หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารผู้ป่วย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-CPOB-411A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารผู้ป่วย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3434) ผู้ประกอบอาหารในโรงพยาบาล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จัดเตรียมอาหารสดและแห้งให้พร้อมในการประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยเฉพาะโรคให้ถูกต้องตาม และถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาหารในโรงพยาบาล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10703.01

จัดเตรียมอาหารสด

1. จัดเตรียมวัตถุดิบอาหารสดของผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยเฉพาะโรคตามตำรับที่ได้กำหนดไว้

10703.01.01 149893
10703.01

จัดเตรียมอาหารสด

2. ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบอาหารสดให้ถูกสุขลักษณะ

10703.01.02 149894
10703.01

จัดเตรียมอาหารสด

3. ใช้อุปกรณ์ในการเตรียมวัตถุดิบอาหารสด

10703.01.03 149895
10703.02

จัดเตรียมอาหารแห้ง

1. จัดเตรียมวัตถุดิบอาหารแห้งของผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยเฉพาะโรคตามตำรับที่ได้กำหนดไว้

10703.02.01 149896
10703.02

จัดเตรียมอาหารแห้ง

2. ใช้อุปกรณ์ในการเตรียมวัตถุดิบอาหารแห้ง

10703.02.02 149897

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การเลือกคุณภาพของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร



    2. การแยกประเภทของวัตถุดิบ



    3. การล้างทำความสะอาดวัตถุดิบให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ



    4. การจัดเตรียมอาหาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. วัตถุดิบประเภทต่างๆ



    2. การเตรียมอาหารสดและแห้ง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานเป็นผู้ประกอบอาหารต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ที่ออกโดยหน่วยงานต้นสังกัด



      (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



    1. ผลการทดสอบความรู้



    2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือ



    3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยตามขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่าน ให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



2. วิธีการประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และการประเมินภาคปฏิบัติด้วยการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน  


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถจัดเตรียมอาหารสดและแห้งให้พร้อมในการประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยเฉพาะโรคให้ถูกต้องตาม และถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร



2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. การจัดเตรียมวัตถุดิบ หมายถึง การนำวัตถุดิบทุกชนิดมาทำความสะอาด (ล้าง) และแปรรูปโดยการ ตัด หั่น ปอก สับ แล่ ตามลักษณะที่ต้องการ เพื่อนำไปปรุงสุกหรือประกอบเป็นอาหารในมื้อต่างๆ



2. สุขลักษณะ หมายถึง ลักษณะที่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติเพื่อความปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ



3. อาหารสด หมายถึง อาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก และผลไม้



4. อาหารแห้ง หมายถึง อาหารที่มีปริมาณน้ำในอาหารต่ำเน่าเสียช้า เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม ถั่วเมล็ดแห้ง พริกแห้ง เนื้อสัตว์ตากแห้ง กุ้งแห้ง เป็นต้น



5. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบสถานการณ์จำลอง




  • ตัวอย่างอาหารสด เช่น ผักชี ผักกาดหอม แตงกวา เนื้อหมู น้ำสต๊อก

  • ตัวอย่างอาหารแห้ง เช่น กระเทียม น้ำตาลน้ำปลา

  • ตัวอย่างอุปกรณ์ล้างวัตถุดิบ เช่น กะละมัง อ่างล้างวัตถุดิบ



ตัวอย่างอุปกรณ์แปรรูป โดยตัด หั่น ปอก สับ แล่ เช่น เขียง มีด 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบความรู้



2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมินภาคปฏิบัติ



3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



 



ยินดีต้อนรับ