หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฎิบัติงานเก็บเกี่ยวและคัดแยกผลชมพู่จากสวน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BWOA-406A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฎิบัติงานเก็บเกี่ยวและคัดแยกผลชมพู่จากสวน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกคุณภาพผลชมพู่ การทำความสะอาดผลชมพู่ได้ถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ แก้ไขปัญหาที่พบในระหว่างการปฏิบัติงานได้ภายใต้การแนะนำของหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ชมพู่ (มกษ. 17-2554)2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก3. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ. 9047-2560)4. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด (มกษ. 9035-2563) 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101021

ปฏิบัติเก็บเกี่ยวชมพู่จากต้น

1. ระบุวิธีการเก็บเกี่ยวผลชมพู่จากต้น
ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม

101021.01 153260

2. วิธีลำเลียงผลชมพู่มายังพื้นที่รวบรวม

101021.02 153261
101022

ขนส่งผลชมพู่ออกจากสวนไปยังโรงรวบรวม/
โรงคัดบรรจุ

1. ประเมินพาหนะที่ใช้ในการขนส่งมายังโรงรวบรวม
หรือโรงคัดบรรจุ

101022.01 153265

2. เลือกวิธีทำความสะอาดและบำรุงรักษาพาหนะ
ที่ใช้ในการขนส่งมายังโรงรวบรวมหรือโรงคัดบรรจุ

101022.02 153266

3. รูปแบบการจัดเรียงผลชมพู่ที่เหมาะสมกับการขนส่ง

101022.03 153267

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชนิดและการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลชมพู่

2. มีความรู้เกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชในชมพู่

3. มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวม/โรงคัดบรรจุผลไม้สด

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล

2. ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน

3. ทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลชมพู่

4. ทักษะการจำแนกโรคพืชและแมลงศัตรูพืชในชมพู่

5. ทักษะการจัดเรียงและบรรจุผลชมพูลงในบรรจุภัณฑ์

6. ทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดผลชมพู่

7. มีทักษะการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยในการผลิตอาหาร

2. วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลชมพู่

3. ชนิดและลักษณะของผลชมพู่

4. การจำแนกโรคพืชและแมลงศัตรูพืชในชมพู่

5. การจัดเรียงและบรรจุผลชมพู่ลงในบรรจุภัณฑ์

6. วัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดผลชมพู่

7. มีความรู้การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      ผลการสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      -

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

     การสอบสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. วัสดุอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกคุณภาพผลชมพู่ในกระบวนการผลิตของโรงคัดบรรจุ เช่น อุปกรณ์การตรวจสอบศัตรูพืช (เข็มเขี่ย พู่กัน มีดผ่า กล้องสเตอริโอ และแว่นขยาย) ตะกร้าพลาสติก กระดาษรองตะกร้า ตาข่ายโฟม กระดาษห่อผล กล่องกระดาษ เป็นต้น

2. โรงรวบรวม/ โรงคัดบรรจุ หมายถึง พื้นที่หรืออาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมและบริหารจัดการสำหรับคัดบรรจุผลชมพู่ โดยมีการจัดการผลชมพู่หลังการเก็บเกี่ยวตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การจัดเตรียม การคัดเลือก การตัดแต่ง การบรรจุ การเก็บรักษา จนถึงการขนส่ง พื้นที่ผลิตควรมีแนวทางในการลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชเข้าทำลายผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การใช้มุ้งตาข่ายขนาด 30 เมช บริเวณทางเข้าออกควรเป็นประตู 2 ชั้น เป็นต้น

3. มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 10

4. คัดแยกคุณภาพผลชมพู่ที่เก็บเกี่ยวจากคุณภาพภายนอก หรือลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ขนาดผล รูปร่าง สี กลิ่น โดยพิจารณา ตรงตามพันธุ์ ขนาดผล รูปทรง สีผิว โรคพืช ร่องรอยการทำลายของศัตรูพืช รอยแตกตำหนิ (รอยผิวถลอกสด/แห้ง รอยขีดข่วน) 

5. คัดแยกคุณภาพผลชพู่ที่เก็บเกี่ยวได้จากคุณภาพภายใน ด้วยเครื่องมือ และปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ความแน่นเนื้อ โดย การผ่าผลตรวจสอบหนอนหรือไข่ของแมลงวันผลไม้ และหนอนแดง ความหวาน ดัชนีความสุก 

6. การทำความสะอาด หมายถึง การเช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ติดตามผิวชมพู่หลังจากแกะถุงพลาสติกที่ห่อผลออกด้วยผ้าหรือฟองน้ำหมาดๆ

7. การทำความสะอาดผลชมพู่ได้ถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติงาน ได้แก่ การแกะถุงพลาสติกห่อผล การเช็ดผิวผลชมพู่ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์หรือการสาธิตการทำงานหรือสังเกตการปฏิบัติงาน