หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างสรรค์นวัตกรรมในการฝึกอบรมการบริการนวดไทย

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-FJRV-201B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างสรรค์นวัตกรรมในการฝึกอบรมการบริการนวดไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ฝึกสอนการบริการนวดไทย  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีสมรรถนะในการสร้างสรรค์องค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ที่โดดเด่น มีทักษะขั้นสูงสุดในการทำงานที่ใช้สร้างสรรค์หลักการหรือแนวความคิดใหม่ในวงการอาชีพ มีผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศขึ้นไป สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ประยุกต์ใช้ทักษะในการนวดไทยที่หลากหลาย และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการนวดไทยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของการฝึกอบรมการบริการนวดไทย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020801

ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านการนวดไทย

1. ประยุกต์ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการอบรมด้านการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการ

1020801.01 153049
1020801

ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านการนวดไทย

2. ประยุกต์ใช้ทักษะในการนวดไทยที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องตามหลักการ

1020801.02 153050
1020801

ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านการนวดไทย

3. ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการ

1020801.03 153051
1020802

สร้างสรรค์นวัตกรรมการฝึกอบรมการบริการนวดไทย

1. สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการนวดไทย (Creative Innovation Massage) ได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทย

1020802.01 153052
1020802

สร้างสรรค์นวัตกรรมการฝึกอบรมการบริการนวดไทย

2. สร้างเมนูใหม่ๆ ด้านนวัตกรรมของการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทย

1020802.02 153053

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ทั่วไปงานบริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านการนวดไทย

2. ทักษะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการฝึกอบรมการบริการนวดไทย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ในการให้บริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัยหลายรูปแบบ

    2. องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการนวดไทย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน 

    2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสัมภาษณ์

ประเมินทักษะโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านการนวดไทยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในการฝึกอบรมการบริการนวดไทย



(ก)    คำแนะนำ 

การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการฝึกอบรมการบริการนวดไทย ต้องสามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ที่โดดเด่น ใช้ทักษะขั้นสูงสุดในการทำงานที่ใช้สร้างสรรค์หลักการหรือแนวความคิดใหม่ในการอบรมการบริการนวดไทย สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านการนวดไทยทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ ทักษะในการนวดไทยที่หลากหลาย และองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างเมนูใหม่ๆ ด้านนวัตกรรมของการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทยและเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และ/หรือระดับสากล อาทิ การได้รับรางวัล การแสดงผลงาน เป็นต้น



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

    N/A  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แฟ้มสะสมผลงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แฟ้มสะสมผลงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ