หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการงานฝึกอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-TNMY-200B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการงานฝึกอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ฝึกสอนการบริการนวดไทย  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีสมรรถนะในการบริหารจัดการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถคาดการณ์ได้ พัฒนาองค์ความรู้ในงานอบรมการบริการนวดไทยอย่างเป็นระบบ สามารถจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) การอบรมการบริการนวดไทยสามารถบริหารตารางการอบรมการบริการนวดไทย และบริหารจัดการบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020701

จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) การอบรมการบริการนวดไทย

1. กำหนดรูปแบบในการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการบริการและสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสถานประกอบการ

1020701.01 153042
1020701

จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) การอบรมการบริการนวดไทย

2. กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับหลักการบริการและสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสถานประกอบการ

1020701.02 153043
1020702

บริหารตารางการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ

1. วางแผนการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสถานประกอบการ

1020702.01 153044
1020702

บริหารตารางการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ

2. จัดตารางเวลาการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างเหมาะสมเพียงพอกับหัวข้อในการอบรม

1020702.02 153045
1020703

บริหารจัดการบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ

1. จัดสรรและมอบหมายบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอตามตารางการอบรมของสถานประกอบการ

1020703.01 153046
1020703

บริหารจัดการบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ

2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานประกอบการอย่างชัดเจน โปร่งใส เป็นธรรม

1020703.02 153047
1020703

บริหารจัดการบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ

3. ประเมินผลงานบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานประกอบการโดยสอบทวนอย่างละเอียด รอบคอบ

1020703.03 153048

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ทั่วไปงานบริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวางแผนและจัดตารางการอบรม

2. ทักษะในการบริหารจัดการบุคลากร

3. ทักษะในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัยในหลากหลายสาขา

2. ความรู้เกี่ยวกับการอบรมและเทคนิคฝึกอบรม

3. ความรู้เกี่ยวกับบริหารจัดการบุคลากร



4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน 

    2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสัมภาษณ์

ประเมินทักษะโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) การอบรมการบริการนวดไทย บริหารตารางการอบรมและบริหารบุคลากรการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการ



(ก)    คำแนะนำ 

1.    การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) การอบรมการบริการนวดไทยต้องมีการกำหนดรูปแบบและขั้นตอนในการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการบริการนวดไทยและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานประกอบการ

2.    การบริหารตารางการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการต้องวางแผนการอบรมและจัดตารางเวลาการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างเพียงพอกับหัวข้อในการอบรมและเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานประกอบการ

3.    การบริหารจัดการบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยของสถานประกอบการต้องมีการจัดสรรและมอบหมายบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอตามตารางการอบรมของสถานประกอบการ มีการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยที่ชัดเจน โปร่งใส เป็นธรรม และดำเนินการประเมินผลงานบุคลากรในการอบรมการบริการนวดไทยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานประกอบการโดยสอบทวนอย่างละเอียด รอบคอบ

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถบริหารจัดการงานอบรมบริการนวดไทยของสถานประกอบการทั้งการวางแผนการอบรม การบริหารจัดดการบุคลากร และแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถคาดการณ์ได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) สำหรับการอบรมการบริการนวดไทยได้อย่างเป็นระบบ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

    N/A  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แฟ้มสะสมผลงาน

18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แฟ้มสะสมผลงาน

    

 ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ