หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบงานริก (Rig)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ -HALA-123A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบงานริก (Rig)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างริก (Key Rig)    

ISCO 2654



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบสถานที่ถ่ายทำ (Technical Scout) เพื่อการออกแบบงานริก (Rig) เตรียมข้อมูลเพื่อการออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ และออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig) โดยสามารถระบุลักษณะการใช้งานอุปกรณ์ ระบุชนิด ระบุประเภทของอุปกรณ์ริกที่จะใช้ในการถ่ายทำ และออกแบบ ดัดแปลงอุปกรณ์ริก (Rig) ได้ถูกต้องตามลักษณะการใช้งาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมภาพยนตร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1041001

ตรวจสอบสถานที่ถ่ายทำ (Technical Scout) เพื่อการออกแบบงานริก (Rig)

1. ระบุรายละเอียดของสถานที่ถ่ายทำได้ถูกต้องตามบทที่จะถ่ายทำ

1041001.01 154329
1041001

ตรวจสอบสถานที่ถ่ายทำ (Technical Scout) เพื่อการออกแบบงานริก (Rig)

2. วัดขนาดความกว้าง และความสูงของสถานที่ถ่ายทำได้ถูกต้องตามตำแหน่งที่กำหนด

1041001.02 154330
1041001

ตรวจสอบสถานที่ถ่ายทำ (Technical Scout) เพื่อการออกแบบงานริก (Rig)

3. บันทึกรายละเอียดของสถานที่ถ่ายทำได้ถูกต้องตามสภาพของสถานที่

1041001.03 154331
1041001

ตรวจสอบสถานที่ถ่ายทำ (Technical Scout) เพื่อการออกแบบงานริก (Rig)

4. ประเมินสภาพของสถานที่ถ่ายทำได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของการออกแบบงานริก (Rig)

1041001.04 154332
1041002

เตรียมข้อมูลเพื่อการออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

1. ระบุข้อมูลที่จำเป็นเพื่อออกแบบอุปกรณ์ริก (Rig) ได้ถูกต้องตามลักษณะงานที่กำหนด

1041002.01 154333
1041002

เตรียมข้อมูลเพื่อการออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

2. ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการประชุมกับทีมงาน (Production Meeting) เพื่อออกแบบอุปกรณ์ริก (Rig) ได้ถูกต้องตามลักษณะงานที่กำหนด

1041002.02 154334
1041002

เตรียมข้อมูลเพื่อการออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

3. คำนวณน้ำหนักสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig) ได้ถูกต้องตามข้อมูล และลักษณะของพื้นที่ปฏิบัติงาน

1041002.03 154335
1041002

เตรียมข้อมูลเพื่อการออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

4. คำนวณโมเมนตัมสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig) ได้ถูกต้องตามข้อมูล และลักษณะของพื้นที่ปฏิบัติงาน 

1041002.04 154336
1041003

ออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

1. ระบุลักษณะการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig) ได้ถูกต้องตามบทที่จะถ่ายทำ

1041003.01 154337
1041003

ออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

2. ระบุชนิดของอุปกรณ์ริก (Rig) ที่จะใช้ในการถ่ายทำได้ถูกต้องครบถ้วนตามลักษณะการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

1041003.02 154338
1041003

ออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

3. ระบุประเภทของอุปกรณ์ริก (Rig) ที่จะใช้ในการถ่ายทำได้ถูกต้องครบถ้วนตามลักษณะการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

1041003.03 154339
1041003

ออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

4. ออกแบบรูปแบบการใช้อุปกรณ์ริก (Rig) ได้ถูกต้องครบถ้วนตามลักษณะการใช้งาน

1041003.04 154340
1041003

ออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

5. ดัดแปลงอุปกรณ์ริก (Rig) ได้ถูกต้องตามลักษณะการใช้งาน

1041003.05 154341

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น

2. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ริก (Rig) ที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์

3. ความรู้เรื่องการติดตั้งอุปกรณ์ริก (Rig)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะทางการวัดขนาดความกว้างและความสูงของสถานที่ถ่ายทำ

2. ทักษะทางการประเมินสภาพของสถานที่ถ่ายทำ

3. ทักษะการออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องการออกแบบโมเดลสำหรับงานริก

2. ความรู้ด้านวิศวะก่อสร้าง หรือด้านสถาปัตยกรรม หรือการออกแบบก่อสร้าง

3. ความรู้เรื่องการคำนวณน้ำหนักสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน )Performance Evidence)

     1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

     2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม หรือ

     2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบงานริก (Rig) โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ตรวจสอบสถานที่ถ่ายทำ (Technical Scout) เพื่อการออกแบบงานริก (Rig) วัดขนาดความกว้างและความสูงของสถานที่ถ่ายทำ บันทึกรายละเอียด และประเมินสภาพของสถานที่ถ่ายทำเตรียมข้อมูลเพื่อการออกแบบ ประมวลผลข้อมูล คำนวณน้ำหนัก และโมเมนตัมสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig) และออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ริก (Rig) ตามลักษณะการใช้งาน

(ก) คำแนะนำ

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่าน พูด และเขียนศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเครื่องมือ และอุปกรณ์แผนกริก (Rig)  ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

     2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการตรวจสอบสถานที่ถ่ายทำ (Technical Scout)  

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. การตรวจสอบสถานที่ถ่ายทำ (Technical Scout) หมายถึง การออกไปสำรวจสถานที่ถ่ายทำของแผนกกล้อง ไฟ กริป ริก เพื่อประเมินสถานที่ และออกแบบสถานที่ถ่าย ให้แต่ละแผนกสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น และเห็นภาพเดียวกัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

18.3 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ