หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สรุปการให้บริการนวดไทยประจำเดือน

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-EQTQ-189B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สรุปการให้บริการนวดไทยประจำเดือน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพพนักงานต้อนรับการบริการนวดไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีสมรรถนะทางเทคนิค สามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง สามารถสรุปรายรับจากการให้บริการนวดไทย และประเมินผลความพึงพอใจการให้บริการนวดไทย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010601

สรุปรายรับจากการให้บริการนวดไทย

1. สรุปรายรับจากงานบริการนวดไทยระหว่างรอบ (Short Brief) ให้กับผู้ปฏิบัติงานในรอบต่อไปได้อย่างถูกต้องครบถ้วนด้วยความรอบคอบ

1010601.01 152984
1010601

สรุปรายรับจากการให้บริการนวดไทย

2. บันทึกสรุปรายรับงานบริการนวดไทยประจำวัน ณ สิ้นสุดการปฏิบัติงานแต่ละวัน ในสมุดบันทึกงานประจำวัน (Log Book) ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนด้วยความรอบคอบ

1010601.02 152985
1010602

ประเมินผลความพึงพอใจการให้บริการนวดไทย

1. วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจเบื้องต้นที่ได้จากผู้รับบริการได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

1010602.01 152986
1010602

ประเมินผลความพึงพอใจการให้บริการนวดไทย

2. ส่งต่อข้อมูลความพึงพอใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

1010602.02 152987

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการสรุปรายรับจากการให้บริการนวดไทย

2.    ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจเบื้องต้นที่ได้จากผู้รับบริการและส่งต่อข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับการเงินและบัญชีเบื้องต้น

    2. ความรู้เกี่ยวกับการบริการต้อนรับลูกค้าและการบริหารความพึงพอใจของลูกค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)

    2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

    3. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์

ประเมินทักษะโดยใช้การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

สรุปรายรับจากการให้บริการนวดไทย และประเมินผลความพึงพอใจการให้บริการนวดไทย

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การสรุปรายรับจากการให้บริการนวดไทยต้องสามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง เพื่อสรุปงานบริการนวดไทยระหว่างรอบ (Short Brief) ให้กับผู้ปฏิบัติงานในรอบต่อไปและบันทึกสรุปงานบริการนวดไทยประจำวัน ณ สิ้นสุดการปฏิบัติงานแต่ละวัน ในสมุดบันทึกงานประจำวัน (Log Book) ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน  

2.    การประเมินผลความพึงพอใจการให้บริการนวดไทย ต้องสามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจเบื้องต้นที่ได้จากผู้รับบริการอย่างถูกต้องครบถ้วนเพื่อประเมินผลความพึงพอใจและส่งต่อข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง

(ข)   คำอธิบายรายละเอียด

       N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์    



   ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ