หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการดูแลความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ -OFOW-066A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการดูแลความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ช่วยช่างภาพ (1st Assistant Camera)

ISCO 2654



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถกำกับดูแลความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องตามหลักความปลอดภัย โดยระบุขั้นตอนการทำงาน ถ่ายทอดขั้นตอนการทำงาน และตรวจสอบการดูแลการทำงานเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของแผนกกล้อง รวมทั้งสามารถตรวจติดตามความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมภาพยนตร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1012601 กำกับดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง 1. ระบุขั้นตอนการทำงานเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสำหรับการทำงานของแผนกกล้องก่อน และหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ได้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักการทำงานเพื่อความปลอดภัยที่กองถ่ายทำกำหนด 153921
1012601 กำกับดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง 2. ถ่ายทอดขั้นตอนการทำงานเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินสำหรับการทำงานของแผนกกล้องให้ผู้เกี่ยวข้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักการทำงานเพื่อความปลอดภัยที่กองถ่ายทำกำหนด 153922
1012601 กำกับดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง 3. ตรวจสอบการดูแลการทำงานเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของแผนกกล้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักการทำงานเพื่อความปลอดภัยที่กองถ่ายทำกำหนด 153923
1012602 ตรวจติดตามความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง 1. ดำเนินการตรวจติดตามความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของทีมงานหลังการถ่ายทำได้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักการทำงานเพื่อความปลอดภัยที่กองถ่ายทำกำหนด 153924
1012602 ตรวจติดตามความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง 2. รายงานความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสำหรับการทำงานของแผนกกล้องให้กับหัวหน้างานได้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กองถ่ายทำกำหนด 153925

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้จักข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษา หรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมการดูแลความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          กำกับดูแลความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องตามหลักความปลอดภัย ถ่ายทอดขั้นตอนการทำงาน และตรวจสอบการดูแลการทำงานเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของแผนกกล้อง รวมทั้งตรวจติดตามความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่าน พูด และเขียนศัพท์เฉพาะทางในแผนกกล้องได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

          2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการแยกประเภทอุปกรณ์ และส่วนประกอบของอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับกล้อง

          3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่าน พูด และเขียนศัพท์เฉพาะทางในแผนกกล้องได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้อง หมายถึง ความปลอดภัยของบุคลากรในแผนกกล้อง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายในสถานที่จริง หรือในโรงถ่ายรวมทั้งบริเวณโดยรอบของบริษัทสร้างภาพยนตร์ โดยมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับแผนกกล้องอย่างเคร่งครัด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ