หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทยด้วยวิธีการเชิงหัตถศิลป์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ -INNX-032A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทยด้วยวิธีการเชิงหัตถศิลป์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างผลิตเครื่องดนตรีไทย


1 7312 ช่างทำเครื่องดนตรีและปรับเสียงดนตรี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีความรู้ ทักษะในการเพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทยด้วยวิธีการเชิงหัตถศิลป์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างผลิตเครื่องดนตรีไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102061

จัดหาส่วนประกอบเครื่องดนตรีไทย

1. คัดเลือกวัตถุดิบให้เหมาะกับเครื่องดนตรีเพื่อเพิ่มมูลค่า 

102061.01 153470
102061

จัดหาส่วนประกอบเครื่องดนตรีไทย

2. ใช้วัตถุดิบให้คุ้มค่ากับงาน

102061.02 153471
102062

ประกอบส่วนประกอบเครื่องดนตรีที่สร้างจากวัสดุต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทย

1. ประกอบส่วนประกอบเครื่องดนตรีที่สร้างจากวัสดุต่าง ๆ 

102062.01 153472
102062

ประกอบส่วนประกอบเครื่องดนตรีที่สร้างจากวัสดุต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทย

2. ตรวจสอบผลงานให้มีความสวยงาม มีมูลค่า

102062.02 153473

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-  ทักษะการผลิตเครื่องดนตรีไทยที่มีวัสดุต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบเพื่อการเพิ่มมูลค่า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-  ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทย 

-  ความรู้เกี่ยวกับแหล่งวัตถุดิบ ภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยาเบื้องต้น 

-  ความรู้เกี่ยวกับงานหัตถศิลป์ไทยที่สามารถเพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       -  หลักฐานภาพเครื่องดนตรีไทยหรือตัวอย่างเครื่องดนตรีไทย

       -  เอกสารหรือใบรับรองประสบการณ์ทำงานจากผู้เชี่ยวชาญ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       -  ผลการสอบข้อเขียน

       -  ผลการสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ประเมินผลเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทยด้วยงานหัตถศิลป์



 (ง)  วิธีการประเมิน

     - การสอบข้อเขียน และ

    -  สอบสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    ผู้รับการประเมินจะต้องแสดงความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทยด้วยงานหัตถศิลป์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1)  การเพิ่มมูลค่าเครื่องดนตรีไทยด้วยงานหัตถศิลป์ หมายถึง การเลือกใช้ไม้ในการประดิษฐ์เครื่องดนตรี การนำเอาวัสดุต่าง ๆ มาประกอบด้วยกรรมวิธีช่าง ทำให้เครื่องดนตรีไทยมีความสวยงามหรือในบางงานสามารถทำให้เครื่องดนตรีไทยมีเสียงที่ไพเราะขึ้น เช่น การประกอบงา ประกอบไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้พุด ไม้มะเกลือ ไม้โมก เป็นต้น ประกอบเรซิ่น ลงรักปิดทอง เขียนสี ฝังมุก ฝังไม้ แกะสลักลาย ฉลุลาย สลักลาย ติดกระจก เป็นต้น

    2) การประกอบส่วนประกอบเครื่องดนตรีที่สร้างจากวัสดุต่าง ๆ ด้วยการกลึง ติด ฉลุ ประกบ สลัก แกะ ปิด เขียน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน 

        1. แบบสัมภาษณ์

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานหรือแบบสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ