หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บูรณาการภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับงานบริการนวดไทย

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-XMZC-211B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บูรณาการภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับงานบริการนวดไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีสมรรถนะในการบริหารจัดการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน ให้คำปรึกษาด้านการบูรณาการภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับงานบริการนวดไทย สามารถเลือกใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพประจำวันและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักการวิชาการและเหมาะสมกับผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1031001

เลือกใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

1. บ่งชี้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

1031001.01 155805
1031001

เลือกใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

2. อธิบายวิธีการใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 

1031001.02 155806
1031001

เลือกใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

3. เลือกใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับผู้รับบริการ

1031001.03 155807
1031002

ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

1. เลือกภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นที่จะประยุกต์ใช้กับการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับผู้รับบริการ 

1030102.01 155810
1031002

ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

2. ดำเนินการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทยและเหมาะสมกับผู้รับบริการ

1030102.02 155811

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย

2.    ทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

3.    ทักษะในการใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพประจำวัน

4.    ทักษะในการบูรณาการภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับงานบริการนวดไทย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

2. ความรู้ในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

3. ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่น อาทิ การตอกเส้น การดึงเส้น การเขี่ยเส้น การขิดเส้น  

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)

    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

    3. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสัมภาษณ์ 

ประเมินทักษะโดยใช้การสังเกตการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

เลือกใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 



(ก)    คำแนะนำ 

1.    การเลือกใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ต้องมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถบ่งชี้และเลือกใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับผู้รับบริการ

2.    การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพสุขภาพ ต้องมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถเลือกและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นที่จะประยุกต์ใช้กับการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับผู้รับบริการ

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถบริหารจัดการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมด้านภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นและการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพในการพัฒนางานบริการ สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นและการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้คำปรึกษาด้านการบูรณาการภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่นกับงานบริการนวดไทย

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

ภูมิปัญญาไทยตามท้องถิ่น อาทิ การตอกเส้น การดึงเส้น การเขี่ยเส้น การขิดเส้น  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์



    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ