หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อบรมการนวดไทยประยุกต์

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-ECTQ-197B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อบรมการนวดไทยประยุกต์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ฝึกสอนการบริการนวดไทย  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีสมรรถนะในการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานอบรมการนวดไทย สามารถกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมการนวดไทยประยุกต์ จัดเตรียมความพร้อมสำหรับการอบรมการนวดไทยประยุกต์ และดำเนินการอบรมการนวดไทยประยุกต์ได้ถูกต้องตามหลักการนวดไทย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020401

กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมการนวดไทยประยุกต์

1. กำหนดแนวทางการอบรมการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย

1020401.01 153025
1020401

กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมการนวดไทยประยุกต์

2. กำหนดหัวข้อการอบรมการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย

1020401.02 153026
1020402

จัดเตรียมความพร้อมสำหรับการอบรมการนวดไทยประยุกต์

1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการอบรมการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและเพียงพอต่อผู้เข้ารับการอบรมครบถ้วน

1020402.01 153027
1020402

จัดเตรียมความพร้อมสำหรับการอบรมการนวดไทยประยุกต์

2. จัดเตรียมเอกสารสำหรับการอบรมการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างชัดเจนถูกต้องครบถ้วนและเพียงพอต่อผู้เข้ารับการอบรมครบถ้วน

1020402.02 153028
1020403

ดำเนินการอบรมการนวดไทยประยุกต์

1. อบรมการใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทย

1020403.01 153029
1020403

ดำเนินการอบรมการนวดไทยประยุกต์

2. อบรมการนวดไทยไประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทย

1020403.02 153030

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย

2.    ความรู้และทักษะในการอบรมการให้บริการนวดไทย

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

2.    ทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

3.    ทักษะในการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

4.    ทักษะด้านการอบรม การสื่อความ การนำเสนอ หรือดำเนินการฝึกอบรม ด้วยเทคนิคฝึกอบรม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการให้บริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

2. ความรู้ในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

3. ความรู้ในการนวดไทยประยุกต์

4. ความรู้ในการจัดทำหลักสูตรหรือแนวทางการจัดการอบรม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)

    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

    3. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง)   วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสัมภาษณ์ 

ประเมินทักษะโดยใช้การสังเกตการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมการนวดไทยประยุกต์ จัดเตรียมความพร้อมสำหรับการอบรมการนวดไทยประยุกต์ และดำเนินการอบรมการนวดไทยประยุกต์ โดยสามารถอบรมการนวดไทยประยุกต์และการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทยและหลักความปลอดภัย และกำหนดแนวทางหรือวิธีการอบรมนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย ไม่น้อยกว่า 2 วิธี



(ก)    คำแนะนำ 

1.    การกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมการนวดไทยประยุกต์ ต้องกำหนดแนวทางและหัวข้อของการอบรมที่มีความชัดเจนและสอดคล้องทั้งวัตถุประสงค์ หลักสูตร แนวทางการจัดการอบรม งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย และผลลัพธ์ที่ต้องการจากการจัดอบรม รวมทั้งจัดตารางการอบรมหรือกำหนดการอบรมโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ หัวข้อการอบรมที่ชัดเจน โดยกำหนดแนวทางหรือวิธีการอบรมการนวดไทยประยุกต์ ได้อย่างถูกต้องตามหลักการนวดไทย ไม่น้อยกว่า 2 วิธี

2.    การจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการอบรมการนวดไทยประยุกต์ ต้องสามารถจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสารสำหรับการอบรมได้อย่างชัดเจนถูกต้องครบถ้วนและเพียงพอตามจำนวนผู้เข้ารับการอบรม

3.    การดำเนินการอบรมการนวดไทยประยุกต์ ต้องสามารถอบรมการใช้วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดสำหรับการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และสามารถอบรมการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทยครอบคลุมทุกส่วน

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมทั้งด้านการนวดไทยและการใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อการพัฒนาการอบรมนวดไทย ในการกำหนดหลักสูตรและจัดเตรียมความพร้อมการฝึกอบรมการนวดไทยประยุกต์ และอบรมการนวดไทยประยุกต์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการการนวดไทยครอบคลุมทุกส่วน



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

การนวดไทยประยุกต์ อาทิ การนวดไทยโดยประยุกต์ใช้น้ำมันเป็นสื่อในการนวด การนวดไทยโดยใช้เทคนิคการกดจุด การนวดไทยโดยใช้ลูกประคบ การนวดไทยโดยใช้ไม้ตอกเส้น เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน    

18.3 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ