หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-JECV-207B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง สามารถจัดการแก้ไขปัญหาทั่วไปด้านการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ สามารถประเมินผู้รับบริการนวดเพื่อวิเคราะห์ท่านวดและแนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030601

ประเมินผู้รับบริการนวดเพื่อวิเคราะห์ท่านวด

1. ทวนสอบข้อมูลประวัติด้านสุขภาพ ประวัติการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขอรับบริการได้ถูกต้องครบถ้วน

1030601.01 153083
1030601

ประเมินผู้รับบริการนวดเพื่อวิเคราะห์ท่านวด

2. สอบถามความต้องการรับบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและสุภาพ

1030601.02 153084
1030601

ประเมินผู้รับบริการนวดเพื่อวิเคราะห์ท่านวด

3. วิเคราะห์ท่านวดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพได้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้รับบริการตามหลักการนวดไทยและหลักการทางวิชาการ

1030601.03 153085
1030602

ให้คำแนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนแก่ผู้รับบริการ

1. อธิบายการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้ถูกต้องตามหลักการนวดไทยและหลักการทางวิชาการ 

1030602.01 153086
1030602

ให้คำแนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนแก่ผู้รับบริการ

2. แนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ อย่างน้อย 7 ท่าให้กับผู้รับบริการได้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการนวดไทยและหลักการทางวิชาการ

1030602.02 153087

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย

2.    ทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

3.    ทักษะในการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

2. ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน

3. ความรู้เกี่ยวกับเส้นประธานสิบ

4. ความรู้ในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

 





 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)

    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

    3. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ 

ประเมินทักษะโดยใช้การสัมภาษณ์ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ประเมินผู้รับบริการนวดเพื่อวิเคราะห์ท่านวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพและให้คำแนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตน อย่างน้อย 7 ท่า ให้กับผู้รับบริการ

(ก)    คำแนะนำ 

1. การประเมินผู้รับบริการนวดเพื่อวิเคราะห์ท่านวดต้องทวนสอบข้อมูลประวัติด้านสุขภาพ ประวัติการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขอรับบริการอย่างละเอียดรอบคอบ สอบถามความต้องการรับบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างละเอียดครบถ้วนด้วยความสุภาพ และวิเคราะห์ท่านวดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับผู้รับบริการและถูกต้องตามหลักการนวดไทยและหลักการทางวิชาการ

2. การให้คำแนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนแก่ผู้รับบริการต้องมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และแนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการนวดไทยและหลักการทางวิชาการ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ท่าฤาษีดัดตน

ท่าที่ 1: ท่านวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า  (ฤๅษีดัดตนบริเวณใบหน้า)

 ท่าที่ 2: ท่าเทพพนม  (ฤๅษีดัดตนแก้ลมในลำลึงค์ และลมข้อมือ)

 ท่าที่ 3: ท่าชูหัตถ์วาดหลัง  (ฤๅษีดัดตนแก้ปวดท้องและข้อเท้า และแก้ลมปวดศีรษะ)

 ท่าที่ 4: ท่าแก้เกียจ  (ฤๅษีดัดตนแก้ลมเจ็บศีรษะและตามัว)

 ท่าที่ 5: ท่าดึงศอกไล้คาง  (ฤๅษีดัดตนแก้แขนขัด และแก้ขัดแขน)

 ท่าที่ 6: ท่านั่งนวดเข่า  (ฤๅษีดัดตนแก้กล่อน และแก้เข่าขัด)

 ท่าที่ 7: ท่ายิงธนู (ท่าฤๅษีดัดตนแก้กล่อนปัตคาด และแก้เส้นมหาสนุกระงับ)

 ท่าที่ 8: ท่าอวดแหวนเพชร  (ฤๅษีดัดตนแก้ลมในแขน เน้นการแก้อาการปวดแขนเป็นหลัก)

 ท่าที่ 9: ท่าดำรงกายอายุยืน  (ฤๅษีดัดตนดำรงกายอายุยืน)

 ท่าที่ 10: ท่านางแบบ  (ฤๅษีดัดตนแก้ไหล่ ขา และแก้เข่า)

 ท่าที่ 11: ท่านอนหงายผายปอด  (ฤๅษีดัดตนแก้โรคในอก)

 ท่าที่ 12: ท่าเต้นโขน  (ฤๅษีดัดตนแก้ตะคริวมือ ตะคริวเท้า)

 ท่าที่ 13: ท่ายืนนวดขา  (ฤๅษีดัดตนแก้ตะโพกสลักเพชร)

 ท่าที่ 14: ท่านอนคว่ำทับหัตถ์  (ฤๅษีดัดตนแก้ลมเลือดนัยน์ตามัว และแก้ลมรันรัดทั้งตัว)

 ท่าที่ 15: ท่าแอ่นองค์แหงนพักตร์  (ฤๅษีดัดตนแก้เมื่อยปลายมือ ปลายเท้า)



2.    ผู้ให้บริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ คือ การนวดเพื่อสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดัด การประคบ การอบ หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลปะของการนวดเพื่อสุขภาพ และเพื่อส่งเสริมสุขภาพองค์รวม (องค์รวมก็คือการบูรณาการเทคนิคการลงน้ำหนักหรือการแต่งรสมือ  ซึ่งเกิดจากทักษะหรือความเชี่ยวชาญที่มีการพัฒนาความสามารถขึ้นมาหรือการบูรณาการใช้อุปกรณ์ร่วมกับการนวดไทย และส่งเสริมสุขภาพทั้งสุขภาพทางกายและจิตใจให้อยู่ในภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล)

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเองเพื่อประเมินผู้รับบริการนวดเพื่อวิเคราะห์ท่านวดและให้คำแนะนำการใช้ท่าฤาษีดัดตนแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งสามารถจัดการแก้ไขปัญหาทั่วไปด้านการใช้ท่าฤาษีดัดตนในการบริการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์    



   ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ