หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฎิบัติงานคัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวได้จากสวน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-YVSW-419A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฎิบัติงานคัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวได้จากสวน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกคุณภาพผลมังคุดและขนส่งมายังโรงรวบรวม/โรงคัดบรรจุได้ การทำความสะอาดมังคุดก่อนการบรรจุได้ถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ แก้ไขปัญหาที่พบในระหว่างการปฏิบัติงานได้ภายใต้การแนะนำของหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง มังคุด (มกษ. 2-2556)2. การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดลักษณะ ของเครื่องหมาย การใช้เครื่องหมาย และการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานกับสินค้าเกษตร พ.ศ. 2553 และประกาศสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง3. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ. 9047-2560)4. มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ มกษ. 9035 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
104021

คัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวจาก
คุณภาพภายนอก หรือลักษณะทางกายภาพ

1. อธิบายวิธีการคัดแยกคุณภาพมังคุดตามลักษณะ
ทางกายภาพได้ 

104021.01 153653
104021

คัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวจาก
คุณภาพภายนอก หรือลักษณะทางกายภาพ

2. คัดแยกคุณภาพมังคุดได้ขนาดที่ลูกค้าต้องการ

104021.02 153654
104021

คัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวจาก
คุณภาพภายนอก หรือลักษณะทางกายภาพ

3. คัดแยกคุณภาพมังคุดได้ตามรูปทรงและสีที่ลูกค้าต้องการ

104021.03 153655
104021

คัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวจาก
คุณภาพภายนอก หรือลักษณะทางกายภาพ

4. คัดแยกคุณภาพมังคุดได้ตามตำหนิผิวที่ลูกค้าต้องการ

104021.04 153656
104022

คัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวได้จาก
คุณภาพภายใน 

1. อธิบายวิธีการคัดแยกคุณภาพผลมังคุดตามคุณภาพภายใน 

104022.01 153657
104022

คัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวได้จาก
คุณภาพภายใน 

2. คัดแยกคุณภาพผลมังคุดตามความแน่นเนื้อ

104022.02 153658
104022

คัดแยกคุณภาพผลมังคุดที่เก็บเกี่ยวได้จาก
คุณภาพภายใน 

3. คัดแยกคุณภาพผลมังคุดตาม ความหวาน

104022.03 153659
104023

ทำความสะอาดผลมังคุดก่อนการบรรจุได้

1. ระบุวิธีทำความสะอาดมังคุด

104023.01 153660
104023

ทำความสะอาดผลมังคุดก่อนการบรรจุได้

2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดให้อยู่ในสภาพ
พร้อมใช้งาน

104023.02 153661
104023

ทำความสะอาดผลมังคุดก่อนการบรรจุได้

3. ทำความสะอาดผล มังคุดได้ถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติงาน 

104023.03 153662
104023

ทำความสะอาดผลมังคุดก่อนการบรรจุได้

4. ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน

104023.04 153663

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชนิดและการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลมังคุด

2. มีความรู้เกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของผลมังคุด

3. มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวม/โรงคัดบรรจุผลไม้สด

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล

2. ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน

3. ทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลมังคุด

4. ทักษะการจำแนกโรคและความผิดปกติของผลมังคุด

5. ทักษะการจัดเรียงและบรรจุผลมังคุดลงในบรรจุภัณฑ์

6. ทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดผลมังคุด

7. มีทักษะการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยในการผลิตอาหาร

2. วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลมังคุด

3. วัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดผลมังคุด

4. คุณภาพและการแบ่งชั้นคุณภาพของมังคุด

5. การจำแนกโรคและความผิดปกติของผลมังคุด

6. การจัดเรียงและบรรจุผลมังคุดลงในบรรจุภัณฑ์

7. มีความรู้การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     ผลการสอบสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      -

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

     การสอบสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. วัสดุอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกคุณภาพผลมังคุดในกระบวนการผลิตของโรงคัดบรรจุ เช่น อุปกรณ์การตรวจสอบศัตรูพืช (เข็มเขี่ย พู่กัน มีดผ่า) ตะกร้าพลาสติก กระดาษรองตะกร้า เป็นต้น

2. โรงรวบรวม/ โรงคัดบรรจุ หมายถึง พื้นที่หรืออาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมและบริหารจัดการสำหรับคัดบรรจุผลมังคุด โดยมีการจัดการผลมังคุดหลังการเก็บเกี่ยวตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การจัดเตรียม การคัดเลือกขนาด การคัดเลือกสี   การบรรจุ การเก็บรักษา จนถึงการขนส่ง พื้นที่ผลิตควรมีแนวทางในการลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชเข้าทำลายผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การใช้มุ้งตาข่ายขนาด 30 เมช บริเวณทางเข้าออกควรเป็นประตู 2 ชั้น เป็นต้น

3. การทำความสะอาดผลมังคุดได้ถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติงาน เช่น การเช็ด การเป่าลมไล่แมลง 

4. มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 10

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์หรือการสาธิตการทำงานหรือสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ