หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ และเลนส์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ -ZHUA-061A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ และเลนส์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ช่วยช่างภาพ (1st Assistant Camera)

ISCO 2654



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถจัดเตรียมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง และเลนส์ โดยเลือกใช้เลนส์และกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ได้  สามารถตรวจสอบความพร้อมของเลนส์ และกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ ขั้นสูง รวมทั้งจัดการการ์ดสำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมภาพยนตร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1012101 เลือกเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 1. แยกประเภท และชนิดเลนส์ได้ถูกต้องตามคุณสมบัติของเลนส์ 153866
1012101 เลือกเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 2. ระบุคุณสมบัติและวิธีการใช้งานของเลนส์ได้ถูกต้องตามประเภทและชนิดของเลนส์ 153867
1012101 เลือกเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 3. เลือกใช้เลนส์ได้ถูกต้องตามประเภทของกล้อง 153868
1012102 เลือกกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ 1. แยกประเภท และชนิดกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ได้ถูกต้องตามคุณสมบัติของกล้อง 153869
1012102 เลือกกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ 2. ระบุคุณสมบัติ และวิธีการใช้งานกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ได้ถูกต้องตามประเภทและชนิดของกล้อง 153870
1012102 เลือกกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ 3. เลือกกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ได้ถูกต้องตามภาพที่ ผู้กำกับกำหนด 153871
1012103 ตรวจความพร้อมของกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ 1. ตรวจเช็คจำนวนกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งก่อนและหลังการถ่ายทำได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 153872
1012103 ตรวจความพร้อมของกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ 2. ระบุขั้นตอนการตรวจสภาพกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งก่อน และหลังการถ่ายทำได้ถูกต้องตามหลักการของกล้อง 153873
1012103 ตรวจความพร้อมของกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ 3. ตรวจเช็คสภาพกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งก่อน และหลังการถ่ายทำได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด 153874
1012104 ตรวจความพร้อมของเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 1. ตรวจเช็คจำนวนเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งก่อนและหลังการถ่ายทำได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 153875
1012104 ตรวจความพร้อมของเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 2. ระบุขั้นตอนการตรวจสภาพเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งก่อนและหลังการถ่ายทำได้ถูกต้องตามหลักการของกล้อง 153876
1012104 ตรวจความพร้อมของเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 3. ตรวจเช็คสภาพเลนส์สำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งก่อนและหลังการถ่ายทำได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด 153877
1012105 จัดการการ์ดสำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 1. บรรจุ (Load)การ์ดสำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เข้ากล้องได้อย่างถูกต้องตามวิธีการใช้งานของกล้อง 153878
1012105 จัดการการ์ดสำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 2. ตรวจสอบสถานะของไฟล์ในการ์ดก่อนลบข้อมูลได้ถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติงาน 153879
1012105 จัดการการ์ดสำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ 3. Format การ์ดสำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ ได้ถูกต้องตามประเภทของอุปกรณ์ 153880

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเตรียมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง และเลนส์

2. ทักษะการตรวจเช็คสภาพกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง และเลนส์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง และเลนส์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน )Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดเตรียมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูงและเลนส์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          จัดเตรียมกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง และเลนส์ โดยเลือกเลนส์ และเลือกกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ตรวจความพร้อมของเลนส์ และกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ โดยประกอบด้วยการตรวจเช็คจำนวน และการตรวจเช็คสภาพของเลนส์ และกล้องสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งก่อน และหลังการถ่ายทำ จัดการการ์ดสำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ โดยบรรจุ (Load) การ์ด ตรวจสอบสถานะของไฟล์ในการ์ด และ Format การ์ดสำหรับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่าน พูด และเขียนศัพท์เฉพาะทางในแผนกกล้องได้ทั้งภาษาไทย   และภาษาอังกฤษ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. กล้องถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง อาทิ กล้อง Camera Cinema เช่น Arri Alexa เป็นต้น

          2. เลนส์ อาทิ เลนส์ Fix/Zoom, Wild, Normal Tele Macro เลนส์ภาพยนตร์ (PL/EFMount)

          3. การบรรจุ (Load) การ์ด หมายถึง การใส่การ์ดสำหรับบันทึกข้อมูลเข้าไปในที่ใส่ของอุปกรณ์ทางการถ่ายภาพ

          4. สถานะของไฟล์ในการ์ด หมายถึง การตรวจสอบไฟล์ที่ผ่านการบันทึกในการ์ดว่าเป็นไฟล์ที่ได้รับการโหลดเพื่อจัดเก็บไฟล์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

          5. การ Format การ์ด หมายถึง การลบ หรือกำจัดข้อมูลที่บันทึกไว้ในการ์ด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

18.3 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

18.4 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

18.5 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ