงในแบบฟอร์มมาตรฐานหรือที่ออกแบบไว้อย่างเหมาะสม

10101.2.01 154826
10101.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก

2. ตีความผลการประเมินตามคู่มือการใช้มาตรวัด/เครื่องมือ

10101.2.02 154827
10101.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก

3. แจ้งผลการประเมินทางวาจาให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

10101.2.03 154828
10101.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก

4. เขียนรายงานผลการประเมินพร้อมข้อเสนอแนะต่อผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก

10101.2.04 154829
10101.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก

5. เลือกใช้หรือออกแบบรายงานการประเมินให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

10101.2.05 154830

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการวัดและประเมินผลทางจิตวิทยาพัฒนาการในเด็กโดยใช้เครื่องมือและรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมตามวัย

  • ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับเด็ก และครอบครัว

  • ทักษะในการสื่อสารข้อมูลเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับผู้รับสาร



 



 



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน อันประกอบด้วย การเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึงปัญหาพัฒนาการในเด็ก

  • ความรู้ในการวัดและการประเมินพัฒนาการเด็ก

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กที่ได้มาตรฐานหรือที่ใช้อย่างแพร่หลายในวงการวิชาการ เช่น Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM), Denver Developmental Screening Test II (Denver II), Bayley Scales Of Infant and Toddler Development (Bayley), Digit-Span Test, Dimensional Change Card Sort (DCCS)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แบบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็ก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสาธิตการปฏิบัติงาน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการในเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 9 ขวบ เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรม การรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินในเบื้องต้น และการประเมินด้วยเครื่องมือ การคัดเลือกเครื่องมือ จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรในการประเมิน และดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อประเมิน และปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสม สามารถตีความผลจากการประเมิน และรายงานผลทั้งทางวาจาและเขียนรายงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็กจากการสังเกตพฤติกรรม รู้จักและสามารถใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานที่ใช้ในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็กโดยทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทย พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม



คำอธิบายรายละเอียด  

1. พัฒนาการเด็ก หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมทั้งในด้านโครงสร้าง หน้าที่ และพฤติกรรมของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 9 ปี อันเกิดจากอิทธิพลของพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดู โดยอาจเป็นผลจากที่เด็กได้รับมาตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ โดยพัฒนาการเด็ก สามารถแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ดังนี้

1.1 พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง ความสามารถในการควบคุมและประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การเคลื่อนไหวร่างกายที่ประสานกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการเจริญเติบโตที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย

1.2 พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัวผ่านประสาทสัมผัส การมีประสบการณ์กับสิ่งต่าง ๆ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความสามารถในการสร้างภาพในสมอง (Mental representation) มีความสามารถในการให้ความสนใจและเปลี่ยนความสนใจ จดจำข้อมูลและยับยั้งพฤติกรรมของตนเอง สามารถเรียนรู้ภาษาและวิธีการสื่อสาร ทั้งในรูปแบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา รู้จักการใช้เหตุผลอย่างง่าย โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นรูปธรรมของสิ่งรอบตัว

1.3 พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ เข้าใจอารมณ์พื้นฐานต่าง ๆ และอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมทั้งของตนเองและผู้อื่น และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม สามารถกำกับ ควบคุมและจัดการพฤติกรรมทางอารมณ์และพฤติกรรมทางสังคมของตนเอง มีความสามารถในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนรอบข้าง

2. พฤติกรรมเด็ก หมายถึง การตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งเร้าภายในหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมที่สังเกตได้ภายนอก เช่น การเดิน การพูด และพฤติกรรมภายใน เช่น กระบวนการคิด และอารมณ์

3. การประเมินพัฒนาการเด็ก หมายถึง การใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ เพื่อตรวจวัดระดับพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวข้างต้น อันมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัญหาทางพัฒนาการที่อาจเกิดขึ้น และกำหนดแนวทางการจัดโปรแกรมเพื่อสร้างเสริม/ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นลำดับต่อไป

4. เครื่องมือ/มาตรวัดที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการเด็ก หมายถึง เครื่องมือที่ได้มาตรฐานที่ใช้ในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการเด็กโดยทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทย เช่น Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM), Denver Developmental Screening Test II (Denver II), Bayley Scales Of Infant and Toddler Development (Bayley)



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสาธิตการปฏิบัติงาน โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น



 



ยินดีต้อนรับ