หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สื่อสารและวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคแฟชั่นเครื่องหนัง

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-LSKQ-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สื่อสารและวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคแฟชั่นเครื่องหนัง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบแฟชั่นเครื่องหนัง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ทำหน้าที่สำรวจ รวบรวมขอมูลและวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อใช้ในการสื่อสารและการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักออกแบบแฟชั่นเครื่องหนัง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10221 เตรียมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคแฟชั่นเครื่องหนัง

1. ระบุแนวทางของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ เช่น

- แนวทางการใช้ชีวิต อาชีพหรือ ฐานเงินเดือน

– กลุ่มลูกค้ามีจำนวนมากเพียงพอกับการลงทุน

- บริษัทมีความสามารถในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนั้นๆ

10221.01 151166
10221 เตรียมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคแฟชั่นเครื่องหนัง 2. เลือกใช้ข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อนำมาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับข้อมูลแนวโน้มแฟชั่น 10221.02 151167
10222 สรุปและบันทึกข้อมูลเพื่อดำเนินงานผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนัง 1. สำรวจและประเมินผลความต้องการของผู้บริโภคจากวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม 10222.01 151168
10222 สรุปและบันทึกข้อมูลเพื่อดำเนินงานผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องหนัง 2. รวบรวมข้อมูลและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ 10222.02 151169

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการสื่อสารและสำรวจข้อมูลกับผู้บริโภค

2. ปฏิบัติการสรุปและบันทึกข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค

2. การตลาดสินค้าแฟชั่น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารแสดงวิธีการสื่อสารกับผู้บริโภค เช่น แบบสอบถาม, แบบสำรวจความคิดเห็น และข้อมูลจากการบันทึกเสียง

          2. เอกสารสรุปข้อมูลการสื่อสารที่ได้จากผู้บริโภค

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ข้อมูลที่สรุปถูกนำไปใช้ได้จริง            

          2. เอกสารข้อมูลวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          1. พิจารณาหลักฐานความรู้

          2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

(ง) วิธีการประเมิน

          1. การตรวจสอบข้อมูล

          2. การสัมภาษณ์การปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตการทำงานครอบคลุม ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ การวิเคราะห์ผู้บริโภค การประเมิน

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้รับการประเมินต้องตรวจสอบการปฏิบัติงานการวิเคราะห์ผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสมและตรงตามวัตถุประสงค์

          2. ผู้รับการประเมินต้องตรวจสอบข้อมูลและจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ตรวจสอบวิธีการเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบสอบถามเพื่อสรุปความถูกต้องของผู้บริโภค

          2. ตรวจสอบข้อมูลสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้บริโภค


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. พิจารณาเอกสารข้อมูลการสื่อสารกับผู้บริโภค

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ