หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบระบบเกษตรขนาดใหญ่ (แบบครบวงจรการผลิต)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-MBWK-396A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบระบบเกษตรขนาดใหญ่ (แบบครบวงจรการผลิต)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ      ISCO-08    

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง

3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม

2133 นักนิเวศวิทยา

2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถออกแบบผังฟาร์มขนาดใหญ่ได้แบบครบวงจรการผลิต สามารถวิเคราะห์พื้นที่เพื่อการจัดวางภูมิทัศน์ฟาร์ม วางแนวคิดในการออกแบบตามความต้องการของเจ้าของโครงการ วิเคราะห์สังคมและชุมชนโดยรอบพื้นที่ทำเกษตร สามารถออกแบบผังโครงการขนาดใหญ่ได้อย่างครบวงจรการผลิตและตามข้อกำหนดของเจ้าของฟาร์ม 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตรสาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน     พรบ. การขุดดินถมดิน พ.ศ. 2543     พรบ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532      พรบ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และที่แก้ไขเพิ่มเติม      พรบ. พัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551      พรบ. จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558- กฎหมายสิ่งแวดล้อม     พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535     มาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร-  กฎหมาย/มาตรฐาน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
331

วิเคราะห์ความต้องการและแนวคิดในการออกแบบตามข้อกำหนดของเจ้าของโครงการ

1. รับข้อกำหนดของเจ้าของโครงการและแนวคิดในการออกแบบ

331.01 150996
331

วิเคราะห์ความต้องการและแนวคิดในการออกแบบตามข้อกำหนดของเจ้าของโครงการ

2. วิเคราะห์พื้นที่เกษตรและรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

331.02 150997
331

วิเคราะห์ความต้องการและแนวคิดในการออกแบบตามข้อกำหนดของเจ้าของโครงการ

3. สรุปแนวคิดในการออกแบบ (Conceptual Idea)

331.03 150998
332

วิเคราะห์ชุมชนโดยรอบและสังคมในพื้นที่ทำเกษตร

1. กำหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา

332.01 150999
332

วิเคราะห์ชุมชนโดยรอบและสังคมในพื้นที่ทำเกษตร

2. วางแผนการวิเคราะห์ชุมชนและสังคมแบบมีส่วนร่วม

332.02 151000
332

วิเคราะห์ชุมชนโดยรอบและสังคมในพื้นที่ทำเกษตร

3. รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน

332.03 151001
332

วิเคราะห์ชุมชนโดยรอบและสังคมในพื้นที่ทำเกษตร

4. วิเคราะห์ปัญหาและและความต้องการ

332.04 151002
333

ออกแบบผังโครงการ/ภูมิทัศน์โครงการ

1. รวบรวมข้อมูลเพื่อการออกแบบ (ความต้องการจากเจ้าของโครงการ/ข้อมูลผลการวิเคราะห์พื้นที่)

333.01 151003
333

ออกแบบผังโครงการ/ภูมิทัศน์โครงการ

2. กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกภายในฟาร์ม

333.02 151004
333

ออกแบบผังโครงการ/ภูมิทัศน์โครงการ

3. กำหนดระบบการจัดการฟาร์มและการจัดการของเสียภายในฟาร์ม

333.03 151005
333

ออกแบบผังโครงการ/ภูมิทัศน์โครงการ

4. ออกแบบผังโครงการ/ภูมิทัศน์โครงการ

333.04 151006

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักการเกษตรกับการทำงาน

- ทักษะในการคิดประยุกต์ วิเคราะห์ วางแผน

- ทักษะการสื่อสาร

- ทักษะในการปรับบริบทการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

- ทักษะการออกแบบ

- ทักษะการออกแบบเชิงภูมิสังคม (Geosocial)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับลักษณะพื้นที่ พืช สัตว์ ประมง เศรษฐกิจในพื้นที่

- ความรู้เกี่ยวกับชุมชนในพื้นที่ที่ออกแบบ

- ความรู้เกี่ยวกับระบบเกษตร

- ความรู้เกี่ยวกับการทำฟาร์มเกษตร

- ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบระบบเกษตร

- ความรู้ในหลักการออกแบบเชิงภูมิทัศน์ (Geosocial)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- หลักฐานการปฎิบัติงานเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบเกษตร

- หลักฐานการปฎิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- หลักฐานการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบเกษตร 

- หลักฐานความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

-N/A-



(ง) วิธีการประเมิน

    ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย

1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์

2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกสัมภาษณ์ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะ 



(ก) คำแนะนำ 

-N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

          การออกแบบ หมายถึงการถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า“นักออกแบบ” ซึ่งหมายถึงคนที่ทางานวิชาชีพในสาขาการออกแบบที่แตกต่างกันไป โดยใช้ความรู้ความสามารถในเรื่องต่างๆ ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ หลอมรวมกันเพื่อใช้ในการออกแบบงานนั้นๆ

ระบบเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ หมายถึงการประยุกต์ใช้ระบบเกษตรตามสภาพพื้นที่เป็นการนำระบบที่ลูกค้า/เจ้าของที่ดินต้องการ เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น มาประยุกต์การทำงานให้เข้ากับสภาพพื้นที่ โดยมีขั้นตอนการทำงาน เช่น ตรวจสอบพันธ์พืช/สัตว์ ที่สามารถเพาะปลูกและเลี้ยงได้ในพื้นที่ ตามกิจกรรมที่ลูกค้าต้องการ ในแต่ละกิจกรรมอาจมีรายละเอียดปลีกย่อย เช่น ระบบการเกษตรแบบผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือเกษตรธรรมชาติ มีสัตว์หรือพื้ช

รูปแบบกิจกรรมเป็นตัวกำหนด เช่น 

- กิจกรรมพืชเป็นหลัก โดยมีรายได้หลักจากพืช

- กิจกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก โดยมีรายได้หลักจากการเลี้ยงสัตว์

- กิจกรรมประมงเป็นหลัก โดยมีรายได้หลักจากการประมง

- กิจกรรมไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตรเป็นหลัก มีการจัดการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตรทุกแขนง

ลักษณะของสภาพพื้นที่เป็นตัวกำหนดระบบเกษตร เช่น ระบบเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่สูงระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบเชิงเขา ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ดอน ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบลุ่ม

**อ้างอิง: กรมวิชาการเกษตร 

การจัดวางระบบฟาร์ม เช่น ระบบน้ำ ระบบระบายอากาศ ระบบน้ำทิ้ง ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบทำความเย็น ระบบเทคโนโลยีต่างๆ จะต้องมีการจัดวางในช่วงของการออกแบบ

ขั้นตอนการจัดวางผังฟาร์ม มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. ศึกษาบริบทเกี่ยวกับงานที่จะวางผัง ซึ่งฟาร์มแต่ละประเภทจะมีบริบทที่แตกต่างกันตามรายละเอียดที่เจ้าของฟาร์มหรือเจ้าของโครงการต้องการ ในฐานะผู้ว่าจ้าง รายละเอียดที่ผู้ว่าจ้างมีความประสงค์จะให้ผู้รับจ้างทำอะไรบ้าง เช่น 1) การบอกขอบเขตของงานให้ชัดเจน 2) ระยะเวลาที่ต้องการ 3) สิ่งที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ดำเนินการ 4) มีกี่ขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยอะไรบ้าง 5) ผลกระทบจากการปฏิบัติงานตามสัญญาและการผิดสัญญา และ 6) วิธีการดูแลงานของผู้ว่าจ้าง

2. ศึกษาองค์ประกอบของงาน ที่จำเป็นต้องมีตามประเภทของฟาร์มอย่างละเอียด  โดยอาจศึกษาจากตำราง และศึกษาโครงสร้างของฟาร์มแต่ละประเภท

3.วิเคราะห์สภาพที่ตั้งฟาร์ม ต้องทำโดยละเอียด ต้องทำการสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งสภาพแวดล้อมภายในและข้างเคียง โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น แหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง ทางระบายน้ำตามธรรมชาติ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ภูมิประเทศ/ภูมิทัศน์ ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อที่จะช่วยในการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เลือกประเภทของฟาร์มได้อย่างเหมาะสมและง่ายต่อการบริหารจัดการฟาร์ม

4. ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนต่างๆ เช่น การคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภค ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม แหล่งน้ำ แหล่งเก็บขยะ ปฏิกูล การกำจัด บ่อบำบัด

5. ศึกษาประชากรข้างเคียงและเพื่อนบ้าน การตั้งถิ่นฐาน ประชากรดั้งเดิม สภาพสังคมความเป็นอยู่

6. ศึกษาพื้นที่ทางธรรมชาติ โดยสภาพทางธรรมชาติหรือพื้นที่ข้างเคียงควรสงวนไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์และสภาพทางธรรมชาติ

7. กำหนดวิสัยทัศน์ฟาร์ม เพื่อการพัฒนาฟาร์มรองรับการเปลี่ยนแปลง สะท้อนต่อการดำเนินธุรกิจของฟาร์มและเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เกี่ยวข้องกับฟาร์มดำเนินธุรกิจฟาร์มให้บรรลุเป้าหมาย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อสัมภาษณ์ คำถามสัมภาษณ์สอดคล้องกับสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การประเมิน

-    แฟ้มสะสมผลงาน ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นตาม Check-list

 



ยินดีต้อนรับ