หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการผลผลิตทางการเกษตรและการตลาดระดับฟาร์ม/ระดับกลุ่ม ระดับชุมชน (ระดับกลาง/ใหญ่)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GQNL-404A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการผลผลิตทางการเกษตรและการตลาดระดับฟาร์ม/ระดับกลุ่ม ระดับชุมชน (ระดับกลาง/ใหญ่)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO-08    

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง

3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม

2133 นักนิเวศวิทยา

2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์ตลาดสินค้าเกษตรและแนวโน้มตลาดเชิงพยากรณ์ได้ สามารถจัดหาช่องทางการขายและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร จัดการคลังสินค้าทางการเกษตร พร้อมพัฒนาเครือช่ายความร่วมมือชุมชนการเกษตร/วิสาหกิจชุมชนได้ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตรสาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๘- พรบ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม- พรบ.คอมพิวเตอร์ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558- มาตรฐานสินค้าปศุสัตว์         ระดับฟาร์ม: มาตรฐานฟาร์ม (GAP) ปศุสัตว์อินทรีย์ (GFM)         ระดับโรงงาน/โรงฆ่าสัตว์: ใบอนุญาต (ฆจส. 2) GMP, HACCP, มาตรฐานโรงงานส่งออก         ระดับสถานที่จัดจำหน่าย: ใบอนุญาต (ร.10) ปศุสัตว์- มาตรฐานฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม GOOD FARMING MANAGEMENT (GFM)- มาตรฐาน/กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
531

วิเคราะห์ตลาดสินค้าเกษตรและแนวโน้มตลาดเชิงพยากรณ์

1. สำรวจความต้องการสินค้าเกษตร

531.01 151075
531

วิเคราะห์ตลาดสินค้าเกษตรและแนวโน้มตลาดเชิงพยากรณ์

2. สำรวจราคาและวิเคราะห์แนวโน้มราคาสินค้าเชิงพยากรณ์

531.02 151076
531

วิเคราะห์ตลาดสินค้าเกษตรและแนวโน้มตลาดเชิงพยากรณ์

3. ประสานกับกลุ่มผู้ผลิตเพื่อการเลือกผลิตสินค้าตามสภาวะการณ์ตลาด

531.03 151077
531

วิเคราะห์ตลาดสินค้าเกษตรและแนวโน้มตลาดเชิงพยากรณ์

4. วิเคราะห์ความเสี่ยงการตลาด

531.04 151078
532

จัดหาช่องทางการขายและประชาสัมพันธ์สินค้า

1. สำรวจช่องทางการขายสินค้าและวิเคราะห์ข้อได้เปรียบของแต่ละช่องทาง

532.01 151079
532

จัดหาช่องทางการขายและประชาสัมพันธ์สินค้า

2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายกับลักษณะสื่อที่เหมาะกับสินค้าเกษตร

532.02 151080
532

จัดหาช่องทางการขายและประชาสัมพันธ์สินค้า

3. ทำการตลาดเครือข่ายผลผลิตการเกษตรออนไลน์ และวางแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า

532.03 151081
532

จัดหาช่องทางการขายและประชาสัมพันธ์สินค้า

4. ประสานความร่วมมือเครือข่ายการตลาดประเมินงบประมาณกิจกรรม

532.04 151082
533

จัดการคลังสินค้าทางการเกษตร

1. วางแผนการผลิตสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด

533.01 151083
533

จัดการคลังสินค้าทางการเกษตร

2. ดำเนินการผลิตสินค้าและจัดการคลังสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (Demand)

533.02 151084
534

พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือชุมชุนการเกษตร/วิสาหกิจชุมชน

1. รวบรวมเครือข่ายการเกษตรชุมชน

534.01 151085
534

พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือชุมชุนการเกษตร/วิสาหกิจชุมชน

2. กำหนดแนวทางของเครือข่ายการเกษตรชุมชน

534.02 151086
534

พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือชุมชุนการเกษตร/วิสาหกิจชุมชน

3. ประสานเครือข่ายการทำเกษตรเพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด

534.03 151087
534

พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือชุมชุนการเกษตร/วิสาหกิจชุมชน

4. สร้างความสัมพันธ์และพัฒนาเครือข่ายชุมชนการทำเกษตรร่วมกัน

534.04 151088
535

มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร

1. ปฎิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าเกษตร

535.01 151089
535

มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร

2. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตร

535.02 151090

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

- ทักษะการบริหารจัดการ

- ทักษะทางการตลาด การประสานงาน การเจรจาต่อรอง

- ทักษะในการสืบค้นข้อมูล

- ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้สื่อออนไลน์

- ทักษะในการปรับบริบทการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับช่องทาง/ราคาสินค้าเกษตร

- ความรู้เกี่ยวการขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์

- ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ/วิสาหกิจชุมชน

- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร

- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้าเกษตร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- หลักฐานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลผลิตทางการเกษตรและการตลาด 

- การขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ 

- หลักฐานการทำงานเกี่ยวข้องกับเครือข่าย/วิสาหกิจชุมชน

- หลักฐานการทำงานอื่นๆ ที่สอดคล้องกับหน่วยสมรรถนะ เช่น การจัดการคลัง

 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- หลักฐานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลผลิตทางการเกษตรและการตลาด

- การอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าออนไลน์

- การอบรมการพัฒนาเครือข่าย/วิสาหกิจชุมชน

- หลักฐานอื่นๆ ที่สอดคล้องกับหน่วยสมรรถนะ เช่น หลักสูตรการจัดการคลัง การตลาด เทคนิคทางการตลาด การเพิ่มยอดขาย

 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

-N/A-



(ง) วิธีการประเมิน

    ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย

1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์

2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกสัมภาษณ์ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะ 



(ก)    คำแนะนำ 

-N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

เทคนิคทางการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เช่น การสร้างแบรนด์ (Branding) หรือการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า ทำให้ตลาดรู้จักสินค้า เกิดการจดจำคุณภาพของสินค้า ช่วยส่ให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้บริโภครู้จักสินค้าอยู่แล้ว จึงสามารถคาดหวังคุณภาพสินค้าได้ อีกอย่างหนึ่งคือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นเพื่อขายสินค้า คือการสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ ทำให้สินค้าดูมีคุณภาพมากกว่าของคู่แข่ง หรืออาจจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติแทนการใช้โฟมหรือพลาสติก 

อ้างอิง: ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

         การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) มาตรฐานบังคับ คือ มาตรฐานที่มีกฎกระทรวง และ 2) มาตรฐานทั่วไป คือ มาตรฐานที่มีประกาศกําหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อสัมภาษณ์ คำถามสัมภาษณ์สอดคล้องกับสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การประเมิน

-    แฟ้มสะสมผลงาน ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นตาม Check-list

 



ยินดีต้อนรับ