หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ธรรมภิบาลข้อมูลตามหลักจริยธรรม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-CQOB-374B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ธรรมภิบาลข้อมูลตามหลักจริยธรรม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นบุคลากรและผู้ปฏิบัติหน้าที่งานเกี่ยวข้องด้านข้อมูลส่วนบุคคลและงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การจัดทำรายการข้อมูลส่วนบุคคล มีจริยธรรมและจรรยาบรรณ และสร้างความตระหนักรู้ ด้านการคุ้มครองข้อมูส่วนบุคคล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพในสาขาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10404.01

จัดทำรายการข้อมูลส่วนบุคคล

1. จัดทำเอกสารการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

10404.01.01 153338
10404.01

จัดทำรายการข้อมูลส่วนบุคคล

2. ดำเนินการจำแนกและการจัดชั้นข้อมูล

10404.01.02 153339
10404.01

จัดทำรายการข้อมูลส่วนบุคคล

3. ปฏิบัติตามหน้าที่งานที่รับผิดชอบ

10404.01.03 153340
10404.02

จริยธรรมและจรรยาบรรณ

1. ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม

10404.02.01 153341
10404.02

จริยธรรมและจรรยาบรรณ

2. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่รับผิดชอบ

10404.02.02 153342
10404.03

สร้างความตระหนักรู้ ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

1. สื่อสารและสร้างความตระหนักรู้ ในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

10404.03.01 153343
10404.03

สร้างความตระหนักรู้ ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

2. ดำเนินการจัดทำแผนการฝึกอบรมที่สอดคล้องด้านเทคนิคและด้านกฎหมาย

10404.03.02 153344

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการจัดทำและดำเนินการ และให้คำแนะนำบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการรายการข้อมูลส่วนบุคคล (เอกสารการปฏิบัติงานและผลดำเนินการของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การจำแนกและจัดชั้นข้อมูล ฯลฯ)

2.    ทักษะในการจัดทำและดำเนินการ และให้คำแนะนำบุคลากรในการปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม จรรยาบรรณ สำหรับการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯลฯ)

3.    ทักษะในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งการจัดทำสื่อสร้างความตระหนักรู้ การจัดฝึกอบรมที่สอดคล้องด้านเทคนิคและด้านกฎหมาย ฯลฯ)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับรายการข้อมูลส่วนบุคคล (เอกสารการปฏิบัติงานและผลดำเนินการของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การจำแนกและจัดชั้นข้อมูล ฯลฯ)

2.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรม จรรยาบรรณ สำหรับการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯลฯ)

3.    ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การจัดทำสื่อสร้างความตระหนักรู้ การจัดฝึกอบรมที่สอดคล้องด้านเทคนิคและด้านกฎหมาย ฯลฯ)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผลการปฏิบัติงาน โดยมีการรายงานชั่วโมงการปฏิบัติงาน ชั่วโมงสะสมจำนวนรวม 120 ชั่วโมง สำหรับระยะเวลา 3 ปี หรือ อย่างน้อยปีละ 30 ชั่วโมง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         1. ผลจากการสอบข้อเขียน

         2. ผลจากแฟ้มสะสมผลงาน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ และผลจากเอกสารหลักฐานการจัดทำมาตรฐานจริยธรรม จรรยาบรรณ เอกสารหลักฐานการจัดทำและเผยแพร่สื่อสร้างความตระหนักรู้/ เอกสารหลักฐานการจัดฝึกอบรม จำแนกตามกลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(ง)    วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานความรู้

        2. พิจารณาตามหลักฐานแฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ การดำเนินการ และการรับรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรม จรรยาบรรณ การสื่อสร้างความตระหนักรู้ ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ รวมทั้งการจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

        - การจำแนกข้อมูลส่วนบุคคล (ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวตามกฎหมาย (Sensitive) ข้อมูลสำคัญอื่น) 

        - มาตรฐานจริยธรรม จรรยาบรรณ (Code of Practice, Code of Ethics, Professional Ethics) 

        - การสื่อสารสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) 

        - การจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง (Training, Education)

        - ผลสำรวจ/การรับข้อมูลป้อนกลับ (Feedback, Survey) จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินจัดทำรายการข้อมูลส่วนบุคคล

         1) ผลข้อสอบข้อเขียน

         2) แฟ้มสะสมผลงาน

18.2  เครื่องมือประเมินจริยธรรมและจรรยาบรรณ

         1) ผลข้อสอบข้อเขียน

         2) แฟ้มสะสมผลงาน

18.3  เครื่องมือประเมินสร้างความตระหนักรู้ ด้านการคุ้มครองข้อมูส่วนบุคคล

         1) ผลข้อสอบข้อเขียน

         2) แฟ้มสะสมผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ