หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยฉุกเฉิน

สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DPM-AEVX-057A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยฉุกเฉิน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2211 แพทย์ทั่วไป
1 2212 แพทย์เฉพาะทาง
1 2221 พยาบาลวิชาชีพ
1 2240 ผู้ช่วยแพทย์
1 3256 ผู้ช่วยด้านการแพทย์
1 3258 ผู้ปฏิบัติงานด้านรถพยาบาล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถประเมิน พิจารณา ความปลอดภัยของที่เกิดเหตุและรู้บทบาทหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติได้ ป้องกันปัญหาสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาใช้ในระบบการแพทย์ฉุกเฉินสามารถใช้องค์ความรู้ ชีวสถิติและวิทยาการระบาด มาพิจารณา ประเมิน วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาสาฉุกเฉินชุมชนอาสาฉุกเฉินการแพทย์ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์นักปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินEmergency paramedicParamedical practitionersMedical assistant

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101311

ประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน

1 ประเมิน พิจารณา ความปลอดภัยของที่เกิดเหตุและรู้บทบาทหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติได้

101311.01 172598
101311

ประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน

2 ปฏิบัติการประเมินสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง

101311.02 172599
101312

อธิบายความรู้ป้องกันปัญหาสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

1. ใช้องค์ความรู้ วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพได้

101312.01 172600
101312

อธิบายความรู้ป้องกันปัญหาสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

2. ใช้องค์ความรู้ ประเมินปัญหาสุขภาพได้

101312.02 172601
101312

อธิบายความรู้ป้องกันปัญหาสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

3. ใช้องค์ความรู้ ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมได้

101312.03 172602
101313

อธิบายความรู้อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาใช้ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

1. ใช้องค์ความรู้อาชีวอนามัยในระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้

101313.01 172603
101313

อธิบายความรู้อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาใช้ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

2. ใช้องค์ความรู้ความปลอดภัยในการทำในระบบ การแพทย์ฉุกเฉินได้

101313.02 172604
101313

อธิบายความรู้อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาใช้ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

3. ประเมิน การปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความปลอดภัยได้

101313.03 172605
101314

อธิบายความรู้ชีวสถิติและวิทยาการระบาด

1.อธิบายชีวสถิติได้

101314.01 172606
101314

อธิบายความรู้ชีวสถิติและวิทยาการระบาด

2.อธิบายวิธีวิทยาการระบาดได้

101314.02 172607
101314

อธิบายความรู้ชีวสถิติและวิทยาการระบาด

3.อธิบายวิธีประเมิน วิเคราะห์ ชีวสถิติและวิทยาการระบาด เพื่อนำไปใช้ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้

101314.03 172608
101315

ประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น

1. อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้นได้

101315.01 172609
101315

ประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น

2. ประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินขั้นต้นได้

101315.02 172610
101316

ประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินขั้นต้น

1. อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน ขั้นต้นได้

101316.01 172611
101316

ประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินขั้นต้น

2. ประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินขั้นต้นได้

101316.02 172612
101317

ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บขั้นต้น

1. ให้การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุเบื้องต้นที่จุดเกิดเหตุตามหลักการ Primary ssessment ได้

101317.01 172613
101317

ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บขั้นต้น

2. อธิบายกลไกการบาดเจ็บและให้การป้องกันได้ถูกต้อง

101317.02 172614
101317

ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บขั้นต้น

3. ประเมินความปลอดภัย และประเมินสถานการณ์ของจุดเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม

101317.03 172615
101317

ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บขั้นต้น

4. ให้การดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ช่องอก ท้อง ช่องเชิงกราน การบาดเจ็บของรยางค์ การบาดเจ็บที่ศีรษะ การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง การบาดเจ็บของอวัยวะสืบพันธุ์ การจมน้ำ การถูกไฟฟ้าช็อตการบาดเจ็บจากรังสี การบาดเจ็บจากเหตุระเบิดการบาดเจ็บหลายระบบ การดูแลในสถานการณ์พิเศษ การได้รับแก๊สพิษ การบาดเจ็บจากความร้อนและความเย็น การบาดเจ็บจากกรด-เบสการบาดเจ็บจากแผลไหม้ ที่จุดเกิดเหตุและ สั่งการหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ได้อย่างเหมาะสมได้อย่างถูกต้อง

101317.04 172616
101317

ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บขั้นต้น

5. ทำหัตถการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลได้

101317.05 172617
101318

ประเมินสภาพผู้ป่วยต่อเนื่อง

1 อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติการประเมินสภาพผู้ป่วยต่อเนื่องได้

101318.01 172618
101318

ประเมินสภาพผู้ป่วยต่อเนื่อง

2 ประเมินสภาพผู้ป่วยต่อเนื่อง

101318.02 172619
101319

ซักประวัติและตรวจร่างกายทางปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 

1. รับผิดชอบในมารยาท และจรรยาบรรณวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน

101319.01 172620
101319

ซักประวัติและตรวจร่างกายทางปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 

2.ซักประวัติและตรวจร่างกายในระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท กล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง ผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินอาหาร สูตินรีเวช โรคตาในภาวะฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ

101319.02 172621
101319

ซักประวัติและตรวจร่างกายทางปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 

3. อธิบายวิธีทำการคัดกรองเบื้องต้น

101319.03 172622

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์

ปริญญาบัตรนักปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือเทียบเท่า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      ทักษะเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการฉุกเฉินตามกลุ่มอาการโรคในภาวะฉุกเฉินการแพทย์

      ทักษะเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการฉุกเฉินตามกลุ่มอาการโรคในภาวะฉุกเฉินจากการบาดเจ็บ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      ความรู้เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการฉุกเฉินตามกลุ่มอาการโรคในภาวะฉุกเฉินการแพทย์

      ความรู้เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการฉุกเฉินตามกลุ่มอาการโรคในภาวะฉุกเฉินจากการบาดเจ็บ 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ประกาศนียบัตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์

ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

ประกาศนียบัตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

ปริญญาบัตร สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์หรือเทียบเท่า

      (ข)หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

หลักสูตรปริญญา สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์หรือเทียบเท่า

      (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติและหลักฐานความรู้

      (ง) วิธีการประเมิน

1.ทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก                                                                         

2.สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

      ปฏิบัติการ ให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ใน เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรม ตามคำสั่งแพทย์และการอำนวยการ พ.ศ.2556

(ข) คำอธิบายวิธีรายละเอียด

      สามารถประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถประเมิน พิจารณา ความปลอดภัยของที่เกิดเหตุและรู้บทบาทหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติได้ ป้องกันปัญหาสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาใช้ในระบบการแพทย์ฉุกเฉินสามารถใช้องค์ความรู้ ชีวสถิติและวิทยาการระบาด มาพิจารณา ประเมิน วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก                                                                         

2.สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ