หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบและควบคุมการคัดแยกลำไย เพื่อส่งจำหน่าย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-CBHS-422A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบและควบคุมการคัดแยกลำไย เพื่อส่งจำหน่าย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพลำไยหลังการคัดแยกและบรรจุจากสวนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เข้าใจและอธิบายสาระสำคัญของงานด้วยหลักการที่ถูกต้อง สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือ ภายใต้การแนะแนวของหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ลำไย (มกษ. 1-2546)2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก3. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ. 9047-2560)4. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด (มกษ. 9035-2563) 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
105011

ตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพลำไย
เพื่อส่งจำหน่าย  

1. ระบุคุณภาพลำไยตามชั้นคุณภาพของลำไย
หรือเกรดคุณภาพได้ 

105011.01 153692
105011

ตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพลำไย
เพื่อส่งจำหน่าย  

2. อธิบายวิธีการตรวจสอบคุณภาพลำไยตามคุณลักษณะ
ภายนอก 

105011.02 153693
105011

ตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพลำไย
เพื่อส่งจำหน่าย  

3. อธิบายลักษณะลำไยช่อ และลำไยผลเดี่ยวเพื่อส่งจำหน่าย
ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

105011.03 153694
105011

ตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพลำไย
เพื่อส่งจำหน่าย  

4. อธิบายวิธีการคัดแยกของเสียในบรรจุภัณฑ์ลำไยได้

105011.04 153695
105012

ควบคุมการคัดแยกคุณภาพลำไยเพื่อส่งจำหน่าย

1. อธิบายวิธีการบรรจุลำไยให้เป็นไปตามข้อกำหนด 

105012.01 153696
105012

ควบคุมการคัดแยกคุณภาพลำไยเพื่อส่งจำหน่าย

2. ระบุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุลำไยที่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อควบคุมคุณภาพลำไยและป้องกันการเสียหายต่อผลลำไย 

105012.02 153697

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพลำใยชั้นต่ำ และคุณภาพลำไยตามชั้นคุณภาพหรือเกรดคุณภาพตามข้อกำหนดที่จำหน่ายไปแหล่งจำหน่ายในภูมิภาคต่าง ๆ ได้

2. มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกลำไย

3. มีความรู้เกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชในลำไย

4. มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้สด

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการคัดแยกผลลำไยให้ได้ตามชั้นคุณภาพหรือเกรดคุณภาพที่กำหนดเพื่อจำหน่ายในภูมิภาคต่าง ๆ  

2. ทักษะในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลลำไยในบรรจุภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ผลลำใยไม่เน่าเสีย  ไม่มีกิ่งหรือใบไม้แห้งที่ปะปน ขนาดผลลำไยสม่ำเสมอ ไม่พบการคละขนาดในบรรจุภัณฑ์ ปลอดจากศัตรูพืช 

3. ทักษะในการทำงานเป็นทีมและสื่อสารในส่วนงานที่รับผิดชอบ

4. ทักษะแก้ปัญหาพื้นฐานในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลลำไย

4. ทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการคัดแยกคุณภาพและตัดแต่งช่อลำไย

5. ทักษะการควบคุมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน

6. ทักษะการจำแนกโรคพืชและศัตรูพืชในลำไย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการคัดแยกผลลำไยให้ได้ตามชั้นคุณภาพหรือเกรดคุณภาพที่กำหนดเพื่อจำหน่ายในภูมิภาคต่าง ๆ  

2. ทักษะในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลลำไยในบรรจุภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ผลลำใยไม่เน่าเสีย  ไม่มีกิ่งหรือใบไม้แห้งที่ปะปน ขนาดผลลำไยสม่ำเสมอ ไม่พบการคละขนาดในบรรจุภัณฑ์ ปลอดจากศัตรูพืช 

3. ทักษะในการทำงานเป็นทีมและสื่อสารในส่วนงานที่รับผิดชอบ

4. ทักษะแก้ปัญหาพื้นฐานในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลลำไย

4. ทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการคัดแยกคุณภาพและตัดแต่งช่อลำไย

5. ทักษะการควบคุมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน

6. ทักษะการจำแนกโรคพืชและศัตรูพืชในลำไย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ผลการสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      -



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

    การสอบสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. วัสดุอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกคุณภาพผลลำไยในกระบวนการผลิตของโรงคัดบรรจุ เช่น อุปกรณ์การตรวจสอบศัตรูพืช (เข็มเขี่ย มีดผ่า แว่นขยาย) กรรไกร ตะกร้าพลาสติกรองรับของเสียหรือไม่ได้คุณภาพ กระดาษรองตะกร้า สติกเกอร์หรือฉลากติดบรรจุภัณฑ์ที่แสดงข้อมูลรายละเอียดของลำไย และชั้นคุณภาพหรือเกรดคุณภาพลำไย   เป็นต้น

2. โรงรวบรวม/ โรงคัดบรรจุ หมายถึง พื้นที่หรืออาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมและบริหารจัดการสำหรับคัดบรรจุผลลำไย โดยมีการจัดการผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยวตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การจัดเตรียม การคัดเลือก การตัดแต่ง การบรรจุ การเก็บรักษา จนถึงการขนส่ง พื้นที่ผลิตควรมีแนวทางในการลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชเข้าทำลายผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การใช้มุ้งตาข่ายขนาด 30 เมช บริเวณทางเข้าออกควรเป็นประตู 2 ชั้น เป็นต้น

3. การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพลำไยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่บังคับใช้ภายในประเทศ ประเทศส่งออก และความต้องการของลูกค้า พิจารณาจากคุณลักษณะของลำไยและบรรจุภัณฑ์

4.การตรวจสอบคุณภาพลำไยตามคุณลักษณะภายนอก ได้แก่ ขนาดของผล  สีเปลือกผล   และลักษณะผิวเปลือก โรคและศัตรูพืช หลังการคัดแยกและการจัดชั้นคุณภาพเพื่อส่งจำหน่ายได้

5.การจัดชั้นคุณภาพ  หมายถึง การคัดเกรดผลไม้ ได้แก่ ขนาด สี ความสมบูรณ์ ตามข้อกำหนดของคู่ค้าในแต่ละภูมิภาคและเกณฑ์ความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพภายนอกที่เกี่ยวกับโรคและแมลงของผลไม้

6. คุณภาพขั้นต่ำของลำไยตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ลำไย (มกอช. 1-2546) ต้องมีผลสมบูรณ์ มีลักษณะคุณภาพที่ดี ไม่เน่าเสีย ไม่ช้ำ และไม่มีตำหนิที่เห็นเด่นชัด ปลอดจากศัตรูพืช และความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืช ปลอดจากความเสียหายอันเนื่องมาจากอุณหภูมิต่ำ และอุณหภูมิสูง ปลอดจากความชื้นที่ผิดปกติจากภายนอก ปลอดจากกลิ่นแปลกปลอม และรสชาติผิดปกติ

7. ขนาดของลำไยช่อ และลำไยผลเดี่ยว พิจารณาจากจำนวนผลต่อกิโลกรัม หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของผลตามข้อกำหนดขนาดในมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ลำไย (มกษ. 1-2546)

8. ควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่บังคับใช้ภายในประเทศ  ประเทศที่จะส่งออกไปจำหน่าย และความต้องการของลูกค้า ได้แก่ อุณหภูมิการเก็บรักษา ลักษณะการบรรจุ  การบ่งชี้สถานะของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานที่บังคับใช้ภายในประเทศ ประเทศที่จะส่งออกไปจำหน่าย  และความต้องการของลูกค้า ได้แก่ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก 

9. มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 10

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์หรือการสาธิตการทำงานหรือสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ