หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการด้านการบุคลากรของสถานประกอบการนวดไทย

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-BURV-220B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการด้านการบุคลากรของสถานประกอบการนวดไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักบริหารจัดการนวดไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีสมรรถนะในการบริหารจัดการ แก้ปัญหาในบริบทที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถคาดการณ์ได้ มีทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ สามารถวางแผนการบริหารจัดการและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการบริการนวดไทย ติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1040801

วางแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร

1. ตรวจสอบความเพียงพอของบุคลากรสำหรับการบริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของสถานประกอบการ

1040801.01 153150
1040801

วางแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร

2. วางแผนความต้องการและจัดสรรบุคลากรได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของสถานประกอบการ

1040801.02 153151
1040801

วางแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร

3. จัดทำแผนการบริหารจัดการบุคลากรตามเป้าหมายเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของสถานประกอบการ

1040801.03 153152
1040802

วางแผนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร

1. กำหนดสมรรถนะบุคลากรที่ต้องการและระบบประเมินสมรรถนะของบุคลากรด้วยความละเอียด รอบคอบ

1040802.01 153153
1040802

วางแผนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร

2. กำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรได้ถูกต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานประกอบการ

1040802.02 153154
1040802

วางแผนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร

3. จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรได้ละเอียดชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานประกอบการ

1040802.03 153155
1040803

ติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร

1. ติดตามการดำเนินงานของบุคลากรได้อย่างถูกต้องชัดเจนตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร

1040803.01 153156
1040803

ติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร

2. ประเมินแผนงานด้านบุคลากรได้อย่างถูกต้องชัดเจนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานประกอบการ

1040803.02 153157

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการบริหารงานบุคลากร

2. ทักษะในการวางแผน ติดตามและประเมินผล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร

2. ความรู้ในการวางแผน ติดตามและประเมินผล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน 

    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสัมภาษณ์ 

ประเมินทักษะโดยใช้การสัมภาษณ์ และแฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

วางแผนการบริหารจัดการและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการบริการนวดไทย ติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การวางแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากรต้องตรวจสอบความเพียงพอของบุคลากรสำหรับการบริการนวดไทย วางแผนความต้องการและจัดสรรบุคลากร รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการบุคลากรตามเป้าหมายเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของสถานประกอบการ

2.    การวางแผนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต้องทำการกำหนดสมรรถนะบุคลากรที่ต้องการและระบบประเมินสมรรถนะของบุคลากรด้วยความละเอียด รอบคอบ และกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสถานประกอบการ รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ละเอียดชัดเจน

3.    การติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากรต้องติดตามการดำเนินงานของบุคลากรตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร และประเมินแผนงานด้านบุคลากรอย่างถูกต้องชัดเจนสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสถานประกอบการ

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถบริหารจัดการการบุคลากรของสถานประกอบการนวดไทย สามารถแก้ปัญหาในบริบทที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถคาดการณ์ได้ มีทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนางานด้านบุคลากรของสถานประกอบการนวดไทยได้อย่างเป็นระบบ



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

   N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แฟ้มสะสมผลงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แฟ้มสะสมผลงาน

    

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ