หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนังต้นแบบและทดลองใช้งานจริง

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-AJPD-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนังต้นแบบและทดลองใช้งานจริง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบแฟชั่นเครื่องหนัง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ออกแบบเครื่องหนังครอบคลุมการปฏิบัติงาน สรุปและตัดสินใจ วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบและทดลองใช้งาน และติดตามแผนงาน แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยทฤษฏีและเทคนิคได้ด้วยต้นเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักออกแบบแฟชั่นเครื่องหนัง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20431 วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนังต้นแบบ (Prototype) และตรวจสอบคุณภาพการใช้งาน 1. ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาโดยละเอียด 20431.01 151304
20431 วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนังต้นแบบ (Prototype) และตรวจสอบคุณภาพการใช้งาน 2. ทดลองสวมใส่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบกับหุ่น /นางแบบ /นายแบบ 20431.02 151305
20431 วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนังต้นแบบ (Prototype) และตรวจสอบคุณภาพการใช้งาน 3. วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของการสวมใส่และการใช้งานให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ 20431.03 151306
20431 วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนังต้นแบบ (Prototype) และตรวจสอบคุณภาพการใช้งาน 4. วิเคราะห์ลักษณะมาตรฐานอย่างละเอียดในทุกทิศทางของการสวมใส่และการใช้งาน 20431.04 151307
20431 วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนังต้นแบบ (Prototype) และตรวจสอบคุณภาพการใช้งาน 5. รวบรวมผลการตรวจสอบคุณภาพการใช้งานผลิตภัณฑ์เป็นแบบฟอร์ม 20431.05 151308
20432 กำหนดรายการปรับปรุงผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนัง(Prototype) 1. ปรับปรุงแก้ไขจากข้อบกพร่อง ที่เห็นและสังเกตได้จากผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยย้อนกระบวนการ กลับไปที่สายงานที่เกี่ยวข้อง 20432.01 151309
20432 กำหนดรายการปรับปรุงผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนัง(Prototype)

2. วิเคราะห์ลักษณะมาตรฐานอย่าง ละเอียดในทุกทิศทางของการสวมใส่หลังจากปรับปรุงแก้ไข

20432.02 153194

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวิเคราะห์ความสวยงาม (Aesthetic) ความประณีตในการเย็บและการใช้งาน (Function)

2. สังเกตการณ์และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่สังเกตได้

3. วิเคราะห์โอกาสในการขาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เข้าใจลักษณะทางกายภาพของบุคคลที่แตกต่างกัน

2. เข้าใจรายละเอียดและขั้นตอนในการผลิต

3. สามารถวิเคราะห์รายละเอียดการสวมใส่ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1.บันทึกรูปแบบ (Design) ความถูกต้องของชิ้นงาน

          2.ใบสั่งผลิตชิ้นงานตัวอย่าง

          3. บันทึกเอกสารการแก้ไข ปรับแบบได้ (ด้วยคำศัพท์ของหน่วยนั้นๆ)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ใบผ่านการอบรมแสดงความสามารถในการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะ

          2. ใบบันทึกหลักฐานการปฏิบัติการ Fitting

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ประเมินรายละเอียดผลิตภัณฑ์ต้นแบบ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณารายละเอียดรูปแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

          2. พิจารณาความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์กับผู้สวมใส่ (หุ่นนางแบบ/นายแบบ)

          3. พิจารณาการสวมใส่


15. ขอบเขต (Range Statement)

          หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมความสามารถในการตรวจสอบและเข้าใจลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ และสามารถสังเกตุข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ได้

(ก) คำแนะนำ

          1. สามารถตรวจสอบลักษณะทางกายภาพ เช่นรูปแบบ แพทเทิร์น รูปทรงที่ได้สัดส่วนเหมาะสม รายละเอียดการเย็บจากการมองเบื้องต้น ความถูกต้องชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เป็นสีต่าง ๆ รายละเอียด ป้ายสินค้าตัวอย่างเป็นต้น

          2. สามารถตรวจสอบชิ้นงานต้นแบบอย่างละเอียด เช่น จุดที่เสียหายจากกระบวนการผลิต, ความตึง หย่อน ย่น ส่วนที่ถูกเย็บ, การยืดหยุ่นกรณีที่ใช้วัสดุแบบยืด ลักษณะเฉพาะตัวของวัสดุบางอย่างเป็นต้น

          3. สามารถตรวจสอบลักษณะทางกายภาพจากการสวมใส่ด้วยการมอง/สังเกตลักษณะทรง/โครงสร้างที่ได้สัดส่วนเหมาะสม

          4. สามารถตรวจสอบลักษณะมาตรฐาน เช่นขนาดจริงของแต่ละชิ้นส่วนในชิ้นตัวอย่าง เมื่อเทียบกับขนาดชิ้น Pattern, วัดค่าตัวเลข ต่าง ๆ ที่จะปรับแก้ไขในขณะสวมใส่เป็นต้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้ละเอียด

          2. ตรวจสอบทางกาย นายแบบ/นายแบบ ในการสวมใส่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยการมองเห็น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สังเกตการเลือกซื้อวัสดุให้เหมาะสมกับต้นแบบ

2. สังเกตจากรายงานผลการสวมใส่



ยินดีต้อนรับ