หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ปัญหาเฉพาะหน้างานของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-LAII-205B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้างานของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ให้บริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถปรับใช้หลักการหาข้อสรุปประเด็นปัญหา แก้ไขปัญหาการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายในบริบทที่คาดการณ์ปัญหาได้ ตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตนเอง ควบคุมงาน และประสานการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพผลงานอย่างต่อเนื่อง สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้างานของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย โดยสามารถระบุและแยกแยะปัญหาที่เกิด พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตามขั้นตอนที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030401

เลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย

1. ระบุปัญหาของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายได้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์

1030401.01 153070
1030401

เลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย

2. ระบุขั้นตอนการแก้ไขปัญหาาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์และเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดของสถานประกอบการ

1030401.02 153071
1030401

เลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย

3. เลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์และเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดของสถานประกอบการ

1030401.03 153072
1030402

ดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย

1. วิเคราะห์ลักษณะปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายได้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์

1030402.01 153073
1030402

ดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย

2. แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์และเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดของสถานประกอบการ

1030402.02 153074

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดปัญหา และการแก้ไชปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    ความรู้เกี่ยวกับงานบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)

    2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

    3. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้และทักษะโดยใช้การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ตัดสินใจและดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายต้องสามารถสรุปวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดปัญหา แยกแยะลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมทั้งดำเนินการแก้ไขได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์และเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดของสถานประกอบการ

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถปรับใช้หลักการหาข้อสรุปประเด็นปัญหา แก้ไขปัญหาการบริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายในบริบทที่คาดการณ์ปัญหาได้ ตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตนเอง ควบคุมงาน และประสานการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพผลงานอย่างต่อเนื่อง

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

ผู้ให้บริการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย คือ การนวดเพื่อสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดัด การประคบ การอบ หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลปะของการนวดเพื่อสุขภาพ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมิน 

1)  แบบบันทึกการสัมภาษณ์    

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ