หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาระหว่างการคัดแยก ผลมังคุด

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-IJSU-421A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาระหว่างการคัดแยก ผลมังคุด

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกตรวจสอบคุณภาพผลมังคุดในระหว่างการขนส่งมายังโรงรวบรวม/โรงคัดบรรจุได้ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด แก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือ เข้าใจและอธิบายสาระสำคัญของงานด้วยหลักการที่ถูกต้อง ใช้สารสนเทศเพื่อควบคุมคุณภาพของผลการปฏิบัติงานภายใต้การแนะแนวของหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง มังคุด (มกษ. 2-2556)2. การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดลักษณะ ของเครื่องหมาย การใช้เครื่องหมาย และการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานกับสินค้าเกษตร พ.ศ. 2553 และประกาศสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง3. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ. 9047-2560)4. มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ มกษ. 9035 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
104041

วิเคราะห์ปัญหาระหว่างการคัดแยกผลมังคุด
เพื่อส่งจำหน่าย

1. รวบรวมปัญหาด้านคุณภาพของผลมังคุดจากปัจจัยต่าง ๆ

104041.01 153668
104041

วิเคราะห์ปัญหาระหว่างการคัดแยกผลมังคุด
เพื่อส่งจำหน่าย

2. อธิบายสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของผลมังคุดไม่เป็นไป
ตามมาตรฐานที่กำหนด

104041.02 153669
104042

แก้ไขปัญหาระหว่างการคัดแยกผลมังคุด
เพื่อส่งจำหน่าย

1. ประสานงานและให้ข้อมูลแก่ผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไข
ปัญหาหากคุณภาพของผลมังคุดไม่เป็นไปตามาตรฐาน
ที่กำหนด

104042.01 153670
104042

แก้ไขปัญหาระหว่างการคัดแยกผลมังคุด
เพื่อส่งจำหน่าย

2. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพของผลมังคุด

104042.02 153671

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชนิดและการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลมังคุด

2. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดและการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดผลมังคุด

3. มีความรู้เกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชในมังคุด

4. มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้สด

5. มีความรู้และทักษะการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (ร้อยละ) และสถิติเบื้องต้น (ค่าเฉลี่ย)

6. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการคัดแยกผลมังคุดตามที่มาตรฐานกำหนด

2. ทักษะในการทำงานเป็นทีมและสื่อสารในส่วนงานที่รับผิดชอบ

3. ทักษะแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

4. ทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการการตรวจสอบคุณภาพผลมังคุด

5. ทักษะการควบคุมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุบคลของผู้ปฏิบัติงาน

6. ทักษะการจำแนกโรคพืชและแมลงศัตรูพืชในมังคุด

7. ทักษะการจัดเรียงและบรรจุผลมังคุดลงในบรรจุภัณฑ์

8. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลสำหรับทำรายงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้พื้นฐานตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคลและหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลมังคุด

3. วัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดผลมังคุด

4. ชนิดและลักษณะของวัตถุดิบผลมังคุด

5. การจำแนกโรคพืชและแมลงศัตรูพืชในมังคุด

6. การจัดเรียงและบรรจุผลมังคุดลงในบรรจุภัณฑ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ผลการสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      -



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

    การสอบสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. วัสดุอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกคุณภาพผลมังคุดในกระบวนการผลิตของโรงคัดบรรจุ เช่น อุปกรณ์การตรวจสอบศัตรูพืช (เข็มเขี่ย พู่กัน มีดผ่า) ตะกร้าพลาสติก กระดาษรองตะกร้า กล่องกระดาษ เป็นต้น

2. โรงรวบรวม/ โรงคัดบรรจุ หมายถึง พื้นที่หรืออาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมและบริหารจัดการสำหรับคัดบรรจุผลผลิต โดยมีการจัดการผลมังคุดหลังการเก็บเกี่ยวตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การจัดเตรียม การคัดเลือกขนาด การคัดเลือกสี การบรรจุ การเก็บรักษา จนถึงการขนส่ง พื้นที่ผลิตควรมีแนวทางในการลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชเข้าทำลายผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การใช้มุ้งตาข่ายขนาด 30 เมช บริเวณทางเข้าออกควรเป็นประตู 2 ชั้น เป็นต้น

3. มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 10

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A    

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A    

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์หรือการสาธิตการทำงานหรือสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ