หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยมากกว่า 1 รูปแบบ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-IBCI-210B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยมากกว่า 1 รูปแบบ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถบริหารจัดการและใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน สามารถจัดเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับการประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพมากกว่า 1 รูปแบบ ได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030901

เตรียมความพร้อมสำหรับการประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยมากกว่า 1 รูปแบบ

1. บ่งชี้วัสดุอุปกรณ์สำหรับการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามรูปแบบเทคนิคการนวดไทยที่จะประยุกต์ใช้

1030901.01 153098
1030901

เตรียมความพร้อมสำหรับการประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยมากกว่า 1 รูปแบบ

2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการนวดไทยได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและเพียงพอตามรูปแบบเทคนิคการนวดไทยที่จะประยุกต์ใช้

1030901.02 153099
1030902

ประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทย

1. บ่งชี้เทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่จะประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับผู้รับบริการ

1030902.01 153100
1030902

ประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทย

2. อธิบายเทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่จะประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย 

1030902.02 153101
1030902

ประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทย

3. ประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพมากกว่า 1 รูปแบบ ได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย

1030902.03 153102

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย

    2. ความรู้และทักษะในการนวดไทยขั้นพื้นฐาน

    3. ความรู้และทักษะในการนวดไทยแบบปรับองศาการนวดและการลงน้ำหนัก

    4. ความรู้และทักษะในการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย

2.    ทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

3.    ทักษะในการประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยมากกว่า 1 รูปแบบ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

2. ความรู้ในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)

    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสัมภาษณ์ 

ประเมินทักษะโดยใช้การสังเกตการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

จัดเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับการประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพมากกว่า 1 รูปแบบ และประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย ไม่น้อยกว่า 2 วิธี



(ก)    คำแนะนำ 

1. การเตรียมความพร้อมสำหรับการประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยมากกว่า 1 รูปแบบ ต้องสามารถบ่งชี้และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการนวดไทยได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและเพียงพอตามรูปแบบเทคนิคการนวดไทยที่จะประยุกต์ใช้

2. การประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพมากกว่า 1 รูปแบบ ต้องบ่งชี้เทคนิคการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่จะประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับผู้รับบริการ สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดสำหรับการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทย และสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทยครอบคลุมทุกส่วน ไม่น้อยกว่า 2 วิธี

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถบริหารจัดการและใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวกับเทคนิคการนวดไทยมากกว่า 1 รูปแบบมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนางานการบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ผู้ให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ คือ การนวดเพื่อสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดัด การประคบ การอบ หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลปะของการนวดเพื่อสุขภาพ และเพื่อส่งเสริมสุขภาพองค์รวม (องค์รวมก็คือการบูรณาการเทคนิคการลงน้ำหนักหรือการแต่งรสมือ  ซึ่งเกิดจากทักษะหรือความเชี่ยวชาญที่มีการพัฒนาความสามารถขึ้นมาหรือการบูรณาการใช้อุปกรณ์ร่วมกับการนวดไทย และส่งเสริมสุขภาพทั้งสุขภาพทางกายและจิตใจให้อยู่ในภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล)

2.    การประยุกต์ใช้เทคนิคการนวดไทย คือการนำเทคนิคของการนวดเพื่อสุขภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดัด การประคบ การอบ หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลปะของการนวดเพื่อสุขภาพ มากกว่า 1 รูปแบบ มาใช้ในการให้บริการ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์



    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ