หน่วยสมรรถนะ
เตรียมความพร้อมก่อนการประกอบอาหาร
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HLT-VJZV-409A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | เตรียมความพร้อมก่อนการประกอบอาหาร |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2564 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
(รหัส ISCO 3434) ผู้ประกอบอาหารในโรงพยาบาล |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
จัดเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ในการประกอบอาหารให้เหมาะสมและพร้อมใช้งาน รวมถึงการแต่งกายของ ผู้ประกอบอาหารให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบอาหารในโรงพยาบาล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
10701.01 จัดเตรียมพื้นที่ในการประกอบอาหาร
ให้เหมาะสมและพร้อมใช้งาน |
1. จัดเตรียมพื้นที่ให้สะดวกแก่การประกอบอาหาร |
10701.01.01 | 149884 |
10701.01 จัดเตรียมพื้นที่ในการประกอบอาหาร
ให้เหมาะสมและพร้อมใช้งาน |
2. ตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ที่ใช้ในการประกอบอาหาร |
10701.01.02 | 149885 |
10701.02 จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร
ให้เหมาะสมและพร้อมใช้งาน |
1. สวมใส่ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม สวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก ทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน |
10701.02.01 | 149886 |
10701.02 จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร
ให้เหมาะสมและพร้อมใช้งาน |
2. จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการเตรียมอาหาร |
10701.02.02 | 149887 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่มี |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์การประกอบอาหารอย่างถูกต้อง (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์งานครัว 2. การใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์งานครัว 3. สุขาภิบาลอาหาร |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานเป็นผู้ประกอบอาหารต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ที่ออกโดยหน่วยงานต้นสังกัด (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลการทดสอบความรู้ 2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือ 3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยตามขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่าน ให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น 2. วิธีการประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และการประเมินภาคปฏิบัติด้วยการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ก) คำแนะนำ 1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถจัดเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับการประกอบอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการแต่งกายของผู้ประกอบอาหารให้ถูกต้องตามหลักสุขวิทยาอาหาร 2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้
(ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. ความพร้อมของสถานที่ หมายถึง การตรวจสอบพื้นที่ในการประกอบอาหาร เช่น ความเพียงพอของแสง ระบบระบายอากาศ และการไหลของน้ำภายในพื้นที่ประกอบอาหาร 2. จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง การนำเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาหารในแต่ละมื้อ มาจัดวางให้เกิดความสะดวกต่อการประกอบอาหาร 3. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบสถานการณ์จำลอง - ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น หม้อ กระทะ ทัพพี ตะหลิว จาน ชาม - ตัวอย่างวัสดุการแต่งกาย เช่น ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบความรู้ 2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมินภาคปฏิบัติ 3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน |