หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการด้านการตลาดของสถานประกอบการนวดไทย

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-FUUF-218B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการด้านการตลาดของสถานประกอบการนวดไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักบริหารจัดการนวดไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีสมรรถนะในการบริหารจัดการ แก้ปัญหาในบริบทที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถคาดการณ์ได้ มีทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ สามารถสำรวจและสรุปความต้องการของผู้รับบริการนวดไทย วางแผนการตลาดงานบริการนวดไทย รวมทั้งจัดการข้อมูลของผู้รับบริการนวดไทย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1040601

สรุปความต้องการของผู้รับบริการนวดไทย

1.สำรวจความต้องการของผู้รับบริการตามเป้าหมายที่กำหนดได้ชัดเจนถูกต้อง

1040601.01 155803
1040601

สรุปความต้องการของผู้รับบริการนวดไทย

2.สรุปผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการนวดไทยได้ชัดเจนถูกต้อง

1040601.02 155804
1040602

วางแผนการตลาดงานบริการนวดไทย

1. วางแผนทางการตลาดงานบริการนวดไทยให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับสถานการณ์

1040602.01 153140
1040602

วางแผนการตลาดงานบริการนวดไทย

2. จัดทำแแผนการตลาดงานบริการนวดไทยสู่การปฏิบัติได้ชัดเจนและสามารถวัดผลได้

1040602.02 153141
1040602

วางแผนการตลาดงานบริการนวดไทย

3. ถ่ายทอดแผนการตลาดงานบริการนวดไทยสู่การปฏิบัติได้ถูกต้องชัดเจน

1040602.03 153142
1040603

จัดการข้อมูลของผู้รับบริการนวดไทย

1. รวบรวมข้อมูลการรับบริการนวดไทยในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ถูกต้องครบถ้วน โดยคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ภายในสถานประกอบการ 

1040603.01 153143
1040603

จัดการข้อมูลของผู้รับบริการนวดไทย

2. วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลการรับบริการนวดไทยเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการนวดไทยได้ ถูกต้องครบถ้วน

1040603.02 153144

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวางแผนการตลาดของงานบริการ

2. ทักษะในการสื่อสารและถ่ายทอดแผนการตลาดงานบริการสู่การปฏิบัติ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายและเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

2. ความรู้ด้านการวางแผนการตลาดของงานบริการ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน 

    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสัมภาษณ์ 

ประเมินทักษะโดยใช้การสัมภาษณ์ และแฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

สำรวจและสรุปความต้องการของผู้รับบริการนวดไทย วางแผนการตลาดงานบริการนวดไทย รวมทั้งจัดการข้อมูลของผู้รับบริการนวดไทย

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การสรุปความต้องการของผู้รับบริการนวดไทยต้องทำการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการตามเป้าหมายที่กำหนด และสรุปผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการนวดไทยอย่างชัดเจนถูกต้อง

2.    การวางแผนการตลาดงานบริการนวดไทยควรวางแผนการบริการให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยจัดทำและถ่ายทอดแแผนการตลาดงานบริการนวดไทยสู่การปฏิบัติอย่างชัดเจน

3.    การจัดการข้อมูลของผู้รับบริการนวดไทยต้องรวบรวมข้อมูลการรับบริการนวดไทยในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างถูกต้องครบถ้วน โดยคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ภายในสถานประกอบการ และนำไปวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลการรับบริการนวดไทยเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการนวดไทยอย่างถูกต้องครบถ้วน 

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถบริหารจัดการการตลาดงานบริการนวดไทย สามารถแก้ปัญหาในบริบทที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถคาดการณ์ได้ มีทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนางานด้านการตลาดงานของสถานประกอบการได้อย่างเป็นระบบ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

   N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แฟ้มสะสมผลงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แฟ้มสะสมผลงาน

    

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ