หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประสานงานการบริการนวดไทย

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-TBNQ-188B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประสานงานการบริการนวดไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพพนักงานต้อนรับการบริการนวดไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีสมรรถนะทางเทคนิค สามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง สามารถสรุปและถ่ายทอดงาน ส่งต่องานบริการนวดไทยประจำวันได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาการนวดไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010501

สรุปงานบริการนวดไทยประจำวัน

1. สรุปงานบริการนวดไทยระหว่างรอบ (Short Brief) ให้กับผู้ปฏิบัติงานในรอบต่อไปได้อย่างถูกต้องครบถ้วนด้วยความรอบคอบ

1010501.01 152980
1010501

สรุปงานบริการนวดไทยประจำวัน

2. บันทึกสรุปงานบริการนวดไทยประจำวัน ณ สิ้นสุดการปฏิบัติงานแต่ละวัน ในสมุดบันทึกงานประจำวัน (Log Book) ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนด้วยความรอบคอบ

1010501.02 152981
1010502

ส่งต่องานบริการนวดไทยประจำวัน

1. รวบรวมข้อมูลงานบริการนวดไทยประจำวันเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานแต่ละวันได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

1010502.01 152982
1010502

ส่งต่องานบริการนวดไทยประจำวัน

2. ส่งต่อข้อมูลบันทึกงานบริการนวดไทยประจำวันเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานแต่ละวันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

1010502.02 152983

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการสรุปงานบริการนวดไทยประจำวัน

2.    ทักษะในการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งต่อข้อมูลงานบริการนวดไทยประจำวัน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปงานบริการนวดไทยระหว่างรอบ (Short Brief)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)

    2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

    2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน    

ประเมินความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน 

ประเมินทักษะโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)





 


15. ขอบเขต (Range Statement)

สรุปและส่งต่องานบริการนวดไทยประจำวันให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง 

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การสรุปงานประจำวันต้องทำการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ สมุดบันทึกงานประจำวัน ข้อมูลงานที่เกิดขึ้นระหว่างรอบการปฏิบัติงาน หรือ การติดตามงานระหว่างวัน และส่งต่อข้อมูลให้แก่ผู้ที่มารับช่วงงานต่อได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเองในการสรุปงานบริการนวดไทยประจำวัน และถ่ายทอดงานส่งต่อข้อมูลบันทึกงานบริการนวดไทยประจำวันเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานแต่ละวันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

       N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)

18.2 เครื่องมือประเมิน 

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์    

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ