หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพของภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ -KSMC-068A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพของภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างถ่ายภาพยนตร์ (Camera Operator)

ISCO 2654



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง และการตรวจสอบความเรียบร้อยของเฟรมภาพ สามารถระบุรายละเอียด ระบุองค์ประกอบภาพ ระบุสิ่งผิดปกติที่ปรากฎในเฟรมภาพ และแจ้งสิ่งผิดปกติที่ปรากฎให้ผู้กำกับภาพ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมภาพยนตร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1012801 ควบคุมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง 1.ใช้กล้องถ่ายทำภาพยนตร์ได้ถูกต้องตามหลักการใช้งานของกล้อง 1012801.01 153933
1012801 ควบคุมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง 2.ใช้อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ได้ถูกต้องตามหลักการใช้งานของ 1012801.02 153934
1012801 ควบคุมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง 3.ควบคุมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับ กล้องได้ถูกต้องตามคำสั่งของผู้กำกับภาพหรือผู้กำกับ 1012801.03 153935
1012801 ควบคุมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง 4.ดำเนินการถ่ายภาพได้ถูกต้องตามคำสั่งของ ผู้กำกับภาพในกรณีที่ได้รับมอบหมาย 1012801.04 153936
1012802 ตรวจสอบความเรียบร้อยของเฟรมภาพ 1.ระบุรายละเอียดของเฟรมภาพที่ผู้กำกับภาพกำหนดไว้ได้ถูกต้อง 1012802.01 153937
1012802 ตรวจสอบความเรียบร้อยของเฟรมภาพ 2.ระบุองค์ประกอบภาพที่ผู้กำกับภาพกำหนดไว้ได้ถูกต้อง 1012802.02 153938
1012802 ตรวจสอบความเรียบร้อยของเฟรมภาพ 3.ระบุสิ่งผิดปกติที่ปรากฏในเฟรมภาพ และองค์ประกอบภาพจากภาพที่ผู้กำกับภาพกำหนดไว้ได้ถูกต้อง 1012802.03 153939
1012802 ตรวจสอบความเรียบร้อยของเฟรมภาพ 4.แจ้งสิ่งผิดปกติที่ปรากฏในเฟรมภาพ และองค์ประกอบภาพให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กำหนด 1012802.04 153940

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้กล้องถ่ายทำภาพยนตร์

2. ทักษะการใช้อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์

2. ความรู้ด้านเฟรมภาพ และองค์ประกอบภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

          2. แฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษา หรือผลการอบรม

          2. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลัก ฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ใช้กล้องถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้องขั้นสูง ดำเนินการถ่ายภาพตามคำสั่งของผู้กำกับภาพ ตรวจสอบความเรียบร้อยของเฟรมภาพ และแจ้งสิ่งผิดปกติที่ปรากฎให้ผู้กำกับภาพ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่าน พูด และเขียนศัพท์เฉพาะทางในแผนกกล้องได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

          2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้กล้องถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้องขั้นสูง และดำเนินการถ่ายภาพตามคำสั่งของผู้กำกับภาพ รวมถึงตรวจสอบความเรียบร้อยของเฟรมภาพ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. กล้องถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง หมายถึง กล้องถ่ายภาพยนตร์แบบดิจิทัล Super 35 mm กล้องถ่ายทำภาพยนตร์ด้วย Film 16 mm, Super 35 mm หรือขนาดที่ใหญ่กว่า และสามารถปรับตั้งค่ากล้องต่าง ๆ ได้ถูกต้องตรงตามประเภทกล้อง

          2. อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง (Camera Accessories) ขั้นสูง อาทิเช่น หัว (Head), ขาตั้งกล้องประเภทต่างๆ, Follow Focus, Matte Box, Rod, Monitor Video Assist และ Magic Arm เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน

          1) แฟ้มสะสมผลงาน

18.2 เครื่องมือประเมิน

          1) แฟ้มสะสมผลงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ